Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46765
Title: การศึกษาการประเมินค่างานของการไฟฟ้านครหลวง
Other Titles: A study of job evaluation of the metropolitan electricity authority
Authors: สุรัตน์ ยุวภูษิตานนท์
Advisors: โกวิท กลิ่นเกษร
จินตนา บุญบงการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
fcomcbb@acc.chula.ac.th
Subjects: การไฟฟ้านครหลวง
การประเมินผลงาน
พนักงานรัฐวิสาหกิจ -- การจำแนกตำแหน่ง
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การไฟฟ้านครหลวงเป็นองค์การรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการทางด้านสาธารณูปโภค ประเภทกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนในเขตนครหลวง การไฟฟ้านครหลวงได้เห็นความสำคัญของการประเมินค่างานและนำเอาระบบการจำแนกตำแหน่งมาใช้ในองค์การเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการจ่ายค่าจ้าง เงินเดือน วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งที่จะศึกษาถึง วิธีการประเมินค่างานของการไฟฟ้านครหลวง ปัญหาและอุปสรรคเมื่อการไฟฟ้านครหลวงได้นำเอาหลักวิธีการประเมินค่างานมาใช้ และเป็นแนวทางในการพิจารณาปรับปรุงระบบการจำแนกตำแหน่ง จึงทำการศึกษาข้อมูลปฐมภูมิโดยการออกแบบสอบถามคณะกรรมการประเมินค่างานและพนักงานระดับบังคับบัญชา สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินค่างาน ซึ่งมีสมมติฐานในการศึกษาคือ 1. เมื่อการไฟฟ้านครหลวงได้นำเอาวิธีการประเมินค่างานมาใช้ภายในองค์การแล้วทำให้ปัญหาเรื่องค่าจ้างเปรียบเทียบของพนักงานมีน้อยลงไป 2. เมื่อได้นำเอาวิธีการประเมินค่างานมาใช้ภายในองค์การแล้ว ก่อให้เกิดแนวทางในการปรับปรุงระบบการจำแนกตำแหน่งที่ใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น ผลการศึกษาปรากฏว่า คณะกรรมการประเมินค่างานเห็นว่าเมื่อได้นำเอาวิธีการประเมินค่างานมาใช้ภายในองค์การแล้ว ทำให้ปัญหาเรื่องค่าจ้างเปรียบเทียบของพนักงานมีน้อยลงเป็นจำนวนร้อยละ 61.11 ส่วนพนักงานระดับบังคับบัญชามีความคิดเห็นว่า ยังมีปัญหาที่เกิดจากพนักงานที่มีลักษณะงานคล้ายกันเปรียบเทียบค่าจ้างกับหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นจำนวนร้อยละ 52.19 และคณะกรรมการประเมินค่างานเห็นว่า เมื่อได้นำเอาวิธีการประเมินค่างานมาใช้ภายในองค์การแล้วก่อให้เกิดแนวทางในการปรับปรุงระบบการจำแนกตำแหน่งที่ใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้นคิดเป็นร้อยละ 84.21 ปัญหาที่เกิดขึ้นในการนำเอาการประเมินค่างานมาใช้ที่สำคัญคือ การเขียนคำจาระไนตำแหน่งหรือคำบรรยายลักษณะงานของตำแหน่งยังไม่สมบูรณ์และไม่ชัดเจน การใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจของคณะกรรมการประเมินค่างานบาท่านใช้ความรู้สึกส่วนตัวก่อให้เกิดอคติในการให้ค่าคะแนนได้และหาบุคคลที่มีความรู้ทางการประเมินค่างานได้ยาก ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุคือ การเขียนคำจาระไนตำแหน่งให้ถูกต้อง ชัดเจนและสมบูรณ์ควรเขียนเพื่อให้อ่านได้เข้าใจไม่ใช่จับใจ และควรกระทำการประเมินค่างานอย่างต่อเนื่องกันไปในทุกลักษณะตำแหน่งภายในองค์การ เพื่อที่จะลดอคติในการให้ค่าคะแนนของคณะกรรมการประเมินค่างานควรจะกระทำหลายๆ ครั้งออกมาเป็นค่าคะแนนเฉลี่ยและคณะกรรมการประเมินค่างาน ควรคำนึงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบในการเป็นคณะกรรมการประเมินค่างาน องค์การควรส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมให้ความรู้แก่คระกรรมการประเมินค่างานจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกองค์การ เพื่อเสริมสร้างแนวความคิดในการประเมินค่างานให้มากขึ้น สำหรับองค์การอื่นๆ ที่สนใจจะนำวิธีการประเมินค่างานไปใช้ควรเริ่มจากวิธีที่ง่ายไปสู่วิธีที่ยาก และมีความพร้อมหรือไม่ที่จะนำวิธีการประเมินค่างานมาใช้โดยศึกษาเทคนิค ปัญหา และอุปสรรคจากองค์การที่นำมาใช้แล้วว่ามีเพียงใด
Other Abstract: The Metropolitan Electricity Authority which is a public enterprise in charge of the supply of public utility particularly in electric current to the metropolitan population. Recognizing the significance of job evaluation, the Metropolitan Electricity Authority has adopted the position classification for the justice of payment of wage and salary. This dissertation is aimed at a study of the means of job evaluation undertaken in the Metropolitan Electricity Authority as well as the problems and barriers encountered after its use which conseguently leads to a consideration of the position classification improvement. The primary information is therefore obtained through the questionnaires designed especially for the job evaluation committee and its officers and for other people involved. The presuppositions of the study are as follows: 1. Less problems on comparative wage occur after the job evaluation has been initiated at the Metropolitan Electricity Authority. 2. Guidelines to facilitate the position classification improvement can be derived from the evaluation process. According to the results of the study, the evaluation committee members have agreed in conclusion that through the job evaluation method, 61.11% of the comparative wage will be decreased. On the contrary, the authorized officers have pointed out that problems and responsibilities similar to those of the comparative wage remain at 52.19%. In addition, the evaluation committee members have recommended that 84.12% of guidelines are available to facilitate the position classification improvement. The most important problem caused by the job evaluation is the unclear and incomplete description on the position and its characteristics. Consideration of judgement by some of the evaluation committee members seems personal and unfair when marks are given. Moreover, it is very difficult to find knowledgedble evaluators. Suggestions for improvement are: to serve this purpose, accurate, correct and complete description of jobs are required, not for the sake of impressiveness but for clear understanding to all readers. Also continuing evaluation should be undertaken in every position in the organization and should be repeated many times for a reliable average in order to reduce the unfair judgement on marks, of course, it is necessary for the evaluation committee members to realize very well their responsibilities. Therefore, a training for the members which is organized by the outside experts should be promoted for better effective guidelines. For other organizations interested in job evaluation, it is recommended to start from the simple methods to the sophisticated ones. Readiness for adoption is another factor to be taken into account. A study of problems and barriers encountered by the experienced organization is also advised.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พาณิชยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46765
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surat_yu_front.pdf13.39 MBAdobe PDFView/Open
Surat_yu_ch1.pdf11.11 MBAdobe PDFView/Open
Surat_yu_ch2.pdf9.77 MBAdobe PDFView/Open
Surat_yu_ch3.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open
Surat_yu_ch4.pdf6.12 MBAdobe PDFView/Open
Surat_yu_ch5.pdf7.95 MBAdobe PDFView/Open
Surat_yu_back.pdf6.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.