Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46720
Title: การตรวจหาไวรัสเดงกีในไขกระดูกโดยวิธีรีเวอร์สทรานสคริปชั่นโพลีเมอร์เรสเชนรีเอกชั่น (อาร์ทีพีซีอาร์)
Other Titles: Detection of dengue virus in bone marrow by Reverse Transcription-Polymerase Chain Reaction (RT-PCR)
Authors: โอภาส พุทธเจริญ
Advisors: วันล่า กุลวิชิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Wanla.K@Chula.ac.th
Subjects: ไวรัสเดงกี
ไขกระดูก
Dengue viruses
Bone marrow
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา เนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีเป็นปัญหาที่สำคัญในประเทศไทย จากการตรวจสำรวจทางน้ำเหลืองวิทยาพบว่าประชากรผู้ใหญ่ไทยเกือบทั้งหมดเคยผ่านการติดเชื้อไวรัสเดงกีมาก่อนแล้ว โดยที่ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อที่ไม่มีอาการ การติดเชื้อส่วนใหญ่มักจะเป็นการติดเชื้อแบบทุติยภูมิและยังไม่มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าไวรัสเดงกีสามารถที่จะคงอยู่ภายหลังจากที่มีการติดเชื้อครั้งก่อน แต่มีการศึกษาไวรัสชนิดอื่นที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ได้แก่ไวรัสตับอักเสบซี และไวรัสจีบีวี สามารถที่จะคงอยู่และมีการแบ่งตัวในผู้ที่เคยติดเชื้อนี้มาก่อนได้ เนื่องจากไวรัสเดงกีเป็นไวรัสที่มีความจำเพาะต่อการติดเชื้อในเซลล์เม็ดเลือดขาวกลุ่มโมโนซัยท์และลิมพ์โฟซียท์ คณะผู้ทำการศึกษาจึงสนใจที่จะตรวจหาไวรัสเดงกีในไขกระดูกของผู้น่าจะเคยมีการติดเชื้อไวรัสเดงกีในอดีตมาก่อน งิธีการศึกษา ผู้วิจัยได้ทำการตรวจหาไวรัสเดงกีโดยใช้วีธีทางชีวโมเลกุล reverse transcription-polymerase chain reaction (RT-PCR) ในผู้ป่วยที่มารับการเจาะไขกระดูกที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยที่มีการถามประวัติเพื่อที่จะใช้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสเดงกีแบบมีอาการในอดีต และใช้การตรวจหาทางน้ำเหลืองวิทยา (HAI และ ELISA) เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการติดเชื้อไวรัสเดงกีในอดีต นอกจากนี้ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยแต่ละราย ผลการศึกษา จากจำนวนผู้ป่วยที่เข้าในการศึกษา 74 ราย สามารถตรวจพบ ไวรัสดงกีในผู้ป่วย 3 ราย โดยที่ทั้งผู้ป่วยทั้ง 3 รายมีผลการตรวจ HAI และ ELISA เข้าได้กับการติดเชื้อไวรัสเดงกีในอดีต และทั้งสามรายมีผลการตรวจทางพยาธิวิทยาของไขกระดูกที่แสดงว่าอยู่ในช่วงที่โรคเลือดสงบ สรุปผลการศึกษา สามารถที่จะตรวจพบไวรัสเดงกีในไข่กระดูกของผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสนี้มาก่อนในอดีตซึงการที่มีไวรัสเดงกีอยู่ในร่างกายหลังจากการติดเชื้อครั้งก่อนอาจจะมีผลต่อการเกิดโรคติดเชื้อเดงกีภายหลัง เนื่องจากที่ไวรัสที่อยู่ในไขกระดูกอาจจะมีการแบ่งตัว หรือเนื่องทำให้มีผลต่อความรุนแรงของการติดเชื้อซ้ำโดยไวรัสเดงกีซีโรไทป์อื่นๆ ต่อมา แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้รายละเอียดเกี่ยวกับผลของไวรัสที่อยู่ในร่างกายต่อไป
Other Abstract: Backbround Our county is considered endemic area for dengue virus infection. Serosurveillance indicates that almost native all adults have been infected, mostly asymptomatically. A long-held mechanism for clinical severity involves dequential infections by different serotypes. Even though some of its peer flaviviruses are known to reside persistently within the host and contribute to host illnesses, dengue virus has not been shown to behave n a similar fashion. As dengue is a haematotropic virus, we sought to find evidence of its persistence in the bone marrow of previously-infected persons. Methods We studied patients clinically suspected of haematologic malignancies and indicated to have diagnostic bone marrow studies. A fraction of cellular marrow was employed for RNA extraction for reverse transcription-polymerase chain reaction (RT-PCR) by dengue-specific primers. Serologic assessment by haemagglutination inhibition test (HI) and enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA0 was performed to minimize a chance of including patients with recent dengue infection. Demographic data of all patients were analysed, especially for the history of prior recent febrile illness and diagnosis of dengue infection. Results Of 74 enrolled patients, dengue genome was deteced in cellular marrow of 3 cases. These patients had had no history of febrile illness prior to the bone marrow study and HI and ELISA results of single or paired sera of from these patients were, similar to those of the rest, compatible with either remote or remote/no infection by flaviviviruses. Indication for bone marrow examination in these patients were for follow-up and pathological results also confirmed they were in the stage of remission. Conclusions Dengue virus genome could be detected in bone marrow of asymptomatic haematologic patients by using RT-PCE. Sequential infections by different serotypes seem to be a key in severe dengue pathogenesis. The persistent first-serotype virus, defective or complete, could possibly confer a biological influence when co-infected with a second serotype later on in their life. As our understanding of dengue pathogenesis is far from perfect, this finding obviously opens up a door to a new arena of dengue research.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46720
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1106
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1106
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Opass.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.