Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46623
Title: บทบาทของตัวละครเด็กในละครโทรทัศน์ระหว่างปี 2551-2557
Other Titles: ROLES OF CHILDREN CHARACTERS IN THAI TELEVISION DRAMA BETWEEN 2008-2014
Authors: มังคลารัช ใจตรง
Advisors: จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Jirayudh.S@Chula.ac.th
Subjects: ละครโทรทัศน์
การเล่าเรื่อง
ตัวละครและลักษณะนิสัย
เด็ก
พัฒนาการของเด็ก
Television plays
Narration (Rhetoric)
Characters and characteristics
Children
Child development
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการนำเสนอบทบาทตัวละครเด็กในละครโทรทัศน์ช่วงก่อนและหลังข่าวภาคค่ำทางสถานทีโทรทัศน์ช่อง 3 ,5 และ 7 โดยศึกษาเฉพาะบทบาทตัวละครหลักและตัวละครรองจำนวนทั้งสิ้น 127 เรื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2551- พ.ศ. 2557 ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า บทบาทผู้ช่วยเหลือเป็นบทบาทตัวละครเด็กที่พบมากที่สุดในละครโทรทัศน์พิจารณาตามกรอบแนวคิดการวิเคราะห์ตัวละครของ วลาดิมีร์ พรอพพ์ และมีการนำเสนอตัวละครเด็กเพศชายมากกว่าหญิง ซึ่งตัวละครเด็กชายจะแสดงออกถึงความสามารถและสติปัญญามากกว่าเด็กหญิงด้วย และตัวละครเด็กปรากฎในละครโทรทัศน์ประเภท โรแมนติกคอมเมดี้มากที่สุด ตัวละครเด็กในละครโทรทัศน์ช่วงก่อนข่าวภาคค่ำจะเน้นการสนับสนุนตัวละครเอก ในลักษณะตัวละครตลก อาศัยการแสดงออกตามธรรมชาติของวัยเด็ก คือ ความไร้เดียงสา ความสนุกสนานสดใส มีจินตนาการ เน้นให้ความบันเทิงและความเพลิดเพลินกับผู้ชมทางบ้านเป็นหลัก สะท้อนมุมมองของผู้ผลิตและสังคมที่มีต่อเด็กในลักษณะของความบริสุทธิ์ เปรียบเสมือนผ้าขาวและอยู่ขอบเขตของด้านบวกเท่านั้น ส่วนตัวละครเด็กในละครโทรทัศน์หลังข่าวภาคค่ำจะมีพฤติกรรมเลียนแบบผู้ใหญ่ ซึ่งตัวละครเด็กชายจะเน้นการช่วยเหลือตัวละครเอกฝ่ายหญิงทั้งใช้กำลังความแข็งแรงของร่างกายและปัญญาในการคิดช่วยแก้ปัญหาต่างๆ อาทิ การส่งสาร การต่อสู้กับตัวละครร้าย ฯลฯ สามารถวิเคราะห์ถึงแนวความเชื่อที่มีต่อตัวละครฝ่ายหญิงที่อ่อนแอและต้องได้รับการช่วยเหลือจากตัวละครอื่นๆ นอกจากนี้หากตัวละครเด็กในละครเรื่องใดมีพลังวิเศษเหนือธรรมชาติย่อมสามารถช่วยเหลือตัวละครเอกแก้ไข้สถานการณ์วิกฤติได้อีกด้วย ซึ่งตอกย้ำมุมมองของผู้ผลิตในการนำเสนอตัวละครเด็กที่มีลักษณะแสดงออกเป็นผู้ใหญ่และมีความสามารถเกินวัย เมื่อพิจารณาในโครงเรื่องหลัก ตัวละครเด็กจะอยู่ในส่วนอารัมภบทมากที่สุดและลงระดับความสำคัญลงในการดำเนินเรื่องช่วงต่อไป แต่ขณะเดียวกันช่วงสถานการณ์วิกฤตของเรื่อง จะพบตัวละครเด็กถูกนำเสนอคั่นเหตุการณ์ที่กำลังเข้มข้นเพียงชั่วขณะหนึ่ง โดยใช้ธรรมชาติความเป็นเด็กที่สดใส ไร้เดียงสา เพื่อให้ผู้ชมได้พักอารมณ์บีบคั้น ตึงเครียดในระยะเวลาหนึ่งก่อนกลับสู่เนื้อเรื่องหลักต่อไปได้อีกด้วย
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study roles of children characters in Thai television drama on channel 3 ,5 and 7between 2008 and 2014 by using Content Analysis method. The result of this study indicate that the number of boy character is more than girl character. After measuring children character relates with main character, the relationships between them are in the way of family’s member. Romantic comedy dramas have the most quantity of children characters of all genre. Children characters are also related to drama’s theme. Role of children character in Thai television drama which represent in Vladimir propp’s concept found out that most children in Thai television drama are the main character’s helper. Children character in pre-evening news are cheerful and lively but the ones in prime time are more realistic. They help the main character without any conditions When considering the main plot, children characters are in the initial situation most and then they gradually fade away and when the climax comes, they become important again .Meanwhile in the intend situation, They intervene in order to make audiences alleviative.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46623
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1362
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1362
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684870428.pdf4.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.