Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46550
Title: | โมเดลเชิงสาเหตุและผลของการควบคุมความคิดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีตัวแปรส่งผ่าน |
Other Titles: | A CAUSE AND EFFECT MODEL OF COGNITIVE CONTROL OF SECONDARY SCHOOL STUDENTS WITH MEDIATING VARIABLES |
Authors: | พัชรา กระแจะเจิม |
Advisors: | วรรณี แกมเกตุ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wannee.K@Chula.ac.th |
Subjects: | นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น การเรียนรู้จากการรู้คิด แบบการคิด ความคิดและการคิด การควบคุม (จิตวิทยา) Junior high school students Cognitive learning Cognitive styles Thought and thinking Control (Psychology) |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการควบคุมความคิด รูปแบบการคิด และกระบวนการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุและผลของการควบคุมความคิดที่มีตัวแปรส่งผ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรสาเหตุที่ส่งผลต่อการควบคุมความคิด และอิทธิพลของการควบคุมความคิดที่มีต่อตัวแปรผลที่เกิดขึ้น ตัวอย่างวิจัย คือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 863 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบ 3 ขั้นตอน (three stage random sampling) เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบวัดการควบคุมความคิด รูปแบบการคิด และกระบวนการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งมีค่าความเที่ยงในการวัดตัวแปรแต่ละตัวตั้งแต่ 0.63-0.86 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุและผลด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีระดับการควบคุมความคิดและรูปแบบการคิดอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.03, SD=0.52 และ M=3.11, SD= 0.47 ตามลำดับ) และมีกระบวนการแก้ปัญหาอยู่ในระดับน้อยที่สุด (M=1.29, SD=0.99) 2. โมเดลเชิงสาเหตุและผลของการควบคุมความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีตัวแปรส่งผ่านมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( chi-square= 66.54, df = 50, p = 0.0587, GFI=0.99, AGFI=0.99, RMSEA =0.02) 3. ตัวแปรสาเหตุที่ส่งผลต่อการควบคุมความคิดได้แก่ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมมีอิทธิพลขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.10 และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการควบคุมความคิดโดยผ่านรูปแบบการคิดด้วยขนาดอิทธิพล เท่ากับ 0.06 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) นอกจากนี้การควบคุมความความคิดยังมีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เท่ากับ 0.19 และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยผ่านกระบวนการแก้ปัญหาด้วยขนาดอิทธิพล เท่ากับ 0.11 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) โดยตัวแปรส่งผ่านทั้งสองตัวในโมเดลซึ่งได้แก่รูปแบบการคิด และกระบวนการแก้ปัญหาเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบบางส่วน |
Other Abstract: | The objectives of this research were to: 1) study the degree of student cognitive control, R-I cognitive style and problem-solving process; 2) develop and validate a cause and effect model of cognitive control with regard to secondary school students with mediating variables; 3) study the direct and indirect effect of cognitive control mediated by R-I cognitive style. The sample used in this study were 863 lower secondary school students under the Office of the Basic Education Commission derived by random selection using a three-stage sampling technique. The research instruments were questionnaires, a cognitive control scale, an R-I cognitive style scale and a problem-solving scale. The reliability of the instrument ranged between 0.629 and 0.856 and were analyzed by employing descriptive statistics, Pearson’s product-moment correlation coefficient, confirmatory factor analysis, and LISREL analysis. The research findings were as follows: 1) Overall, the students had medium level of cognitive control (M=3.03), a medium level of R-I cognitive style (M=3.11) and a minimum level of problem-solving process (M=1.29) 2) The cause and effect model fitted the empirical data (Chi-Square = 66.54, df = 50, p = 0.0587, GFI=0.99, AGFI=0.99, RMSEA = 0.020) 3) The independent variables of cognitive control included socioeconomic status and R-I cognitive style. Socioeconomic status had a direct effect on cognitive control, and an indirect effect on cognitive control via R-I cognitive style as a mediated variable (direct effect = 0.10, indirect effect = 0.06) with a statistically significant level of .05. In addition, cognitive control had a direct effect on academic achievement and an indirect effect via the problem-solving process as a mediated variable (direct effect = 0.19, indirect effect = 0.11) were at a statistically significant level of .05. The R-I cognitive style and the problem-solving process acted as a partially mediated variable. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46550 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1308 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1308 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5583872427.pdf | 3.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.