Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46573
Title: แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่คำชะโนด อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
Other Titles: LANDSCAPE CONSERVATION AND DEVELOPMENT GUIDELINES FOR KHAM-CHANOT, AMPHOE BAN DUNG, CHANGWAT UDON THANI.
Authors: ชลธิชา เนียมนาภา
Advisors: นวณัฐ โอศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Navanath.O@Chula.ac.th, onavanat@chula.ac.th
Subjects: ภูมิสถาปัตยกรรม
การคุ้มครองภูมิทัศน์ -- ไทย -- อุดรธานี -- คำชะโนด
นิเวศภูมิทัศน์ -- ไทย -- อุดรธานี -- คำชะโนด
ภูมิทัศน์วัฒนธรรม -- ไทย -- อุดรธานี -- คำชะโนด
Landscape architecture
Landscape protection -- Thailand -- Udon Thani -- Kham Chanot
Landscape ecology -- Thailand -- Udon Thani -- Kham Chanot
Cultural landscapes -- Thailand -- Udon Thani -- Kham Chanot
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: คำชะโนดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอุดรธานี มีลักษณะทางกายภาพคล้ายเกาะ พื้นที่ภายในเป็นป่าพรุน้ำจืดขนาดเล็ก สามารถยกตัวขึ้นตามระดับน้ำได้เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก ซึ่งคนท้องถิ่นเรียกพื้นที่ลักษณะนี้ว่า “สนม” ส่วนชื่อ “คำชะโนด” หมายความว่าแหล่งน้ำซับที่มีต้นชะโนดขึ้นอยู่ เนื่องจากภายในพื้นที่มีต้นไม้ตระกูลปาล์มชื่อ “ต้นชะโนด” ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น โดยไม่พบว่ามีพืชชนิดนี้แพร่กระจายออกไปยังพื้นที่โดยรอบ ซึ่งไม่ปรากฎว่ามีพื้นที่ลักษณะนี้ในบริเวณอื่นของประเทศไทย ตามความเชื่อท้องถิ่น คำชะโนดเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของพญานาคเพราะเป็นประตูเชื่อมโลกมนุษย์กับเมืองบาดาลตามตำนานการสร้างแม่น้ำโขง ประชาชนในท้องถิ่นซึ่งมีการบูชาพญานาคตามวัฒนธรรมของกลุ่มชนลุ่มน้ำโขงจึงให้ความเคารพพื้นที่นี้เป็นอย่างมาก จึงถือได้ว่าคำชะโนดเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่พิเศษทางธรรมชาติกับวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ ปัจจุบันพบว่าคำชะโนดและบริเวณโดยรอบมีความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของพื้นที่ทั้งทางด้านกายภาพและวัฒนธรรม โดยแบ่งออกเป็นสองช่วง คือ ช่วง พ.ศ.2530 – 2546 มีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคำชะโนดเพื่อการชลประทานและปรับปรุงภูมิทัศน์ซึ่งส่งผลต่อระบบอุทกวิทยาอันเป็นปัจจัยสำคัญต่อความชุ่มชื้นภายในเกาะคำชะโนด และช่วง พ.ศ.2547 – ปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดมากที่สุดจากการพัฒนาพื้นที่เพื่อตอบสนองการท่องเที่ยว ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบนิเวศของพื้นที่โดยตรง นอกจากนี้ผลจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวยังกระทบต่อความหมายทางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดกิจกรรมเชิงพุทธพานิชย์และการปลูกสร้างถาวรวัตถุมากขึ้น ซึ่งปัญหานี้ยังส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของคำชะโนดอีกด้วย วิทยานิพนธ์นี้จึงได้เสนอแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่คำชะโนด ซึ่งมีลักษณะภูมิทัศน์ที่พบได้แห่งเดียวในประเทศไทย โดยใช้แนวคิดหลักเกี่ยวกับการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นแนวทางที่ทำให้คนกับธรรมชาติสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
Other Abstract: Kham-Chanot is a tourist attraction in Changwat Udon Thani. Its landscape is similar to an island (which can be float when flooding) with a small freshwater swamp forest growing inside. Natives call it ‘Sanom’. Locals call the spring area ‘Kham’.The area is named Kham-Chanot because there are special plants named ‘Chanot’ (widespread in only the Kham-Chanot area. Special landscape like this cannot be found in any other area in Thailand. There is a belief that Kham-Chanot is a spiritual place of Naga because it is a door linking between the human world and the water world according to the legend of the Mekong River’s origin. Local people in the Greater Mekong Sub region worship Naga as a part of their local culture. Therefore, Kham-Chanot is a cultural landscape that reflects the relationship between the spiritual place and local culture. The study found 2 major periods of changes. There was a development for irrigation and development in 1987- 2003 that affected the water flow, which was a factor of humidity in Kham-Chanot. Tourism demand led to major landscape development from 2004-present. This had an impact on Kham-Chanot ecological value and caused a change in the cultural value. Moreover, tourism promotion had an impact on the landscape change of Kham-Chanot. This research suggests guidelines for Kham-Chanot area landscape conservation and development. It also focuses on bringing cultural landscape management and conservation tourism management as concepts for the sustainability of human life and the environment.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิสถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46573
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1323
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1323
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673310525.pdf16.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.