Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46721
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรณรงค์ โชติวรรณ-
dc.contributor.advisorสิทธิสัตย์ เจียมวงศ์แพทย์-
dc.contributor.authorพจนารถ กาญจนมงคลศิริ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-09-23T08:33:52Z-
dc.date.available2015-09-23T08:33:52Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46721-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractสุขภาพและการเป็นพาหะนำโรคของผู้สัมผัสอาหารเป็นกลไกการแพร่เชื้อก่อโรคของระบบทางเดินอาหารที่มีสำคัญประการหนึ่งแต่ในปัจจุบันไม่ได้มีการตรวจสุขภาพผู้สัมผัสอาหารอย่างจริงจังแม้ว่าจะมีพระราชบัญญัติกำหนดไว้ก็ตาม การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความคิดเห็นในมุมมองของผู้ประกอบการและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการตรวจสุขภาพผู้สัมผัสอาหารในร้านอาหารเขตกรุงเทพมหานครรวมถึงค่าใข้จ่ายทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในการตรวจสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2549-มกราคม 2550 ผลการศึกษาในมุมมองของผู้ประกอบการพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยินดีให้ผู้สัมผัสอาหารในร้านอาหารได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นควรรวมอยู่ในสวัสดิการรักษาพยาบาล เช่น บัตรทอง ประกันสังคม แต่จากการศึกษาพบว่าผู้สัมผัสอาหารในร้านอาหารร้อยละ 17.8 ไม่มีสวัสดิการรักษาพยาบาล ดังนั้นปัญหาและอุปสรรคทีเกิดขึ้น คือ เรื่องค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพซึ่งผู้สัมผัสอาหารต้องเสียค่าใช้จายประมาณ 430 บาทต่อ 1 ราย และใช้เวลาในการรอตรวจสุขภาพนาน ผู้ประกอบการจึงมีข้องเสนอแนะให้ผู้สัมผัสอาหารในร้านสามารถเลือกสถานที่ตรวจสุขภาพได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเขตที่กำหนดไว้เท่านั้นหรืออาจมีรถตรวจเคลื่อนที่มาให้บริการ ในมุมมองของผู้บริหารสาธารณสุขพบว่า ผู้บริหารสาธารณสุขทั้งหมดเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการตรวจสุขภาพผู้สัมผัสอาหารในร้านอาหารแต่ปัญหาที่สำคัญคือ ผู้ที่มาตรวจและยื่นใบรับรองแพทย์อาจไม่ใช่ผู้สัมผัสอาหารตัวจริงและปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายนอกจากนี้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็ไม่เห็นความสำคัญจึ้งไม่เข้มงวดทำให้ผู้ประกอบการไม่เห็นความสำคัญเช่นกันen_US
dc.description.abstractalternativeOne of important mechanisms of transmissble disease in galtrointestinal system is attributed to health and disease carrier of food handlers. Although thai food Act requires food act requires health annually, there is still not in exisence. This research was performed a cross-sectional descriptive that aimed to study the poinion of the dealers and/or executive regarding problems, obtacles, and expenditure of medical laboratory for food handlels' health checkup in food shops located in metropolitan region. Data wancollected a struction questionnaire developed by the research from November 2006 to January 2007. Frequency and percentage were reported as data analysis. The results of the study revealed that dealer's opinion pleased to have their food handlers checking up every year and all expense should be included in medical health welfares such as golden card, social security, etc. However, the results indicated that17.8% of the food handlers did not have medical health welfare meaning that they must pay 430 bath per person to check up and have to wait to longtime.l Fromthis problem, the dealers suggested that 1) the food handlers can choose a phace to check up their healt by themelves without confining areas 2)provied a medial mobile car to service in some areas. Analogously, the public health administrators noticed the essential and some areas. Analogously, the public health administrators noticed the essential and importandce of health checkup but the problem they concerned was a person who comes checking up may not be a real food handler.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.482-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสุขาภิบาลอาหารen_US
dc.subjectการตรวจสุขภาพen_US
dc.subjectการติดเชื้อen_US
dc.subjectพาหะนำโรคen_US
dc.subjectCarrier state (Communicable diseases)en_US
dc.subjectInfectionen_US
dc.subjectPeriodic health examinationsen_US
dc.subjectFood handlingen_US
dc.titleปัญหาและอุปสรรคในการตรวจสุขภาพผู้สัมผัสอาหารในร้านอาหาร เขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeProblems and obstacles for health-check up in food handlers in food shops in Bangkok metropolitan areasen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเวชศาสตร์ชุมชนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPornarong.C@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.482-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Photjanart.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.