Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46526
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพันธุ์ สาสัตย์en_US
dc.contributor.authorปวันรัตน์ ศรีคำen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:40:14Z-
dc.date.available2015-09-19T03:40:14Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46526-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการหกล้มของผู้ป่วยพาร์กินที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคพาร์กินสัน แผนกอายุรกรรมประสาท ของโรงพยาบาลรัฐบาลในระดับตติยภูมิ เขตกรุงเทพมหานคร ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ การสูญเสียการทรงตัว ภาวะซึมเศร้า ความกลัวการหกล้ม สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว กับการหกล้มในผู้สูงอายุโรคพาร์กินสันและศึกษาปัจจัยทำนายการหกล้มในผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน จำนวน 152 ราย ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินความกลัวการหกล้ม แบบประเมินปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์ของแอลฟาครอนบาค มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .85, .90, .65, และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Point Biserial Correlation สถิติวิเคราะห์การถดถอย Binary Logistic Regression Analysis ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุโรคพาร์กินสันมีอัตราการหกล้มใน 2 สัปดาห์ จำนวนร้อยละ 42.8 และมีประวัติการหกล้มในอดีต ร้อยละ 81.6 2. การสูญเสียการทรงตัว ภาวะซึมเศร้า ความกลัวการหกล้มและสิ่งแวดล้อมภายในบ้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการหกล้มในผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.550, .401, .446, .628 ตามลำดับ) 3. แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางลบกับการหกล้มในผู้สูงอายุโรคพาร์กินสันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=-.627) 4. ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายโอกาสเกิดการหกล้มในผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การสูญเสียการทรงตัว ความกลัวการหกล้ม สิ่งแวดล้อมภายในบ้านและแรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว โดยทำนายโอกาสเกิดการหกล้มในผู้สูงอายุโรคพาร์กินสันได้ ร้อยละ 56.7 และสามารถสร้างสมการถดถอยโลจิสติกในการทำนายโอกาสเกิดการหกล้มได้ดังนี้ Log (หกล้ม) = - 8.909+.371สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน+.208 การสูญเสียการทรงตัว +.065 ความกลัวการหกล้ม -.049แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this descriptive study research to examine the relationships between factors related to fall in older persons Parkinson’s disease in Parkinson’s clinic Medical Department tertiary care Hospital in Bangkok which were TUGT, Depression, Fear of falling, home environment risk, and social support from family. Data were collected from 152 elderly patients who were selected with convenience sampling. Research instruments were demographic questionnaires, Beck Depression Inventory, Falls Efficacy Scale-international (FES-I), Home environmental risk assessment and Social support from family instruments, The reliability were .85, .90, .65, and .89 respectively. Data were analysed by using statistic methods, including mean, percentage, standard deviation, Point Biserial Correlation and Binary Logistic Regression Analysis. Major finding were as follows; 1. The incidence of falls for the last 2 weeks of older persons with Parkinson’s disease was 42.8 percent and had history of falls 81.6 percent 2. TUGT, depression, fear of falling and home environmental were significantly positive by related to fall in older persons with Parkinson’s disease at the level of .001 (r=.550, .401, .446, .628 respectively) 3. Social support from family was significantly negative by related to fall in older persons with Parkinson’s disease at the level of .05 (r=-.627) 4. TUGT, social support from family, fear of falling and home environmental predictive factors to fall in older persons with Parkinson’s disease at level of .05 and accounted for 56.7 percent. Log (fall) = 8.909+.371homenvironment +.208 TUGT +.065 fear of falling -.049Social support from familyen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1292-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรคพาร์กินสัน
dc.subjectผู้สูงอายุ
dc.subjectการหกล้มในผู้สูงอายุ
dc.subjectการหกล้ม
dc.subjectParkinson's disease
dc.subjectOlder people
dc.subjectFalls (Accidents) in old age
dc.subjectFalls (Accidents)
dc.titleปัจจัยทำนายการหกล้มในผู้สูงอายุโรคพาร์กินสันen_US
dc.title.alternativePREDICTING FACTORS TO FALL IN OLDER PERSONS WITH PARKINSON'S DISEASEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiriphun.S@Chula.ac.th,sisasat@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1292-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577169036.pdf5.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.