Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46666
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศุภชัย ยาวะประภาษ | - |
dc.contributor.author | สุวรรณา พูลเพชร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2015-09-22T09:05:01Z | - |
dc.date.available | 2015-09-22T09:05:01Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46666 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en_US |
dc.description.abstract | ศึกษาสถานการณ์ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานราชการไทย ระดับความเข้าใจต่อพฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศของข้าราชการในหน่วยงานราชการไทย การดำเนินการของหน่วยงานเกี่ยวกับปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานราชการไทย และศึกษาความจำเป็นในการมีนโยบายการป้องกันปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานราชการไทย โดยผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการศึกษาไว้เฉพาะข้าราชการผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการ จำนวน 6 หน่วยงานในเขต กรุงเทพมหานคร จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองคาย และได้เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งจากแหล่งทุติยภูมิและการใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 1. ในความเห็นของหัวหน้าส่วนเสริมสร้างวินัยของหน่วยงานราชการที่เป็นกลุ่มตัวอย่างพบว่า สถานการณ์ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศของข้าราชการในหน่วยงานราชการไทย ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งตรงกับข้อมูลทางสถิติการล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานราชการไทยที่เก็บรวบรวมไว้ โดยสำนักงาน ก.พ. และข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์กรรมการในอนุกรรมการข้าราชการพลเรือนวิสามัญเกี่ยวกับวินัยและการออกจากราชการ แต่ขณะเดียวกันก็พบว่าจากแบบสอบถามที่สอบถามไปยังข้าราชการกลุ่มตัวอย่าง ยังมีรายงานเรื่องข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเหตุการณ์ล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานมายังผู้วิจัย ซึ่งแสดงว่าการล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานยังคงมีอยู่ แต่ผู้ให้ข้อเสนอแนะไม่ได้รายงานผู้บังคับบัญชา หรือผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานราชการไทยที่ดูเหมือนว่าจะต่ำ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังคงมีเหตุการณ์การล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานเกิดขึ้น แต่เรื่องราวกลับไปไม่ถึงกระบวนการสอบสวน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าพิจารณาต่อไปว่าเกิดจากสาเหตุใด 2. ความเข้าใจต่อพฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศของข้าราชการในหน่วยงานราชการไทยนั้น ข้าราชการไทยมีความเข้าใจต่อความหมายของการล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานในระดับปานกลาง และมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับน้อย ยังไม่สามารถแยกแยะรูปแบบของการล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานได้ 3. การดำเนินการของหน่วยงานเกี่ยวกับปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานราชการไทย หน่วยราชการที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าว่าแนวปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานราชการที่ออกโดยสำนักงาน ก.พ. เหมาะสมอยู่แล้ว และข้าราชการผู้ตอบแบบสอบถาม ก็มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนเมื่อเจอเหตุการณ์การล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานราชการ สำหรับการป้องกันปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานพบว่า การให้ความรู้ทางด้านศีลธรรมควบคู่กับการแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนจากทางหน่วยงานกลาง ได้แก่ สำนักงาน ก.พ. และหากเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานมีจำนวนมากขึ้น อาจมีการพิจารณาจัดตั้งศูนย์ในการดำเนินงานโดยเฉพาะ รวมทั้งโทรศัพท์สายด่วน และการขอความร่วมมือกับหน่วยงานเอกชน ประเภทมูลนิธิ เป็นสิ่งสำคัญ ส่วนผู้รับผิดชอบควรเป็นผู้บังคับบัญชาในทุกระดับ และข้าราชการผู้ตอบแบบสอบถาม อยากให้หน่วยงานราชการมีการฝึกอบรม การป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศอย่างเป็นรูปธรรม และอยากให้มีหน่วยรับเรื่องร้องเรียนกรณีการล่วงละเมิดทางเพศ โดยปกปิดชื่อผู้ร้องเรียนเป็นความลับ และ 4. ความจำเป็นในการมีนโยบายการป้องกันปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานราชการไทยนั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเหตุการณ์การล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานราชการ ซึ่งปัจจุบัน ความรุนแรงของเหตุการณ์ยังมีไม่มากนัก และสำนักงาน ก.พ. กำลังจะผลิตคู่มือขึ้นมาประกอบกฎ ก.พ. ว่าด้วยการกระทำอันเป็นการล่วงละเมิดทางเพศ หรือคุกคามทางเพศ พ.ศ. 2553 เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ข้าราชการ และกำลังจะมีการประเมินและติดตามผลการนำ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการกระทำอันเป็นการล่วงละเมิดทางเพศ หรือคุกคามทางเพศ พ.ศ. 2553 ในเร็วๆ นี้ เพื่อติดตามว่า เมื่อนำมาบังคับใช้แล้ว ได้ผลเป็นอย่างไร | en_US |
dc.description.abstractalternative | This thesis is an investigation of workplace sexual harassment in Thai government agencies. It intends to: (1) investigate Thai officers’ understanding of sexual harassment behavior, (2) investigate the practices of disciplinary actions against sexual harassment taken in Thai government agencies, and (3) investigate whether policies dealing with sexual harassment is needed for Thai government agencies. Six government agencies located in Bangkok, Khon Kaen, Udonthani, and Nong Khai were selected as case studies. Documentary research, questionnaire survey and in-depth interview were employed for data collection. The findings are ; (1) Chiefs of discipline promotion division in Thai government agencies in the sample held an opinion that sexual harassment behavior is not considered as a serious problem, which corresponds with statistic on the same subject collected by the office of the civil service commission. However, the data collected from questionnaire survey shows that incidents of sexual harassment were still noticed among peer officers, but not reported to the high officers. As a result, this finding suggests for further investigation on those visible but not reported cases (2) understanding of the meanings of sexual harassment among Thai officers was scaled at the medium-level but understanding of the various kinds of sexual harassment behavior was scaled at the low-level. Respondents were not able to consider what kinds of behavior are considered sexual harassment (3) Disciplinary actions against sexual harassment behavior issued by Thai government agencies was considered by respondents and informants as sufficient for coping with the situation. In the case that the situation is accelerating and becomes more serious, the hot-line center should then be created to deals directly with this problem. (4) The need for specific policy on sexual harassment depends on the severity of the situation, which currently considered by respondents and informants as not seriously severe. Moreover, the office of the civil service commission is in the process of preparing a manual for managing sexual harassment situation in Thai government workplaces. Monitoring and evaluation of the situation is also a follow-up activities taken by the office of civil service commission. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2051 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การคุกคามทางเพศ | en_US |
dc.subject | การคุกคามทางเพศ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย | en_US |
dc.subject | ส่วนราชการ -- ไทย | en_US |
dc.subject | Sexual harassment | en_US |
dc.subject | Sexual harassment -- Law and legislation -- Thailand | en_US |
dc.subject | Administrative agencies -- Thailand | en_US |
dc.title | การล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานราชการไทย : ปัญหาและนโยบายในการป้องกันและแก้ไข | en_US |
dc.title.alternative | Sexual harassment in Thai government agencies : problems and policies for prevention and improvement | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Supachai.Y@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.2051 | - |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suwanna_ph.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.