Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46617
Title: กระบวนการสื่อสารเรื่อง “จิตอาสา” ของมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวัน ในทัศนะของผู้นำทางสังคมไทย และการประยุกต์ใช้ในประเทศไทย
Other Titles: THE COMMUNICATION PROCESS OF VOLUNTEER SPIRIT OF TAIWANESETZU CHI ORGANIZATION IN A VIEWPOINT OF THAI LEADERS ANDTHEIR APPLICATION IN PROMOTING VOLUNTEER SPIRIT IN THAILAND
Authors: ปั้นหยา จิตต์นุกุลศิริ
Advisors: ปาริชาต สถาปิตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Parichart.S@Chula.ac.th,sparicha@yahoo.com
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพัฒนาการ, (2) กระบวนการสื่อสารเรื่อง “จิตอาสา” ของมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวัน ในทัศนะของผู้นำทางสังคมไทย, และ (3) ศึกษาบทบาทของผู้นำทางสังคมไทย ในการประยุกต์ใช้หลักคิดจิตอาสาของมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันเพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์สังคม แนวทางในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ การวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์เจาะลึก, การสังเกตการณ์ภาคสนามแบบมีส่วนร่วมทั้งในประเทศไทยและไต้หวัน, และการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารและเอกสารอิเลคโทรนิคที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า 1. พัฒนาการการสื่อสาร “จิตอาสา” ของมูลนิธิพุทธฉือจี้ แบ่งเป็น 6 ช่วง: ช่วงที่ 1 จากผู้นำสู่ผู้ตามยุคแรก, ช่วงที่ 2 จากอาสาสมัครสู่ผู้เดือดร้อนในไต้หวัน, ช่วงที่ 3 จากเครือข่ายกัลยาณมิตรในไต้หวันสู่สังคมโลก, ช่วงที่ 4 อาสาสมัครทั่วโลกกับการขยายและพัฒนาองค์กร, ช่วงที่ 5 วิถีฉือจี้ในประเทศไทย และช่วงที่ 6 จากผู้นำไทยสู่ภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม โดยใช้กลยุทธ์ในการสื่อสาร ที่สะท้อนการแสดงให้เห็นความจริงจัง-จริงใจ ในการช่วยเหลือสรรพสัตว์​ การทำจิตอาสาให้เป็นเรื่องใกล้ตัว การมีระบบอาสาสมัครที่ดีที่โปร่งใสอย่างเห็นได้ชัด และการกระตุ้นการมีส่วนร่วมของกับกลุ่มเป้าหมายในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม 2. กระบวนการสื่อสาร “จิตอาสา” ของมูลนิธิพุทธฉือจี้ สะท้อนให้เห็นบทบาทของผู้ส่งสารในทุกระดับที่มุ่งเน้นการทำความดีให้เป็นที่ประจักษ์ และอธิบายได้ผ่านสารที่กินใจ เข้าถึงจิตสำนึกความเป็นมนุษย์ และเผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ การพูดปากต่อปาก การร่วมลงมือปฏิบัติด้วยกัน และการใช้สื่อร่วมสมัย เพื่อกระตุ้นให้เกิดความศรัทธาในกลุ่มอาสาสมัคร และให้เกิดผลงานเป็นรูปธรรม และประจักษ์ชัดในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย 3. บทบาทของผู้นำทางสังคมไทย ในการประยุกต์ใช้หลักคิดจิตอาสาของมูลนิธิพุทธฉือจี้ ปรากฎอยู่ในหลายวงการ ได้แก่ วงการการกุศล วงการการแพทย์พยาบาล วงการการศึกษา และวงการสื่อมวลชน โดยเน้นการทำความดีอย่างเป็นรูปธรรม เป็นที่ประจักษ์ และเป็นประโยชน์
Other Abstract: The purpose of this study is to study (1) the communication progress of Taiwanese Tzu Chi organization, (2) the process of communicating volunteer spirit, and (3) Thai leaders’ roles of applying Tzu Chi principles to mobilize Thai society. Methods used in this research are (1) In-Depth Interview, (2) Participant Field Observation in both Thailand and Taiwan, and (3) Documentary Analysis. The results of the study are as follows; 1. The development of ‘volunteer spirit’ of Taiwanese Tzu Chi organization in a viewpoint of Thai Leaders divided into 6 steps: (1) from pioneer leaders to primary followers; (2) from primary volunteers to the underprivileged or distressed people in Taiwan; (3) from good friends network in Taiwan to global network; (4) the development and expansion through global volunteer network; (5) Tzu Chi lifestyle in Thailand; (6) from Thai leaders to each sector in Thailand. During these steps, strategies used in communicating of volunteer spirit were the portrayals of (1) determination and affection in helping others, (2) volunteer work of practical ideas, (3) the transparency management system,(4) the accountability working process with practical objectives. 2. The communication process of ‘volunteer spirit’ of Taiwanese Tzu Chi organization reflected value of every carrier in any roles of beneficence and humanity. This communication process were diffused via various channels, from words of mouth, actual participation, to the use of contemporary media. As a result, they believed in the volunteer sprits seen in countries around the world including Thailand. 3. Evidence of application of Taiwanese Tzu Chi Volunteer spirit by Thai leaders can be found in the area of charity, medical works, education, and media usages.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46617
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684679028.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.