Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46571
Title: เอกสารในการส่งมอบงานสำหรับโครงการขนาดเล็กในการให้บริการออกแบบสถาปัตยกรรม
Other Titles: DOCUMENTATION FOR WORK SUBMISSION OF A SMALL PROJECT IN ARCHITECTURAL DESIGN SERVICE
Authors: กฤษณ์ จิวะนันทประวัติ
Advisors: ไตรวัฒน์ วิรยศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: traiwat.v@chula.ac.th
Subjects: วิชาชีพ
สถาปนิก
สัญญาออกแบบสถาปัตยกรรม
เอกสาร -- การออกแบบ
Professions
Architects
Architectural contracts
Documents -- Design
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เอกสารในการส่งมอบงานสำหรับโครงการขนาดเล็กในการให้บริการออกแบบสถาปัตยกรรมเป็นทักษะการให้บริการของสถาปนิก ในปัจจุบันขอบเขตในการทำงานของสถาปนิกมีเพิ่มมากขึ้นตามความต้องการของเจ้าของโครงการ ส่งผลให้เกิดข้อโต้แย้งระหว่างเจ้าของงานและสถาปนิก โดยที่ทางเจ้าของงานไม่ทราบถึงสิ่งของหรือผลงานที่จะได้รับจากการว่าจ้างและสำหรับสถาปนิกก็ไม่สามารถแจกแจงรายละเอียดของผลงานที่จะทำได้ชัดเจน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการพัฒนาระบบเอกสารในการส่งมอบงานของการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมของสถาปนิก โดยอาศัยการศึกษาเก็บข้อมูลทุติยภูมิ จากแหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หนังสือ บทความ ข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องและทำการศึกษาเก็บข้อมูลปฐมภูมิ จากการสอบถามและการสัมภาษณ์สถาปนิกที่มีประสบการณ์ปฏิบัติวิชาชีพสาขาด้านสถาปัตยกรรมหลัก โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) สถาปนิกที่มีประสบการณ์ปฏิบัติวิชาชีพ 5-10 ปี 2) สถาปนิกที่มีประสบการณ์ปฏิบัติวิชาชีพ 11-19 ปี 3) สถาปนิกที่มีประสบการณ์ปฏิบัติวิชาชีพ 20 ปีขึ้นไป และนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ผลของการพัฒนาเอกสารในการออกแบบ จากการศึกษาสรุปได้ว่า เอกสารในการส่งมอบงานสำหรับโครงการขนาดเล็กในการให้บริการออกแบบสถาปัตยกรรมของสถาปนิกในปัจจุบัน ทำให้ทราบถึงขอบเขตการให้บริการวิชาชีพในรูปแบบของงานออกแบบที่ชัดเจนขึ้น ว่าต้องทำอะไรและส่งเอกสารอะไรบ้างในช่วงงานออกแบบ นอกจากนี้แล้วจำเป็นต้องทราบถึงว่างานที่ทำอยู่ในระดับไหนด้วย จากการศึกษาเกิดข้อค้นพบว่า ประเด็นที่ก่อให้เกิดความซับซ้อนของการให้บริการออกแบบนั้นมาจากตัวแปรที่ต้องมีการกำหนดหรือระบุ ได้แก่ 1) ระดับของคุณภาพงาน 2) ระดับของปริมาณงาน 3) ระดับของเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน ทั้ง 3 ตัวแปรนี้เป็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับ “ต้นทุน” โดยตรงและเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดคำมั่นสัญญาขึ้นมาระหว่างสถาปนิกกับเจ้าของโครงการ ส่งผลให้ช่วยลดประเด็นปัญหาในเรื่องเกิดความชัดเจนและความโปร่งใสเป็นธรรมของทั้ง 2 ฝ่าย ข้อเสนอแนะของการศึกษา ผู้ศึกษามีความคิดเห็นว่าสมควรส่งเสริมการจัดทำชุดระบบเอกสารที่ประยุกต์ใช้กับขอบเขตของการให้บริการทางวิชาชีพที่ละเอียดชัดเจนขึ้น โดยอาจจะมีการกำหนดเป็นคู่มือหรือเป็นเกณฑ์มาตรฐานครอบคลุมทุกขั้นตอนและทุกลักษณะโครงการทั้งระบบเอกสารในการออกแบบและระบบเอกสารในการดำเนินโครงการ
Other Abstract: Supplying the documentation for the work submission of a small project in architectural design service is a service skill required by architects. As present, the architect’s scope of work is increasing following the project owner’s needs and often causing arguments between the two parties. The owners may not know the outcome from services and the architects may not be able to provide the owners all working details. The objective of this study is to analyze and identify ways to develop the documentation for the work submission of an architect. The secondary data is gathered from documentary sources; documents, books, journals, related rules and laws. The primary data is recorded from questionnaires and interviews of the practical experienced architects in the main architectural field, divided into three groups; 5-10 years of practical experience, 11-19 years of practical experience, and more than 20 years of practical experience. All gathered data was analyzed and conclusions drawn with the results of the documentation development given. From the research and study, it can be concluded that the present documentation for the work submission of a small project in the architectural design service is to help see the scope of design services clearer. It tells what to do and which documents to send in the particular design process, but for this the stages of work need to be defined. Also from all the data, the causes of design service complexity arise from three factors: 1) level of work quality; 2) level of work quantity; and 3) level of working tools. These factors are related directly to “cost” and resulting in “promises” between architects and owners. The documentation will help reduce causes of problems and provide lucid and correct understanding for both sides. The researcher’s suggestion is that clearer documentation for submission be promoted and developed. This may be a manual or a guideline that covers all project types and processes, both in design and operating documentation systems.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46571
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1321
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1321
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673303125.pdf7.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.