Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46549
Title: | การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกบริการของบุคลากรทางการพยาบาล |
Other Titles: | PARTICIPATORY ACTION RESEARCH FOR ENHANCING SERVICE MIND OF NURSING PERSONNEL |
Authors: | สุภาพร พวงสุวรรณ์ |
Advisors: | อวยพร เรืองตระกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Auyporn.Ru@Chula.ac.th,rauyporn@chula.ac.th |
Subjects: | วิจัยเชิงปฏิบัติการทางการพยาบาล จิตพิสัยบริการ บุคลากรทางการแพทย์ Action research in nursing Service mind Medical personnel |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ระดับจิตสำนึกบริการของบุคลากรทางการพยาบาล (2) วิเคราะห์วิธีการแก้ปัญหาจิตสำนึกบริการพยาบาล ที่ได้จากการประยุกต์ใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ (3) วิเคราะห์ผลของวิธีการแก้ปัญหาที่มีต่อจิตสำนึกบริการ และความพึงพอใจของผู้รับบริการที่ได้จากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาระดับจิตสำนึกบริการของบุคลากรทางการพยาบาลและความพึงพอใจของผู้รับบริการ เก็บข้อมูลด้วยการสังเกต การสัมภาษณ์ แบบสอบถามและข้อมูลเอกสาร ระยะที่ 2 ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหา และวิเคราะห์ผลของจิตสำนึกบริการ และความพึงพอใจของผู้รับบริการที่ได้จากกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐานและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) จิตสำนึกบริการของบุคลากรทางการพยาบาล แบ่งออกเป็น ด้านความร่วมมือและการทำงานเป็นทีมและด้านความสามารถในการให้บริการอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการตอบสนองการให้บริการและในด้านการเสริมสร้างการให้บริการอยู่ในระดับค่อนข้างสูง 2) วิธีการแก้ปัญหาจิตสำนึกบริการที่ได้จากการประยุกต์ใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรทางการพยาบาลตามขั้นตอน PDCA คือ กิจกรรม 2 โครงการ (1) โครงการ Service mind by OPD เพื่อปรับปรุงพฤติกรรมการแสดงออกในขณะปฏิบัติงาน และเสริมสร้างความร่วมมือและการทำงานเป็นทีมในหน่วยงาน แก้ปัญหาจิตสำนึกด้านความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม ความสามารถในการบริการ การตอบสนองการให้บริการ และการเสริมสร้างการบริการ และ (2) โครงการ “ขั้นตอนนั้น สำคัญไฉน” เพื่อปรับปรุงการจัดลำดับขั้นตอนและระบบในการให้บริการ แก้ปัญหาจิตสำนึกบริการด้านความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม ด้านการตอบสนองการให้บริการ และการเสริมสร้างการบริการ 3) ผลของวิธีการแก้ปัญหาที่ได้จากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ทั้งในด้านจิตสำนึกบริการ และด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this research were to analyze (1) the service mind level of nursing personnel, (2) the problems solving methods on service mind in applying the participatory action research (PAR), and (3) the results of them toward service mind and the satisfaction of customers after using PAR. There were two phases of this research. The first phase, survey research methodology was used to study the service mind level of nursing personnel and customers’ satisfaction. Observation, interview, and documentary analysis were used for data collection. The second phase, the PAR was used to find the problem solving methods and analyze the service mind level and customers’ satisfaction after using PAR. The quantitative data were analyzed by using the descriptive statistics and t-test. The qualitative data were analyzed by using content analysis and analytic induction. The research results were as follows: 1) The internal cooperative and teamwork behaviors level, and the service competence of nursing personnel were moderate while the service response level and the service encouragement were quite high. 2) There are two PDCA projects for the problems solving on service mind after using PAR. The first project was “The Service Mind by OPD” to solve problems about the service mind, the internal cooperative and teamwork behaviors, service competence, service responsiveness, and service encouragement. The second one was “The Step Why?” to improve the service steps and system. The problems about the internal cooperative and teamwork behaviors, the service response, and the service encouragement were also solved. 3) After using PAR, the service mind of nursing personnel and the customers’ satisfaction were significantly increased. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46549 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1307 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1307 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5583833027.pdf | 3.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.