Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46664
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์-
dc.contributor.authorศศิกร แสงพงษ์ชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2015-09-22T08:47:51Z-
dc.date.available2015-09-22T08:47:51Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46664-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractศึกษาการเตรียมถ่านกัมมันต์จากกากกาแฟ โดยวิธีการกระตุ้นทางเคมีด้วย ซิงค์คลอไรด์ โซเดียมไฮดรอกไซด์ และกรดฟอสฟอริก และศึกษาประสิทธิภาพของถ่านกัมมันต์ในการดูดซับสารอินทรีย์ระเหยภายในอาคารชนิดที่สำคัญ ได้แก่ เบนซีน โทลูอีน เอทิลเบนซีน และไซลีน หรือสารบีเทค (BTEX) จากการศึกษาพบว่า กาแฟพันธุ์อะราบิกาและพันธุ์โรบัสตามีองค์ประกอบโดยน้ำหนักของเซลลูโลสประมาณ 9-20% เฮมิเซลลูโลส 77-91% และลิกนิน 0.3-3% กาแฟทั้งสองชนิดมีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก ประมาณ 64-68% โดยน้ำหนัก ถ่านที่ผลิตจากกากกาแฟพันธุ์อะราบิกามีความเหมาะสม ในการนำมาผลิตเป็นถ่านกัมมันต์ เพราะให้ค่าการดูดซับไอโอดีนที่สูงกว่าถ่านจากกากกาแฟพันธุ์โรบัสตา สภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการเตรียมถ่านกัมมันต์คือ การคาร์บอไนเซชันที่อุณหภูมิ 400℃ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง และกระตุ้นด้วย H₃PO₄ ในอัตราส่วน 1:1 ที่อุณหภูมิ 700℃ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ถ่านกัมมันต์ที่ได้มีพื้นที่ผิว แบบ BET ขนาดรูพรุน และปริมาตรรูพรุนสูงที่สุดเท่ากับ 1,769 m²/g 0.7947 nm และ 0.7517 cm³/g ตาม ลำดับ ไอโซเทอมการดูดซับก๊าซไนโตรเจนที่อุณหภูมิ 77 K ของถ่านกัมมันต์จากกากกาแฟ และถ่านกัมมันต์ เกรดการค้าเป็นชนิดเดียวกันคือ ไอโซเทอมชนิดที่ 1 แสดงถึงลักษณะการดูดซับแบบชั้นเดียว (monolayer) และเป็นการดูดซับก๊าซบนถ่านกัมมันต์ที่ประกอบด้วยรูพรุนขนาดเล็ก หมู่หน้าที่ที่ปรากฏบนผิวถ่านกัมมันต์คือ หมู่ไฮดรอกซิล (O-H) และหมู่คาร์บอนิล (C=O) เป็นหลัก เมื่อนำถ่านกัมมันต์จากกากกาแฟที่เตรียมได้มาทดสอบการดูดซับสารอินทรีย์ระเหยที่เกิดจากสีทาภายในชนิดสีน้ำพบว่า ถ่านกัมมันต์จากกากกาแฟมีประสิทธิภาพในการดูดซับ Benzene และ Toluene สูงสุดเท่ากับ 99.76% และ 99.71% ตามลำดับ และจากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับสารบีเทครวม (Total BTEX) ที่พบในสีทาภายในอาคารชนิดสีน้ำมันพบว่า ถ่านกัมมันต์จากกากกาแฟมีประสิทธิภาพในการดูดซับสูงที่สุด รองลงมาเป็นถ่านกากกาแฟที่เผาที่ 400℃ ยังไม่ผ่านกระตุ้นด้วยสารเคมี และกากกาแฟก่อนเผา โดยมีค่าเท่ากับ 97.65% 80.06% และ 61.27% ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeTo study the preparation of activated carbon from coffee residue by chemical activation with ZnCl₂, NaOH, and H₃PO₄, and the efficiency of activated carbon to adsorb important volatile organic compounds (VOCs) in indoor air including benzene, toluene, ethylbenzene, and xylene (or BTEX). From this study, composition of cellulose, hemicelluloses, and lignin determined in Arabica and Robusta coffee were approximately 9-20, 77-91, and 0.3-3% by weight. The major elemental composition was carbon which account for 64.43-68.19% by weight. The charcoal produced from Arabica coffee residue was selected for further activation step because their iodine number was higher than those of Robusta. The coffee residue carbonized at 400℃ for 1 hr. following by the activation with H₃PO₄ at 1:1 impregnation ratio and carbonized again at 700℃ for 1 hr. was the optimum condition of activated carbon preparation. This condition gave the highest iodine number, BET surface area, pore width, and pore volume, with the values of 300.56 ± 5.11 mg/g 1,769 m²/g, 0.7947 nm, and 0.7517 cm³/g, respectively. The nitrogen adsorption isotherm at 77 K of activated carbon produced from coffee residue and that of the commercial were classified as type I which showed the monolayer adsorption and consisted of micropores. The result of FTIR showed the main functional groups, namely hydroxyl (O-H) and carbonyl (C=O). For the adsorption study of activated carbon produced from coffee residue, the result showed that the efficiency of the absorbent to adsorb VOCs particularly benzene and toluene emitted from water base paints were up to 99.76% and 99.71%, respectively. Furthermore, the efficiency of adsorption total BTEX released from oil base paints were presented the highest at 97.65% by using activated carbon prepared from coffee residue, and followed by the coffee residue char carbonized at 400℃ and the coffee residue before carbonization which were at 80.06% and 61.27%, respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2028-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคาร์บอนกัมมันต์en_US
dc.subjectการดูดซับen_US
dc.subjectสารประกอบอินทรีย์ระเหยen_US
dc.subjectกาแฟen_US
dc.subjectCarbon, Activateden_US
dc.subjectAdsorptionen_US
dc.subjectVolatile organic compoundsen_US
dc.subjectCoffeeen_US
dc.titleการดูดซับสารอินทรีย์ระเหยภายในอาคารด้วยถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากกากกาแฟen_US
dc.title.alternativeAdsorption of volatile organic compounds (VOCs) in indoor environment using activated carbon produced from coffee bean residueen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisortassanee.c@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.2028-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasikorn_sa.pdf5.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.