Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46629
Title: การออกแบบสื่อดิจิตอลสำหรับเจเนอเรชันซีในฐานะผู้ซื้อรถยนต์คันแรก
Other Titles: DIGITAL MEDIA DESIGN FOR GENERATION C AS THE FRIST CAR BUYERS
Authors: ภูเมธ นิธิกุลปรีชา
Advisors: อารยะ ศรีกัลยาณบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Araya.S@chula.ac.th,araya.chula@yahoo.com
Subjects: สื่ออิเล็กทรอนิกส์ -- การออกแบบ
การสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์
พฤติกรรมผู้บริโภค
อุตสาหกรรมรถยนต์
Digital media -- Design
Branding (Marketing)
Consumer behavior
Automobile industry and trade
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาแนวทางและหลักการออกแบบสื่อดิจิตอล และเพื่อหาองค์ประกอบรวม ทั้งหลักการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสมใน การออกแบบสื่อดิจิตอล สำหรับเจเนอเรชันซีในฐานะผู้ซื้อรถยนต์คันแรก โดยใช้ทฤษฎีบุคลิกภาพของแบรนด์ (Brand Archetypes Theory) การศึกษาครั้งนี้ใช้เครื่องมือใน การวิจัยได้แก่ แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด เพื่อสกัดหาคำตอบเรื่องบุคลิกภาพของแบรนด์ที่เหมาะสม เมื่อได้คำตอบแล้วนำมาสร้างเครื่องมือสำหรับการโฟกัสกรุ๊ป (Focus Group) กลุ่มเป้าหมาย โดยคัดเลือกกลุ่มเจเนอเรชันซี จำนวน 7 ท่าน เพื่อระบุบคำตอบของบุคลิกภาพ ของแบรนด์ที่กลุ่มเป้าหมายเห็นด้วยที่สุด จากนั้นนำคำตอบได้ มาหาองค์ประกอบรวมทั้งหลักการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสมในการออกแบบสื่อดิจิตอล โดยคัดเลือกตัวอย่างของเว็บไซต์ 20 เว็บไซต์ที่ได้รับรางวัล ต่อ 1 บุคลิกภาพของ แบรนด์ แล้วนำมาสร้างแบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบด้านโฆษณา ผลการวิจัยพบว่า 1) การออกแบบสื่อดิจิตอลสำหรับเจเนอเรชันซีในฐานะผู้ซื้อรถยนต์คันแรกมีบุคลิกภาพของแบรนด์ที่ความเหมาะสม 3 ชนิด คือ นักมายากล (Magician) นักค้นหา (Explorer) และตัวตลกหลวง (Jester) 2) องค์ประกอบรวมทั้งหลักการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสมในการออกแบบสื่อดิจิตอลสำหรับเจเนอเรชันซีในฐานะผู้ซื้อรถยนต์คันแรกแยกตามบุคลิกภาพของแบรนด์ได้ดังนี้ 2.1) นักมายากล : ทฤษฎีรูปแบบชุดสีพื้นฐาน แบบโครงสีสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ในวงจรสีในโทนสีเย็น การจัดองค์ประกอบแบบคอลัมน์กริด ลักษณะตัวอักษรในรูปแบบไม่มีเชิง ระยะของภาพถ่ายเป็นแบบภาพระยะกลาง และแบบภาพกว้าง ใช้แสงแบบโทนภาพส่วนใหญ่มืดกว่าค่าสีเทากลาง นักค้นหา : ทฤษฎีรูปแบบชุดสีพื้นฐานแบบโครงสีใกล้เคียงกับสีคู่ตรงข้าม ซึ่งเป็นโทนสีร้อน การจัดองค์ประกอบของหน้าเว็บไซต์แบบโมดูลาร์กริด ลักษณะตัวอักษรในรูปแบบไม่มีเชิง ระยะของภาพถ่ายเป็นแบบระยะกว้างมาก แบบภาพแคบ และแบบภาพเต็มตัว ลักษณะภาพให้แสง แบบโทนภาพส่วนใหญ่มืดกว่าค่าสีเทากลาง 2.3) ตัวตลก : ทฤษฎีรูปแบบชุดสีพื้นฐานแบบโครงสีคู่ตรงข้ามในโทนสีร้อน การจัดองค์ประกอบของหน้าเว็บไซต์แบบเมนูสคริปต์ กริด ลักษณะตัวอักษรในรูปแบบไม่มีเชิงระยะของภาพ ถ่ายเป็นแบบภาพระยะกลาง และภาพแบบถ่ายเดียว ลักษณะภาพให้แสงแบบ โทนภาพส่วนใหญ่มืดกว่า ค่าสีเทากลาง
Other Abstract: This study is performed with the purposes to find guidelines and principles for digital media design, and to find elements and principles of compositions that suit digital media design for Generation C as the first car buyers, using the Brand Archetypes Theory. The initial research tools used in this study were questionnaires that were used to survey on marketing specialists to find answers about appropriate brand personality. The answers were then used to build some other tools focusing on the target group by selecting 7 people from Generation C to identify brand personality that coincides with them mostly. Their opinions were used to extract elements and methods of compositions that suit digital media design by selecting 20 examples from award-winning websites per one brand personality, and used them to build a questionnaire to be surveyed on advertising design specialists. The findings of this study are as follows: 1) Brand personality that suits according to 3 archetypes: the Magician, the Explorer and the Jester. 2) Elements and compositions that suit can be categorized by brand personality as follows:- 2.1) The Magician: Basic Color Schemes Theory, Tetradic color in cool-colored scheme, Column Grid composition, Sans-serif typography, photographs of medium shot, tones of light in photography are mostly darker than the lower key. 2.2) The Explorer: Basic Color Scheme Theory with similar color scheme to the Split Complementary in warm colors, Modular Grid composition, Sans-serif typography, photographs of much wide shot, tones of light in photography are mostly darker than the lower key. 2.3) The Jester: Basic Color Scheme Theory with Complementary Color scheme in warm colors, Manuscript Grid composition, Sans-serif typography, photographs of medium shot , tones of light in photography are mostly darker than the lower key.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นฤมิตศิลป์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46629
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1367
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1367
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686703735.pdf11.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.