Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46618
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปาริชาต สถาปิตานนท์en_US
dc.contributor.authorปิยมน แจ่มวุฒิปรีชาen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:41:21Z
dc.date.available2015-09-19T03:41:21Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46618
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษามุมมองของกลุ่มผู้ริเริ่มวงออร์เคสตร้าเยาวชนเทศบาลนครยะลาต่อการใช้วงออร์เคสตร้าเพื่อเป็นสื่อกลางในการสนับสนุนให้เยาวชนมีสำนึกรักแผ่นดินเกิด (2) เพื่อศึกษามุมมองของเยาวชนที่เป็นสมาชิกวงออร์เคสตร้าเยาวชนเทศบาลนครยะลาต่อแผ่นดินเกิดและบทบาทของวงออร์เคสตร้าในฐานะสื่อกลางในการสร้างสำนึกรักแผ่นดินเกิด (3) เพื่อศึกษาการใช้ช่องทางการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการแสดงดนตรีออร์เคสตร้าและการแสดงความผูกพันกับแผ่นดินเกิดของเยาวชนที่เป็นสมาชิกวงออร์เคสตร้าเยาวชนเทศบาลนครยะลา (4) เพื่อศึกษามุมมองของกลุ่มผู้ชมวงออร์เคสตร้าเยาวชนเทศบาลนครยะลาต่อแผ่นดินเกิดและบทบาทของวงออร์เคสตร้าเทศบาลนครยะลาในฐานะสื่อกลางในการสร้างสำนึกรักแผ่นดินเกิด แนวทางในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสมผสานโดยมีระเบียบวิธีวิจัย ดังนี้ (1) การสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อศึกษามุมมองของกลุ่มบุคคล 3 กลุ่มตามวัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้ริเริ่ม 8 คน กลุ่มเยาวชน 12 คน และกลุ่มผู้ชม 9 คน รวมทั้งสิ้น 29 คน (2) การสังเกตการณ์ในพื้นที่เชิงกายภาพขณะเรียนดนตรี ฝึกซ้อมการแสดง และในการแสดงสด ในพื้นที่จังหวัดยะลา ระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 - เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 (3) การวิเคราะห์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เผยแพร่ในระบบออนไลน์ ทั้งเอกสาร ภาพถ่าย และคลิปการแสดง รวมทั้งข่าวที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มผู้ริเริ่มเห็นว่า วงออร์เคสตร้ามีบทบาทในการพัฒนาศักยภาพเยาวชน, บทบาทการสร้างความสัมพันธ์, บทบาทการสร้างสำนึกรักแผ่นดินเกิด และบทบาทการส่งต่อความรู้สึกถึงผู้ชม (2) เยาวชนที่เป็นสมาชิกในวงออร์เคสตร้ายะลามีมุมมองเชิงบวกต่อจังหวัดยะลา และมองว่าวงออร์เคสตร้ามีบทบาทในการพัฒนาศักยภาพเยาวชน, บทบาทการสร้างความสัมพันธ์, บทบาทการสร้างสำนึกรักแผ่นดินเกิด และบทบาทการส่งต่อความรู้สึกถึงผู้ชม (3) เยาวชนที่เป็นสมาชิกวงออร์เคสตร้าเยาวชนเทศบาลนครยะลาแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการแสดงดนตรีออร์เคสตร้าและการแสดงความผูกพันกับแผ่นดินเกิดผ่านทางการสื่อสารเฉพาะหน้า, การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ และการสื่อสารผ่านสื่อมวลชน (4) กลุ่มผู้ชมมุมมองที่ดีต่อจังหวัดยะลาและเห็นความสำคัญของการสร้างสำนึกรักแผ่นดินเกิด และมองว่าวงออร์เคสตร้ามีบทบาทในการพัฒนาศักยภาพเยาวชน, บทบาทการสร้างความสัมพันธ์, บทบาทการสร้างสำนึกรักแผ่นดินเกิด และบทบาทการส่งต่อความรู้สึกถึงผู้ชมen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study : (1) founders of the Yala Municipality Youth Orchestra's point of view towards using an orchestra as a medium to support youth's love of motherland (2) youth orchestra members' point of view towards motherland and the orchestra's roles as a medium to create love of motherland (3) use of communication platforms to exchange information related to the orchestra performance and to express the feeling of attachment (4) audiences' point of view towards motherland and roles of the orchestra as a medium to create love of motherland. This qualitative research with the integrated approach were used, by applying the techniques of (1) in-depth interview -to study the viewpoints of 3 target groups of key informants which are 8 founders, 12 youths, 9 audiences, totally 29 key informants; (2) non-participant observation in Yala and other provinces-in classes and on the stage during April 2015 to May 2015; (3) Electronic document analysis-of online data in the format of e-document, and video clips. The results are as follows: (1) The founders found that the orchestra represented as a significant role in developing youth's capacity, building relationship, creating love of motherland, and relaying feelings to audiences. (2) Young orchestra members had a positive point of view towards Yala province, and believed in the Orchestra's roles of developing youth's capacity, building relationship, creating love of motherland, and engaging the audiences. (3) Face-to-face communication, online media, and mass media were platforms that used to exchange information related to the orchestra performance and to express feeling of attachment to motherland. (4) Audiences had a positive point of view towards Yala province and acknowledge the importance of creating love of motherland. Also, they found that the Orchestra could support youth's development, build relationship, create love of motherland, and engage audiences to the motherland.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1358-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวงออร์เคสตร้าเยาวชนเทศบาลนครยะลา
dc.subjectช่องทางการสื่อสาร
dc.subjectการสร้างสันติภาพ -- ไทย (ภาคใต้)
dc.subjectการสร้างจิตสำนึก
dc.subjectการแพร่กระจายนวัตกรรม
dc.subjectวงดุริยางค์ -- แง่สังคม
dc.subjectYala Municipality Youth Orchestra
dc.subjectMass media channels
dc.subjectPeace-building -- Thailand, Southern
dc.subjectConscientization
dc.subjectDiffusion of innovations
dc.subjectOrchestra -- Social aspects
dc.titleบทบาทของวงออร์เคสตร้าเยาวชนเทศบาลนครยะลาในการสร้างสำนึกรักแผ่นดินเกิดen_US
dc.title.alternativeROLES OF YALA MUNICIPALITY YOUTH ORCHESTRA IN CREATING LOVE OF MOTHERLANDen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorParichart.S@Chula.ac.th,sparicha@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1358-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684680528.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.