Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46718
Title: | Everyday Chinese speaking proficiency guidelines : a case study of Chulalongkorn University students |
Other Titles: | แนวทางการกำหนดความสามารถด้านการพูดภาษาจีนในชีวิตประจำวัน : กรณีศึกษานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Authors: | Pattra Pichetsilpa |
Advisors: | Suree Choonharuangdej Prapin Manomaivibool |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Arts |
Advisor's Email: | Suree.C@Chula.ac.th arckfas@chula.ac.th |
Subjects: | Verbal ability Oral communication Chinese language -- Speech การสื่อทางภาษาพูด ภาษาจีน -- การพูด ความสามารถทางภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- นักศึกษา |
Issue Date: | 2006 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | จุดประสงค์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือเพื่อเสนอ "แนวทางการกำหนดความสามารถด้านการพูดภาษาจีน : กรณีศึกษานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" และเพื่อนำไปใช้เป็นมาตรฐานในการออกแบบการวัดผลทางด้านทักษะที่ใช้ในการสื่อสาร รวมทั้งสามารถนำแนวทางนี้ไปใช้ในการอ้างอิงการเขียนตำราที่เกี่ยวข้องกับทักษะด้านการพูดภาษาจีนได้อีกด้วย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้อิงมาจากแนวทางกำหนดความสามารถทางการเรียนการสอนภาษาจีนของสภาการสอนภาษาต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ American Council on the Teaching of Foreign Language Chinese Proficiency Guidelines ผู้วิจัยวิเคราะห์โครงสร้างเนื้อหาทั้งหมด และพบว่าแนวทางกำหนดความสามารถนี้ได้ยึดหลักของบทบาทภาษา 3 ประการ อันประกอบด้วย การใช้ภาษา บริบท และเนื้อหาของภาษา และความถูกต้องในการใช้ภาษา จากนั้น ผู้วิจัยได้นำบทบาททางภาษา 3 ประการมาเป็นหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์หลักสูตรวิชาเอกภาษาจีนของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อแสดงระดับความสามารถในด้านการพูดของนิสิตวิชาเอกภาษาจีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้วิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างแนวทางกำหนดความสามารถทางการเรียนการสอนภาษาจีนขององค์กรภาษาต่างประเทศแห่งประเทศสหรัฐอเมริกากับแนวทางการกำหนดความสามารถด้านการพูดภาษาจีน กรณีศึกษานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อแสดงให้เห็นว่าแนวทางการกำหนดความสามารถที่ผู้วิจัยเสนอนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการสื่อสารอย่างแท้จริง ผู้วิจัยเห็นว่าการวิเคราะห์เปรียบเทียบนี้มีหลักสำคัญที่ต้องคำนึงถึง 2 ประการคือ 1. การวิเคราะห์ในแนวนอนเพื่อหาข้อกำหนดความสามารถทั้งสอง 2. การวิเคราะห์ในแนวตั้งเพื่อแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางด้านการพูดของผู้เรียน ผลการวิจัยที่ได้รับคือระดับความสามารถทางด้านการพูดทั้งต้น กลาง และสูงของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยล้วนสูงกว่าระดับความสามารถของแนวทางกำหนดความสามารถทางการเรียนการสอนภาษาจีนขององค์กรภาษาต่างประเทศแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งพัฒนาการทางด้านการพูดของนิสิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยก็เร็วกว่าอีกด้วย ผู้วิจัยตระหนักถึงความแตกต่างนี้ว่ามีสาเหตุมาจาก 1)วิชาเอกภาษาจีนนั้นมีจุดประสงค์ของหลักสูตรที่แน่นอน ดังนั้นทักษะทางภาษาของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงต้องเป็นไปตามจุดประสงค์นั้นๆ 2)แนวทางกำหนดความสามารถด้านการพูดจัดทำขึ้นเพื่อนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิชาเอกภาษาจีน โดยเฉพาะ 3) ภาษาไทยเป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลภาษาเดียวกันกับภาษาจีน คือ ตระกูลภาษาจีน-ธิเบต ซึ่งมักมีระบบเสียงและหลักไวยากรณ์ที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้นนิสิตไทยจึงสามารถเรียนรู้ภาษาจีนได้ค่อนข้างเร็ว |
Description: | Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 2006 |
Degree Name: | Master of Arts |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Chinese as a Foreign Language |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46718 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.2061 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.2061 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pattra.pdf | 1.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.