Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4664
Title: การศึกษาวิธีการจัดเส้นทางใหม่ร่วมกับการเลือกทางแบบพลวัตสำหรับโครงข่ายที่ให้บริการหลายประเภท
Other Titles: Study of rerouting strategies for dynamic alternative routing in multiple-service networks
Authors: สุพิกิจ โสตถิยานนท์
Advisors: เชาวน์ดิศ อัศวกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chaodit.A@chula.ac.th
Subjects: ระบบสื่อสารข้อมูล
ระบบโทรคมนาคม
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอวิธีการจัดเส้นทางใหม่ร่วมกับการเลือกทางแบบพลวัตสำหรับโครงข่ายที่รองรับการให้บริการหลายประเภท โดยมีแนวคิด คือ การให้การเรียกที่ใช้เส้นทางเผื่อเลือกให้กลับมาใช้เส้นทางตรง เนื่องจากการเรียกที่ใช้เส้นทางเผื่อเลือกใช้ทรัพยากรของโครงข่ายมากกว่าเส้นทางตรง ทำให้ประหยัดทรัพยากร ของโครงข่ายและโครงข่ายสามารถรองรับการเรียกได้มากขึ้น วิธีการจัดเส้นทางใหม่ที่เสนอในวิทยานพินธ์ฉบับนี้มี 4 วิธี คือ 1) การจัดเส้นทางใหม่แบบสุ่มเมื่อมีการเรียกใหม่เข้ามาในโครงข่าย (ARR) 2) การจัดเส้นทางใหม่โดยเลือกความจุของข่ายเชื่อมโยงที่มีค่าเหลือมากที่สุดเมื่อมีการเรียกใหม่เข้ามาในโครงข่าย (ALR) 3) การจัดเส้นทางใหม่แบบสุ่มเมื่อมีการเรียกออกจากโครงข่าย (DRR) 4) การจัดเส้นทางใหม่โดยเลือกความจุของข่ายเชื่อมโยงที่มีค่าเหลือน้อยที่สุดเมื่อมีการเรียกออกจากโครงข่าย (DBR) การวิเคราะห์สมรรถนะของวิธีที่เสนอจะเปรียบเทียบกับวิธีการตัดสินใจแบบพลวัต โดยพิจารณาจากอัตรารายรับที่ได้ของโครงข่ายและต้นทุนที่เกิดจากการจัดเส้นทางใหม่ รูปแบบที่ทำการทดสอบประกอบด้วยกรณีอัตราเฉลี่ยของการเข้ามาของการเรียกไม่ขึ้นกับเวลา กรณีอัตราเฉลี่ยของการเข้ามาของการเรียกขึ้นกับเวลา กรณีโครงข่ายที่ข่ายเชื่อมโยงมีการเสียหายโดยที่ข่ายเชื่อมโยงนั้นไม่มีการซ่อมแซม ผลการทดสอบพบว่า 1) เมื่อปริมาณทราฟฟิกที่เข้าสู่โครงข่าย มีค่าปกติการจัดเส้นทางใหม่ร่วมกับการเลือกทางแบบพลวัต ให้อัตรารายรับเฉลี่ยของโครงข่ายที่ดีกว่าการเลือกทางแบบพลวัต แต่เมื่อปริมาณทราฟฟิก ที่เข้าสู่โครงข่ายมีค่าน้อยหรือมากจนเกินไป การจัดเส้นทางใหม่ร่วมกับการเลือกทางแบบพลวัตให้อัตรารายรับเฉลี่ยของโครงข่ายที่ใกล้เคียงกับการเลือกทางแบบพลวัต เนื่องจากเมื่อปริมาณทราฟฟิก มีค่าน้อยหรือมากจนเกินไปจะมีจำนวนการเรียกที่ใช้เส้นทางเผื่อเลือกน้อย 2) เมื่อทำการเปรียบเทียบวิธีการจัดเส้นทางใหม่โดยพิจารณานโยบายการจัดเส้นทางใหม่พบว่าวิธีการจัดเส้นทางใหม่เมื่อพิจารณากรณีมีการเรียกใหม่เข้ามาให้อัตรารายรับเฉลี่ยของโครงข่ายมากกว่าวิธีการจัดเส้นทางใหม่เมื่อพิจารณากรณีมีการเรียกออกจากโครงข่าย เนื่องจากวิธีการจัดเส้นทางใหม่กรณีมีการเรียกใหม่เข้ามาเกิดจำนวน การจัดเส้นทางใหม่มากกว่ากรณีมีการเรียกออกจากโครงขาย 3) เมื่อทำการเปรียบเทียบวีการจัดเส้นทางใหม่โดยพิจารณาการเลือการเรียกที่จะทำการจัดเส้นทางใหม่พบว่าเมื่อเลือกการเรียกแบบสุ่ม (ARR, DRR) และเลือกการเรียกแบบขึ้นกับปริมาณทราฟฟิกในข่ายเชื่อมโยง (ALR, DBR) พบว่าอัตรารายรับเฉลี่ยของโครงข่านมีค่าใกล้เคียงกัน ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเพิ่มความซับซ้อนของการเลือกการเรียกโดยพิจารณาปริมาณทราฟฟิกในข่ายเชื่อมโยง
Other Abstract: This thesis proposes new rerouting strategies for dynamic alternative routing (DAR) in the connection-oriented, full-mesh network supporting multiple services. The main idea is to reroute the ongoing connections on their two-link alternative route back to their one-link direct routes. By doing so, the network resource consumption can be reduced and more connections can be additionally facilitated. In this thesis, four rerouting strategies have been investigated, namely, (i) arrival triggering random rerouting (ARR), (ii) arrival triggering least-loaded rerouting (ALR),(iii) departure triggering random rerouting (DRR) and (iv) departure triggering busiest rerouting (DBR). By using the discrete-event simulation technique, the performance of proposed rerouting strategies has been evaluated in comparison with that of conventional DAR. The performance measures of interest include both the total mean revenue rate obtainable from the whole network and the cost of implementing each type of the rerouting strategies.Further, the tested scenarios include both the practical network with stationary and time-varying rate of call arrivals, and with the possibility of link failures. The reported numerical results suggest three findings. Firstly, upon a normal range of loading conditions, all the proposed rerouting strategies can help improve the obtainable revenue for the network running DAR. However, such improvement becomes less significant when the network load is too light or too high, because only few alternative routes exist under such loadings. Secondly, about the triggering policy for rerouting, it is here found that the arrival triggering can achieve higher network revenue than the departure triggering at the expense of more rerouting attempts incurred. Finally, regarding the reouting call selection method, the obtained results suggest that both random rerouting (ARR, DRR) and load-dependent rerouting (ALR, DBR) can perform equally well. Hence, there is no need for network overheads to update the loading conditionsalong all rerouted paths
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4664
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1352
ISBN: 9741745559
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1352
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supikit.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.