Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46588
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชุษณา สวนกระต่ายen_US
dc.contributor.advisorนภชาญ เอื้อประเสริฐen_US
dc.contributor.authorอรวลี ดิษยะกมลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:41:00Z-
dc.date.available2015-09-19T03:41:00Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46588-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractที่มา: การติดเชื้อราชนิดลุกลามเป็นปัญหาสำคัญอันเป็นสาเหตุหลักของการทุพลภาพและเสียชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดที่มีปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลล์ต่ำหลังจากได้รับยาเคมีบำบัด วิธีเพื่อลดอุบัติการณ์ของการติดเชื้อราชนิดลุกลามนั้นมีการศึกษาอย่างแพร่หลายเช่น การให้ยาต้านเชื้อราเพื่อป้องกันซึ่งแนะนำในแนวทางมาตรฐาน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการศึกษาแบบสุ่มซึงเปรียบเทียบ ยา วอริโคนาโซล และยาหลอก เพื่อการป้องกันการติดเชื้อราในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดไมอีลอยด์ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดการติดเชื้อราชนิดลุกลามขณะได้รับยาเคมีบำบัด วิธีการศึกษา: ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการทดลองไปข้างหน้าแบบสุ่มเพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาวอริโคนาโซลเทียบกับยาหลอกในการป้องกันการติดเชื้อราชนิดลุกลามในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มนี้ที่มารับยาเคมีบำบัดทั้งในระยะ induction และระยะ consolidation กลุ่มประชากรที่เข้ารับการศึกษาวิจัยจะได้รับการสุ่มโดยบล็อก 1:1 วัตถุประสงค์หลักเพื่อติดตามดูอุบัติการณ์ของการเกิดการติดเชื้อราชนิดลุกลามระหว่างที่นอนในโรงพยาบาลและภายใน 30 วันหลังจากที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผลการศึกษา: จากการศึกษา ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดไมอีลอยด์ 40 คน คิดเป็น 44 ครั้งของการได้รับยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โดยแบ่งเป็นกลุ่มละ 22 ครั้งของการได้รับยาเคมีบำบัด ไม่พบอุบัติการณ์ของการเกิดการติดเชื้อราชนิดลุกลามการวินิจฉัยทางจุลชีววิทยาประเภทพิสูจน์แน่นอน proven และที่น่าจะเป็น probable ในกลุ่มที่ได้รับยาวอริโคนาโซลในการป้องกัน และพบ 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.18 ในผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก ค่าลดความเสี่ยงสัมบูรณ์ (absolute risk reduction) เท่ากับ 18.18 (P=0.036, 95% confidence interval 0.01-0.36) แสดงถึงจำนวนผู้ป่วย 6 รายที่ได้รับยาวอริโคนาโซลในการป้องกันขณะได้รับยาเคมีบำบัดสามารถป้องกันการติดเชื้อราชนิดลุกลามได้เพิ่ม 1 ครั้ง เมื่อเทียบกับยาหลอก ไม่พบอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มที่ได้รับยาวอริโคนาโซลและร้อยละ 9 ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอกไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ( P=0.148, 95% confidence interval -0.04-0.22) ระยะเวลานอนโรงพยาบาลมัธยฐานเท่ากับ 32 วัน (Interquartile range 26,36) ในกลุ่มที่ได้รับยาวอริโคนาโซล และ 28 วัน (Interquartile range 13,38) ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (P=0.510) ผลข้างเคียงจากยาพบ 5 รายในกลุ่มที่ได้รับยาวอริโคนาโซล (ร้อยละ 23) และ 1 ราย (ร้อยละ 4.5) ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (P=o.o49) โดยในกลุ่มที่ได้วอริโคนาโซลพบการเกิดผื่นผิวหนังมากที่สุดเป็นจำนวน 2ราย (ร้อยละ 9) และไม่พบการหยุดยาวอริโคนาโซลระหว่างการศึกษาเนื่องจากผลข้างเคียงของยา สรุปผลการศึกษา: โดยสรุป ยาวอริโคนาโซลมีประสิทธิภาพมากกว่ายาหลอกในการป้องกันการติดเชื้อราชนิดลุกลามในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดไมอีลอยด์ที่ได้รับยาเคมีบำบัดทั้งระยะ induction และระยะ consolidation ซึ่งเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลล์ต่ำ และไม่พบผลข้างเคียงรุนแรงของยาดังกล่าวen_US
dc.description.abstractalternativeBackground: Invasive fungal infection (IFI) is still the important problem causing substantial morbidity and mortality in patients with hematologic malignancy who develop neutropenia after receiving chemotherapy. To reduce the incidence of IFI, primary antifungal prophylaxis is recommended in many standard guidelines. However, there has been no randomized controlled study comparing voriconazole and placebo for primary antifungal prophylaxis in the patients with acute myeloid leukemia (AML) after receiving chemotherapy. Patients and methods: A prospective randomized controlled evaluator-blinded study was carried out to determine the efficacy and safety of voriconazole, in comparison with the placebo for primary antifungal prophylaxis in the patients with AML who had received chemotherapy for either induction or consolidation. All patients were randomly assigned in a block randomization of 1: 1 ratio. The primary endpoint was the incidence of proven or probable IFI during the hospital stay and within 30 days after receiving chemotherapy in the modified intention to treat population. Results: A total of 40 patients with 44 courses of chemotherapy were enrolled: 22 in the voriconazole group and 22 in the placebo group. The incidence of proven or probable IFI was observed in 0 (0%) and 7 (18.18%) patients in the voriconazole and placebo group (absolute risk reduction 18.18, 95% confidence interval 0.01 to 0.36, P=0.036), respectively. The estimation of 6 patients would be needed to be treated with voriconazole, in comparison with placebo, in order to prevent 1 IFI. The mortality rate was 0% and 9% in the voriconazole and placebo group, respectively (95% confidence interval -0.04 to 0.22, P=0.148). The median length of hospital stay was 32 (interquartile range 26, 36) and 28 (interquartile range 13, 38) days in the voriconazole and placebo group, respectively (P=0.510). Adverse events likely associated with the treatment was noted in 5 (23%) and 1 (4.5%) patients in the voriconazole and placebo group, respectively (P=0.049). The most common treatment-associated adverse effects were skin rash (2 patients, 9%) in the voriconazole group. No patients discontinued voriconazole treatment due to adverse effects. Conclusions: Voriconazole was more effective than placebo in prevention of IFI in the patients with AML who developed neutropenia after receiving chemotherapy for induction or consolidation. There was no serious adverse effect associated with voriconazole prophylaxisen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1336-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์
dc.subjectมัยโคสิส
dc.subjectสารต้านเชื้อรา
dc.subjectเคมีบำบัด
dc.subjectAcute myeloid leukemia
dc.subjectMycoses
dc.subjectAntifungal agents
dc.subjectChemotheraphy
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบ ยา วอริโคนาโซล และยาหลอก เพื่อการป้องกันการติดเชื้อราแบบลุกลามในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดไมอีลอยด์ ที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดen_US
dc.title.alternativeA RANDOMIZED CONTROLLED TRIAL COMPARING VORICONAZOLE ANDPLACEBO FOR ANTIFUNGAL PROPHYLAXIS IN PATIENTS WITH ACUTEMYELOID LEUKEMIA RECEIVING CHEMOTHERAPYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChusana.S@Chula.ac.th,schusana@hotmail.com,csuankratay@gmail.comen_US
dc.email.advisorNoppacharn.U@Chula.ac.th,drnoppacharn@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1336-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674093530.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.