Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46611
Title: การสร้างสรรค์และมโนทัศน์ของวิทยากรในรายการทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชียฤดูกาลที่ 1-11 (พ.ศ.2547-2557)
Other Titles: PROGRAM CREATION AND TRAINERS' CONCEPT OF TRUE ACADEMY FANTASIA SEASON 1-11 (2004-2014)
Authors: กาญจน์คณึง เนตรศรีทอง
Advisors: สุกัญญา สมไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Sukanya.Som@Chula.ac.th,kayafiles@yahoo.com
Subjects: ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย
การสร้างสรรค์ (วรรณกรรม ศิลปกรรม ฯลฯ)
รายการโทรทัศน์เรียลลิตี
True Academy Fantasia Program
Creation (Literary, artistic, etc.)
Reality television programs
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการสร้างสรรค์และมโนทัศน์ของวิทยากรในรายการทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชียฤดูกาลที่ 1-11(พ.ศ.2547-2557)ศึกษากระบวนการสร้างสรรค์รายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ที่ประกอบด้วย แนวคิด เนื้อหา และรูปแบบและศึกษามโนทัศน์ของวิทยากร ซึ่งได้แก่การขับร้องและดนตรี การเต้น การแสดง ในรายการ ทรู อะคาเดมี่การวิจัยครั้งนี้พบว่า การสร้างสรรค์รายการทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย นั้นมีวางแนวคิดในแต่ละฤดูกาลที่แตกต่างกันตามความเห็นของฝ่ายผลิตรายการ ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนตามความนิยมของรายการที่เกิดขึ้น โดยมีเค้าโครงเดิมเหมือนกันทั้ง 1-11 ฤดูกาลและมโนทัศน์ของวิทยากรนั้นก็มีวางแผนไปในทิศทางเดียวกันกับที่ฝ่ายผลิตรายการกำหนด โดยใช้หลักพื้นฐานของทักษะการขับร้อง การเต้น และการแสดงแต่มีการปรับเปลี่ยนไปตามโจทย์ประจำสัปดาห์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยโดยใช้สหวิธีการ ได้แก่การวิเคราะห์เนื้อหาหรือตัวบท โดยศึกษาจากเทปบันทึกรายการทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชียฤดูกาลที่ 1-11 ทั้งหมด 10 ปี สัมภาษณ์เจาะลึกฝ่ายผลิตรายการ วิทยากรและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน13 คน ผู้วิจัยพบว่า การคิดรูปแบบของรายการในแต่ละฤดูกาลของฝ่ายผลิตนั้นมีผลต่อหลักสูตรในการเรียน การฝึกฝนและการพัฒนาทักษะต่างๆส่งผลต่อมโนทัศน์ของวิทยากร โดยวิทยากรได้นำแบบแผนของรายการมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับโจทย์ที่ได้รับโดยมีพื้นฐานเดิมทั้ง 11 ฤดูได้แก่ การขับร้อง การเต้น การแสดง และเพื่อการสอนทั้งนักล่าฝันและผู้ชมทางบ้านจึงสรุปได้ว่าได้ว่าการสร้างศิลปินนั้นจำเป็นต้องใช้ ทักษะ การขับร้อง การเต้นและการแสดงเป็นแนวทางในการฝึกฝน ซึ่งมโนทัศน์ของวิทยากรนั้นส่งผลต่อนักล่าฝันและโทนของรายการ รวมถึงวิทยากรยังทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมรูปแบบของรายการในแต่ละฤดูกาลให้ตรงตามแบบแผนที่ฝ่ายสร้างสรรค์ได้กำหนดมาด้วย
Other Abstract: This research emphasizes on studying program creation and trainer’s concept framework of True Academy Fantasia Season 1-11(2004 - 2014), studying the creational process of True Academy Fantasia Program which consisted of concept, content and pattern as well as studying trainer’s concepts such as singing and music, dancing, acting in True Academy Fantasia Program. It is found in this research that the creation of True Academy Fantasia Program has concept in each season differently according to the opinion of its producer by maintaining the same framework from 1-11 seasons and concepts of trainers have been planned in the same direction as defined by the producer by using sing and dancing skills as its fundamentals but they shall vary in accordance with weekly request. This research uses allied methods such as content or text analysis by studying recorded videotape of True Academy Fantasia Program form 1-11 seasons totally 10 years, In-depth interview with Production Department of the Program, trainers and specialists totally 13 persons, researcher has found that the creation of concept and framework of the Program in each season of Production Department has an effect to training courses, rehearsal and skills development may affect to trainer’s concept as trainers have taken framework of the Program to adopt appropriately to the received question by using the existed fundamentals of 11 seasons such as singing, dancing and acting in order to teach both dream pursuers and home viewers. It is concluded that creation of artist requires singing, dancing and acting skills as guidelines of rehearsal and concept of trainers may affect to dream pursuers and tone of the Program.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46611
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1352
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1352
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684655928.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.