Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46614
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีรดา จงกลรัตนาภรณ์en_US
dc.contributor.authorณัฏฐา เกิดช่วยen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:41:18Z
dc.date.available2015-09-19T03:41:18Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46614
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาต้นแบบตราสินค้ากับความภักดีต่อตราสินค้าของตราสินค้าด้านเทคโนโลยี โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาต้นแบบตราสินค้าของตราสินค้าด้านเทคโนโลยี 2) เพื่อศึกษาความภักดีต่อตราสินค้าด้านเทคโนโลยีของผู้บริโภค และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะต้นแบบตราสินค้ากับความภักดีต่อตราสินค้าด้านเทคโนโลยีของผู้บริโภค โดยในงานวิจัยแบ่งตราสินค้าด้านเทคโนโลยีออกเป็น 2 ประเภท คือ ตราสินค้าโทรคมนาคม ได้แก่ ตราสินค้าเอไอเอส และ ตราสินค้าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ตราสินค้าเอเซอร์ สำหรับการเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 บทสัมภาษณ์ผู้บริหารด้านการตลาดของตราสินค้าเอไอเอส และตราสินค้าเอเซอร์ ส่วนที่ 2 การสำรวจผู้ใช้ตราสินค้าด้านเทคโนโลยีที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน ซึ่งแบ่งเป็นผู้ใช้ตราสินค้าเอไอเอสจำนวน 200 คน และผู้ใช้ตราสินค้าเอเซอร์อีก 200 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ผลของการวิจัย พบว่า ผู้ใช้ตราสินค้าด้านเทคโนโลยีรับรู้ลักษณะต้นแบบตราสินค้าตรงกับการสื่อสารของตราสินค้า โดยตราสินค้าเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม ได้แก่ ตราสินค้าเอไอเอส มีลักษณะต้นแบบตราสินค้า “ราชา” มากที่สุด และ ตราสินค้าเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ตราสินค้าเอเซอร์ มีลักษณะต้นแบบตราสินค้า “เพื่อนสนิท” มากที่สุด ผลการวิจัยในส่วนต่อมาเป็นผลจากวัดความภักดีต่อตราสินค้าด้านเทคโนโลยีของผู้ใช้ พบว่า ผู้ใช้มีความภักดีต่อตราสินค้าด้านเทคโนโลยีในระดับปานกลางถึงสูง และผลของการวิจัยในส่วนสุดท้าย พบว่า ลักษณะต้นแบบตราสินค้ามีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความภักดีต่อตราสินค้าของตราสินค้าด้านเทคโนโลยีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยลักษณะต้นแบบตราสินค้า “เพื่อนสนิท” มีความสัมพันธ์กับความภักดีต่อตราสินค้าเอไอเอสและตราสินค้าเอเซอร์มากที่สุด จากผลของการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า ต้นแบบตราสินค้ามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความภักดีต่อตราสินค้าด้านเทคโนโลยี ดังนั้นต้นแบบตราสินค้าจึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือสื่อสารตราสินค้าที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลในการสื่อสารบุคลิกภาพตราสินค้าและเสริมสร้างความภักดีต่อตราสินค้าเทคโนโลยีen_US
dc.description.abstractalternativeThis study investigated the relationship between brand archetype and brand loyalty of technology brands. The purposes of this research were to study 1) brand archetype of technology brands; 2) brand loyalty of technology brands; and 3) the relationships between brand archetype and brand loyalty of technology brands. There are two types of technology brands namely; 1) the telecommunications brand, including “AIS” 2) the computer technology brand, including “Acer”. Two research methods were employed; 1) in-depth interview with marketing executives; and 2) questionnaire survey with 400 respondents (200 AIS and 200 Acer customers) who were 18 years olds and above. Results showed that the technology brand customers perceive the brand archetype in accordance with the companies’ communication strategies. Moreover, the telecommunications brand “AIS” was highly rated with archetype scale“a King” while the computer technology brand “Acer” was highly rated as “a Companion”. The customers of technology brands also reported themselves as being moderately-high loyal to the brands. For the test of relationship, it was revealed that brand archetype have positive relationships with brand loyalty. In addition, brand archetype trait “a Companion” was significantly related with brand loyalty for both AIS and Acer brand. In conclusion, brand archetype is significantly related with brand loyalty of technology brands. Therefore, brand archetype can be employed as a tool to effectively communicate brand personality and to reinforce brand loyalty of technology brands.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1355-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ
dc.subjectความภักดีต่อชื่อตราผลิตภัณฑ์
dc.subjectชื่อตราผลิตภัณฑ์
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค
dc.subjectBrand loyalty
dc.subjectBrand name products
dc.subjectConsumer behavior
dc.titleต้นแบบตราสินค้ากับความภักดีต่อตราสินค้าด้านเทคโนโลยีen_US
dc.title.alternativeBRAND ARCHETYPE AND BRAND LOYALTY OF TECHNOLOGY BRANDSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorteerada.c@chalu.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1355-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684665128.pdf4.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.