Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46585
Title: | การศึกษาความชุกของระดับภูมิคุ้มกันของบาดทะยักและคอตีบในประชากรไทยและแรงงานต่างด้าว |
Other Titles: | SEROPREVALENCE OF TETANUS-DIPHTHERIA ANTIBODY AMONG THAI AND FOREIGNERS : IMPLICATION FOR TETANUS-DIPHTHERIA IMMUNIZATIONDUE TO ASEAN ECONOMIC COMMUNITY(AEC) ERA |
Authors: | ไพลิน มหาพรรณ |
Advisors: | ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Terapong.T@Chula.ac.th,terapong_tantawichien@hotmail.com |
Subjects: | บาดทะยัก -- ไทย คอตีบ -- ไทย ภูมิคุ้มกัน Tetanus -- Thailand Diphtheria -- Thailand Immunity |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มา: จากการระบาดของโรคคอตีบบริเวณชายแดนประเทศไทยในประชากรผู้ใหญ่ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญว่าประชากรผู้ใหญ่บางส่วนไม่ได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นทุก 10 ปี เนื่องจากจะมีการเปิดประเทศ ASEAN Economic Community(AEC) Era ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ทำให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศโดยเฉพาะประเทศกัมพูชา ไม่ได้มีการฉีดวัคซีนในวัยเด็กที่เพียงพอ (Expanded Programs on Immunization ;EPI) จึงอาจนำไปสู่อัตราการเกิดโรคบาดทะยักในกลุ่มแรงงานต่างด้าวและอาจเกิดการระบาดของโรคคอตีบในคนไทยและแรงงานต่างด้าวขึ้นมากกว่าเดิมได้ จึงได้มีการเจาะเลือดสำรวจระดับภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยักและคอตีบประชากรที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานครและจังหวัดข้างเคียง และฉีดวัคซีน Td ให้ประชากรเหล่านี้ โดยจุดประสงค์เพื่อ สำรวจระดับภูมิคุ้มกันของimmunity ดูช่วงอายุที่ควรจะเป็นเป้าหมายหลักในการทำ mass vaccination แก่ประชากรไทยและแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่มาอาศัยในประเทศไทย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรคขึ้นมา โดยอาสาสมัครทั้งหมดในการศึกษา 229 คน เป็นอาสาสมัครคนไทย 117 คน และ แรงงานต่างด้าว 122 คน (กัมพูชา 72 คน และ พม่า 40 คน) พบว่าคนไทย 106 คน (90.6%)มีภูมิคุ้มกันสำหรับโรคบาดทะยัก (>0.1 IU/ml) แต่แรงงานต่างด้าวมีภูมิเพียง 58 คน (51.8%) ค่า Geometric mean titer (GMT)ของแรงงานต่างด้าวได้เพียง 0.13 IU/ml ซึ่งต่ำกว่าคนไทยอย่างมีนัยสำคัญ คนไทยมีค่า GMT 1.38 IU/ml (p<0.05, 95%CI 4.96-13.37) แต่อย่างไรก็ดี พบว่าระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบในคนไทยกลับน้อยกว่าแรงงานต่างด้าว โดยมีคนไทย 84 คน (70.9%)มีภูมิคุ้มกันสำหรับโรคบาดทะยัก (>0.1 IU/ml) แรงงานต่างด้าวมีภูมิ 91 คน (81.3%) โดยค่าGeometric mean titer (GMT)ของคนต่างด้าวสูงกว่าคนไทยแต่ไม่มีนัยสำคัญ โดยมีค่า 0.28 และ 0.17 IU/ml ตามลำดับ (p =0.68, 95%CI 0.47-0.85) ซึ่งจากผลการศึกษานี้ที่พบว่าแรงงานต่างด้าวมีภูมิต่อคอตีบมากกว่าคนไทยในขณะที่มีภูมิต่อบาดทะยักน้อยกว่ามาก อาจจะเป็นเพราะมีภูมิต่อคอตีบผ่านทางการกระตุ้นทางธรรมชาติ ซึ่งภูมิที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินี้จะไม่สามารถป้องกันหรือลดอัตราการเป็นพาหะของโรคคอตีบได้ วิธีการ: หลังจากฉีดวัคซีนTd ให้ทุกคน 1 เข็ม พบว่าอาสาสมัครคนไทยเกือบทุกคนที่เดิมไม่มีภูมิตอบสนองต่อการฉีดวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคคอตีบได้ ยกเว้น คนไทย 1 ราย (<0.1 IU/ml ,2.6%) โดยเป็นภูมิที่สามารถป้องกันโรคได้แต่ไม่นาน 14 คน (0.1- <1 IU/ml, 35.9%) และเป็นภูมิที่สามารถป้องกันโรคในระยะยาว 24 คน (>1 IU/ml, 61.5%) ส่วนแรงงานต่างด้าวทุกคนตอบสนองต่อการฉีดวัคซีนคอตีบทุกคน แต่ไม่ตอบสนองต่อบาดทะยัก 5 คน (<0.1 IU/ml ,9.2%) ในขณะที่คนไทยตอบสนองต่อบาดทะยักทุกคน โดยคนที่ภูมิไม่ขึ้นมักจะจำประวัติการฉีดวัคซีนในวัยเด็กไม่ได้ สรุปผลการวิจัย: โดยสรุป การจะป้องกันการระบาดของโรคคอตีบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วง AEC จากการศึกษานี้แนะนำว่า ควรฉีดวัคซีน Td ให้แรงงานต่างด้าวทุกคนในทุกช่วงอายุ และ คนไทยที่อายุมากกว่า 30 ปี 1 เข็ม และฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี โดยถ้าเป็นไปได้ในช่วงที่มีการระบาดของโรคคอตีบแนะนำให้ฉีดคนไทยอย่างน้อย 1 เข็มหรือถ้าเป็นเป็นได้ควรฉีด 2 เข็มเนื่องจากต้องการภูมิคุ้มกันระยะยาว ส่วนแรงงานต่างด้าวอาจพิจารณาฉีด 3 เข็ม |
Other Abstract: | Background: Previous outbreaks of diphtheria disease in the frontier of Thailand in adults suggests that there is not an adequate booster vaccine in Thai adults. Because of concerns about the ASEAN Economic Community(AEC) Era, our neighboring foreigners will come to Thailand. Due to their lack of adequate Expanded Programs on Immunization (EPI), especially in Cambodia, and lack of adequate protective immunity in the Thai population, outbreaks may occur with more severity. We examined the prevalence of diphtheria and tetanus immunity in Thais and foreigners (Cambodians and Burmese). A total of 229 subjects were enrolled. 117 subjects were Thai and 122 subjects were foreigners (72 Cambodians and 40 Burmese). 106 Thai subjects (90.6%) had protective levels of antibody for tetanus (>0.1 IU/ml). Only 58 (51.8%) of the foreigners had protective tetanus levels (Cambodians 43%, Burmese 67.5%). Geometric mean titer (GMT) was 0.13 IU/ml in the foreigners, which is significantly lower than Thai subjects, which was 1.38 IU/ml (p<0.05, 95%CI 4.96-13.37). However, overall seroprotection rate of diphtheria (>0.1 IU/ml) in Thai subjects was the lowest (70.9%). Their Geometric mean titer (GMT) was 0.17 IU/ml but it is not significantly different from foreigner subjects, which was 0.28 IU/ml (p =0.68, 95%CI 0.47-0.85). Protection immunity level for diphtheria in Burmese and Cambodians was 76.4% and 71.8%, respectively. This was directly reverse of the tetanus immunity levels. These results could suggest that the Burmese and Cambodian subjects have a diphtheria immunity via natural exposures, and therefore cannot prevent or decrease the rate of carrier transmission. Method: After first dose of Td vaccine, almost Thai subjects had a protective level of diphtheria except one Thai 33 year-old who could not remember her past vaccination (<0.1 IU/ml ,2.6%). Protective but not long lasting in 14 Thai subjects (0.1- <1 IU/ml, 35.9%) . Long lasting protective level of diphtheria in 24 Thai subjects (>1 IU/ml, 61.5%). All of foreigners who received first dose Td vaccine respond to vaccination. Only five Cambodians still had unprotective levels of tetanus <0.1 IU/ml, while all Thai and Burmese had a protective level of tetanus after the first dose of Td. Three of them denied any vaccination in the past and two of them received unknown vaccination more than 5 years prior. Conclusion: In conclusion, to prevent the outbreak of vaccine preventable disease in the upcoming AEC era, we recommend promoting one Td vaccination and a booster dose every 10 years, especially in Thai people age>30 years due to waning of immunity, 1 dose or preferable 2 doses in induce long lasting immunity. Our study revealed that neighboring foreigners living in Thailand have to receive Td vaccinations in all age groups, preferable 3 doses. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46585 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1334 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1334 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5674054030.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.