Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46584
Title: | ผลของการรักษาแพทย์ทางเลือกที่มีต่อการเลื่อนและ/หรือการลดขนาดยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปอดและมะเร็งลำไส้ใหญ่ของรพ.จุฬาลงกรณ์ |
Other Titles: | EFFECT OF COMPLIMENTARY AND ALTERNATIVE MEDICINE ON DOSE INTENSITY OFCHEMOTHERAPY TREATMENT IN KING CHULALONGKORN MEMORIAL HOSPITALIN THAI PATIENTS WITH BREAST, LUNG AND COLON CANCERS |
Authors: | ชวัญญา ระบิลทศพร |
Advisors: | สืบพงศ์ ธนสารวิมล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Suebpong.T@chula.ac.th,surbpong@yahoo.com,surbpong@yahoo.com |
Subjects: | การแพทย์ทางเลือก -- ไทย มะเร็ง -- เคมีบำบัด -- ไทย มะเร็ง -- การรักษา -- ไทย มะเร็ง -- ผู้ป่วย -- ไทย Alternative medicine -- Thailand Cancer -- Chemotherapy -- Thailand Cancer -- Treatment -- Thailand Cancer -- Patients -- Thailand |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มา: การแพทย์ทางเลือกนั้นเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย ในปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากที่รักษาการแพทย์ทางเลือกควบคู่ไปกับการแพทย์แผนปัจจุบัน การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า เพื่อศึกษาผลของการรักษาแพทย์ทางเลือกที่มีผลต่อการรับยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งไทย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาเปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยที่ถูกเลื่อนนัดให้ยาเคมีหรือถูกลดขนาดยาเคมีบำบัด, ปริมาณยาเคมีบำบัดจำนวนผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์ รวมถึงคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่ใช้และไม่ใช้การรักษาแพทย์ทางเลือกขณะรับยาเคมีบำบัด วิธีการศึกษา: ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มารับยาเคมีสูตร Adriamycin/cyclophosphamide, สูตร carboplatin/paclitaxel หรือ สูตร carboplatin/gemcitabine และสูตร XELOX ครั้งที่ 1 ที่หน่วยเคมีบำบัด รพ.จุฬาลงกรณ์ ระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 โดยทำการสัมภาษณ์ซึ่งหน้าผู้ป่วยทุกคน เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของการเลื่อนและหรือลดยาเคมีบำบัด, Relative dose intensity ของยาเคมีบำบัดที่ได้รับ, คะแนนคุณภาพชีวิต และอาการข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด ในผู้ป่วยที่รักษาและไม่ได้รักษาแพทย์ทางเลือก โดยกำหนดความสำคัญทางสถิติไว้ที่ p=0.05 ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยทั้งหมดในการศึกษาจำนวน 181 ราย มีผู้ป่วย 80 รายที่ใช้การรักษาแพทย์ทางเลือก คิดเป็นร้อยละ 44.2 โดยเหตุผลหลักที่รักษาแพทย์ทางเลือกเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดเพื่อช่วยตนเองเพิ่มจากการแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อช่วยให้การรักษาโรคได้ผลดียิ่งขึ้น (ร้อยละ 26.9) และ เพื่อลดความรุนแรงของผลข้างเคียงจากวิธีรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันและสามารถทนต่อผลข้างเคียงนั้นได้ดีขึ้น (ร้อยละ 26.9) การแพทย์ทางเลือกที่ผู้ป่วยนิยมที่สุดคือ สมุนไพร (ร้อยละ 65.0) และร้อยละ 71.3 ของผู้ป่วยทั้งหมดไม่ได้แจ้งแพทย์ผู้รักษาว่ารักษาแพทย์ทางเลือกมีการเลื่อนและ/หรือลดยาเคมีบำบัดในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้การรักษาแพทย์ทางเลือก 40 ราย จากทั้งหมด 76 รายคิดเป็นร้อยละ 52.6 ไม่แตกต่างกับ 48 ราย จากจำนวนทั้งหมด 97 รายคิดเป็นร้อยละ 49.5 ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ใช้การรักษาแพทย์ทางเลือก (จำนวน) (p=0.685) อัตราการเลื่อนยาเคมีบำบัดในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้การรักษาแพทย์ทางเลือก ร้อยละ 28.9 ไม่แตกต่างกับร้อยละ 27.8 ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ใช้การรักษาแพทย์ทางเลือก (p=0.872) อัตราการลดขนาดยาเคมีบำบัดในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้รักษาแพทย์ทางเลือก ร้อยละ 39.5 ไม่แตกต่างกับ ร้อยละ 37.1 อัตราการลดขนาดยาเคมีบำบัดในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ใช้การรักษาแพทย์ทางเลือก (p=0.751), ผู้ป่วยที่ใช้การรักษาแพทย์ทางเลือกทุกคนที่ได้รับยาเคมีบำบัด 4 ครั้งมีค่าเฉลี่ยของ Relative dose intensity ต่ำกว่าผู้ป่วยที่ไม่ใช้การรักษาแพทย์ทางเลือก คือร้อยละ 92.37 เทียบกับร้อยละ 94.07 แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ, p = 0.244 อย่างไรก็ตาม พบผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดโดยมี Relative dose intensity น้อยกว่าร้อยละ 90 ในผู้ป่วยที่ใช้การรักษาแพทย์ทางเลือกถึงร้อยละ 34.78 มากกว่าร้อยละ 19.78 ในผู้ป่วยที่ไม่ใช้การรักษาแพทย์ทางเลือก , p=0.033 ผู้ป่วยที่ใช้การรักษาแพทย์ทางเลือกมีคะแนนความผาสุกด้านอารมณ์ จิตใจดีกว่า ผู้ป่วยที่ไม่ใช้การรักษาแพทย์ทางเลือก (p=0.029) ผู้ป่วยที่รักษาแพทย์ทางเลือกมีภาวะโลหิตจางมากกว่า (ร้อยละ 63.3 เทียบกับร้อยละ 53.1 และ p=0.007) และมีภาวะอ่อนเพลียมากกว่า (ร้อยละ 65.8 เทียบกับร้อยละ 61.2 และ p=0.033) ผู้ป่วยที่ไม่ใช้การรักษาแพทย์ทางเลือก ผลสรุปงานวิจัย: การศึกษาที่ไปข้างหน้านี้แสดงให้เห็นถึงการเลื่อนและลดยาเคมีบำบัดที่ไม่แตกต่างกันระหว่างผู้ป่วยที่รักษาและไม่ได้รักษาแพทย์ทางเลือก แม้ผู้ป่วยที่ใช้การรักษาแพทย์ทางเลือกจะมีความผาสุกด้านอารมณ์และจิตใจดีกว่า แต่ปริมาณยาเคมีบำบัดที่ได้รับโดยรวมน้อยกว่า และอาการข้างเคียงบางอย่างมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ใช้การรักษาแพทย์ทางเลือก แพทย์โรคมะเร็งที่ให้ยาเคมีบำบัดจึงควรให้ความสำคัญในการสอบถามถึงการรักษาแพทย์ทางเลือกของผู้ป่วย และผู้ป่วยควรมีตระหนักถึงผลเสียที่อาจเกิดได้เมื่อใช้การรักษาแพทย์ทางเลือกร่วมกับยาเคมีบำบัด |
Other Abstract: | Background: Complementary and Alternative Medicine (CAM) was generally used among cancer patients worldwide including Thailand. Currently, many cancer patients use CAM along with conventional therapy. This prospective study was conducted to show the effect of CAM on chemotherapy delivery in Thai cancer patients. Method: During January 2014 to February 2015, the patients with breast, non-small cell lung or colorectal cancer receiving first cycle of adriamycin plus cyclophosphamide, carboplatin plus paclitaxel or gemcitabine and capecitabine plus oxaliplatin regimens, respectively, at King Chulalongkorn Memorial Hospital were enrolled. We completed face-to-face interviewing to all patients. The correlation between CAM using and chemotherapy schedule delay and dose reduction, chemotherapy dose intensity, quality of life and adverse event rates were analysed. Results: There were 80 patients (44.20%) using CAM from 181 enrolled patients. The major reasons for CAM use were to improve efficacy (26.9%) and reduce side effects (26.9%) of the conventional therapy. Herbal medicine was most commonly used (65.0%). Among CAM users, 71.3% did not inform their oncologists. Seventy six CAM users and 97 non-CAM users receiving 2nd cycle of chemotherapy were included for primary analysis. The chemotherapy schedules were delayed and/or reduced in 40 (52.6%) and 48 (49.5%) in CAM users and non-CAM users, respectively, p =0.681. The chemotherapy schedules were delayed in 22 (28.9%) and 27 (27.8%) in CAM users and non-CAM users, respectively, p =0.872. The chemotherapy dose reduction occurred in 30 (39.5%) and 36 (37.1%) in CAM users and non-CAM users, respectively, p =0.751. The mean relative dose intensity was lower in CAM user but no statistical significance. However, compared to non-CAM users, there were significantly more CAM users receiving chemotherapy less than 90% relative dose intensity (34.78% vs 19.78%, p=0.033).CAM users had better emotional well being according to both time of quality assessment by FACT-G, p=0.031 and p=0.029, respectively. CAM users had significantly higher rates of anemia (63.3% vs 53.1%, p=0.007), and malaise (65.8% vs 61.2%, p=0.033). Conclusion: This prospective study in Thai cancer patients demonstrated similar overall rates of chemotherapy schedule delay and dose reduction between CAM users and non-CAM users receiving chemotherapy. Although certain aspect of quality of life was better, there were more some adverse events and less chemotherapy dose intensity in CAM users. Acquiring of CAM using data should be encouraged among the oncologists. The cancer patients should be aware of possibility of adverse effects of CAM use during chemotherapy treatment. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46584 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1333 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1333 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5674024230.pdf | 2.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.