Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46660
Title: | การพัฒนากระบวนการงบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา |
Other Titles: | Development of the budgeting process of Primary Educational Service Area Offices |
Authors: | ปรัชญวรรณ วนานันท์ |
Advisors: | นันทรัตน์ เจริญกุล ชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Nantarat.C@chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา งบประมาณ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต Primary Educational Service Area Offices Budget |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ปัญหาของกระบวนการงบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (2) ศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารงบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ (3) พัฒนากระบวนการงบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย ประชากรคือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ และผู้อำนวยการหน่วยตรวจสอบภายใน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง แบบประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานหรือสถิติอ้างอิง ได้แก่ การทดสอบ t-test และ One way ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญ .05 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified ) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น และใช้เทคนิค DEA :Data Envelopment Analysis หาค่าคะแนนประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า (1) กระบวนการงบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในสภาพปัจจุบันมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดคือ ขั้นตอนการจัดสรรงบประมาณ สำหรับสภาพที่พึงประสงค์ ขั้นตอนการจัดสรรงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 และ 4.49 ตามลำดับ และมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาขั้นตอนการติดตามและประเมินผลงบประมาณมากที่สุด โดยมีค่า PNImodified เท่ากับ 0.17 ส่วนสภาพปัญหาที่พบในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.85) เมื่อพิจารณาตามขนาดและที่ตั้งพบว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่มีขนาดและที่ตั้งต่างกันมีความต้องการพัฒนาแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 (2) ประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 66% (3) กระบวนการงบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ การจัดทำงบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ การบริหารงบประมาณและการติดตามและประเมินผลงบประมาณ และมาตรฐานทางการเงิน 7 ด้าน โดยมีส่วนที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมในรายละเอียดการดำเนินงาน ดังนี้ 1) การจัดทำแผนงบประมาณ โดยเฉพาะการจัดทำแผนกลยุทธ์ตามความต้องการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและเพิ่มเติมการจัดทำปฏิทินงบประมาณ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและโรงเรียน 2) การจัดทำต้นทุนผลผลิต สามารถจำแนกงบประมาณในแต่ละกิจกรรมและผลผลิตได้เพื่อเปรียบเทียบผลผลิตกับต้นทุนที่ใช้ไป 3) การบริหารการจัดซื้อจัดจ้าง จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานควบคู่กับการอบรมบุคลากร 4) การบริหารการเงินและการควบคุมงบประมาณ จัดทำคู่มือการระดมทรัพยากร 5) การบริหารสินทรัพย์ จัดทำแผนการบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ 6) การตรวจสอบภายใน เน้นการให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือให้โรงเรียนทำงานได้ถูกต้องและสะดวกยิ่งขึ้น 7) การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน เพิ่มการรายงานให้ครอบคลุมถึงผลผลิต ผลลัพธ์ ความคุ้มค่าและคุ้มทุน โดยใช้ DEA เพื่อหาค่าประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ |
Other Abstract: | To study (1) explore the present and state desirable situation, and the problems of budgeting process of the primary educational service area offices; (2) to examine the efficiency of budgeting management process of the primary educational service area offices; and (3) to develop the budgeting process of the primary educational service area offices. This research employed descriptive research methodology. Population included the primary educational service area offices, with informants comprising the director of the primary educational service area office, director of policy and plan group, director of finance and asset management group, director of internal audit unit. Research instruments were questionnaires and semi-structured interviews. Quantitative analysis applied descriptive statistics including frequency, percentage, mean, standard deviation; and inferential statistics using t-test and one way ANOVA, with significance level at .05. Qualitative analysis utilized content analysis. Modified Priority Needs Index (PNImodified) was used to prioritizing the need. DEA: Data Envelopment Analysis was used to obtain efficiency score value. The results revealed that (1) The current situation and desirable situation in budgeting process of the primary educational service area offices demonstrating highest level are the budget allocation procedure (Mean = 4.02 and 4.49, respectively). The greatest need for development in the budgeting process was budget monitoring and evaluation with PNImodified=0.17. The problem situation at work was found at a low level (Mean=1.85). With respect to the size and location, it was found that educational service area offices with different sizes and locations were varied in their need for development at the level of significance .05. (2) The efficiency of budget management among the majority of these offices was 66 % on average. (3) The budgeting process of these offices comprises 4 steps: budget preparation, budget allocation, budget execution, budget monitoring and evaluation, and 7 hurdles of standards for financial management. The aspects required development in detailed implementation included the following: 1) Budget preparation especially the strategic plan for the need of educational service area offices that focuses on the participation of people involved, and additional budget calendar that relates between Office of Basic Education Commission, primary educational service area offices, and school. 2) Output costing that enables the categorization of budget in each activity and output, and allows for output-cost comparison. 3) Procurement management, work manual, coupled with personnel development. 4) Financial management and fund control, preparing resource mobilization handbook. 5) Asset management, preparing management plan to take advantage of existing assets. 6) Internal audit and control that focus on facilitating schools to work easier with increased accuracy. 7) Financial and performance reporting that covers the outcome, output, cost effectiveness, using the IDEAS (DEA) program. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46660 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2050 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.2050 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pruchyawan_va.pdf | 4.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.