Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46754
Title: ประสิทธิผลของเครื่องมือทางการเงินเพื่อควบคุมเป้าหมาย ของระบบเศรษฐกิจ
Other Titles: Effectiveness of monetary tools for economic control
Authors: สุรัช จะยะสกุล
Advisors: ศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Siripen.S@chula.ac.th
Subjects: นโยบายการเงิน
แบบจำลองทางเศรษฐมิติ
ลิเนียร์อ๊อพติมัลคอนโทรล
การควบคุมทางเศรษฐศาสตร์
ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ -- แบบจำลองทางเศรษฐมิติ
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์โดยทั่วไปในการดำเนินนโยบายการเงิน คือ การทำให้ระบบเศรษฐกิจบรรลุเป้าหมายขั้นสุดท้าย (ultimate targets) โดยอาศัยเครื่องมือนโยบายการเงินประเภทต่างๆ ได้แก่ การให้กู้ยืมของธนาคารกลางผ่านหน้าต่างการกู้ยืม (loan windows) การซื้อลดพันธบัตรรัฐบาลในตลาดซื้อคืน (repurchase market) และการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (exchange rate) ในขณะที่ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยมีความผันผวนโดยง่าย อันเนื่องมาจากระบบเศรษฐกิจเปิดมากขึ้นจากการดำเนินนโยบายเปิดเสรีทางการเงิน ดังนั้นเพื่อให้สามารถควบคุมเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจได้อย่างแม่นยำ จำเป็นต้องทราบถึงประสิทธิผลของเครื่องมือนโยบายการเงินแต่ละประเภทต่อการควบคุมเป้าหมายเศรษฐกิจประเภทต่างๆ แบบจำลองเศรษฐมิติมหภาค (macroeconometric model) ขนาดเล็กสำหรับประเทศไทยได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยใช้ข้อมูลรายไตรมาสช่วงปี พ.ศ. 2532-2537 ในการประมาณค่า โดยแบบจำลองที่สร้างขึ้นมีการเชื่อมโยงถึงกลไกการถ่ายทอด (transmission mechanism) ระหว่างภาคการเงินและภาคผลิตผล ตามแนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์และนักเศรษฐศาสตร์สำนักการเงิน ซึ่งผลการประมาณค่าแบบจำลอง ปรากฏว่า ระบบสมการมีความสามารถในการพยากรณ์ดี จากนั้นจึงทำการศึกษาประสิทธิผลของเครื่องมือนโยบายการเงินแต่ละประเภทโดยพิจารณาจากความแม่นยำต่อการควบคุมเป้าหมายเศรษฐกิจที่กำหนด โดยอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้นประยุกต์ใช้ร่วมกับทฤษฎีลิเนียร์อ๊อพติมัลคอนโทรล (linear optimal control theory) ผลการศึกษาปรากฏว่า กลุ่มของเครื่องมือนโยบายการเงิน ได้แก่ อัตราธนาคาร และอัตราซื้อลดพันธบัตรฯ มีความแม่นยำต่อการบรรลุเป้าหมายเศรษฐกิจที่กำหนดไว้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งได้แก่ กลุ่มเป้าหมายได้ประชาชาติ ระดับราคาและดุลบัญชีเดินสะพัด ในขณะที่กลุ่มเครื่องมือนโยบายการเงินที่มีเครื่องมืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตรารวมอยู่ด้วย ไม่มีความแม่นยำต่อการบรรลุเป้าหมายเศรษฐกิจที่กำหนดไว้
Other Abstract: The general objective of monetary policy implementation is to help achieve the ultimate targets of the economy through adoption of various monetary instruments which include : the central bank’s lendings via loan windows, the discounting of government bonds in repurchase markets, and alteration in the exchange rates. Owing to the increasingly-open economy associated with the more liberalized monetary policy, the Thai economy is now confronted with sensitive fluctuations. In order to precisely manipulate economic stabilization, it is this necessary to know how effective each monetary instrument has been in manipulating the economic targets. To attain the afore-mentioned objectives, this thesis has developed a small-scale macroeconometric model for Thailand, with the estimation based on quarterly data during 1989-1994. The constructed model is linked with transmission mechanism between monetary sector and production sector under the concepts of Keynesian and Monetarist. From this estimation, it shows that the equation system has a high forecasting capacity. Subsequently, each monetary instrument has been studied as to its effectiveness in terms of the precision to manipulate the economic targets, by employing the constructed model applied with the linear optimal control theory. The study reveals that the monetary instruments, which include the bank rates and the discount rate of government bonds, have high accuracy in achieving the economic targets – the targets of national income, price levels and current account balance. Meanwhile, the monetary instruments which contain exchange rate measure has got no accuracy in achieving the formulated economic targets.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2539
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46754
ISBN: 9746332279
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surat_ch_front.pdf5.1 MBAdobe PDFView/Open
Surat_ch_ch1.pdf4.36 MBAdobe PDFView/Open
Surat_ch_ch2.pdf5.43 MBAdobe PDFView/Open
Surat_ch_ch3.pdf13 MBAdobe PDFView/Open
Surat_ch_ch4.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open
Surat_ch_ch5.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open
Surat_ch_ch6.pdf14.45 MBAdobe PDFView/Open
Surat_ch_ch7.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open
Surat_ch_back.pdf14.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.