Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46782
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอมรชัย อาภรณ์วิชานพ-
dc.contributor.authorณัฐชนน ไชยประเสริฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-09-30T06:29:17Z-
dc.date.available2015-09-30T06:29:17Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46782-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractในปัจจุบันการควบคุมมลภาวะได้กลายเป็นปัญหาที่สำคัญเนื่องจากกฎหมายที่มีความเข้มงวดขึ้นมากขึ้น เครื่องยนต์กังหันก๊าซซึ่งจะถูกใช้เป็นเครื่องจักรต้นกำลังในโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานก๊าซโดยทั่วไป จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่สามารถก่อกำเนิดมลภาวะทางอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไนโตรเจนออกไซด์ จากกระบวนการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้ในงานวิจัยนี้ แบบจำลองห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์กังหันก๊าซชนิดที่ใช้กับอุตสาหกรรมการบินได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อที่จะทำนายปริมาณการเกิดไนโตรเจนออกไซด์ การสร้างแบบจำลองกระบวนการภายในห้องเผาไหม้จะถูกแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน โดยขั้นตอนแรกจะเป็นการใช้โปรแกรมจำลองกระบวนการผลิตในการหาข้อมูลที่จำเป็นและเงื่อนไขขอบเขตรอบห้องเผาไหม้ และในขั้นตอนที่ 2 จะใช้ข้อมูลเงื่อนไขขอบเขตและปฏิกิริยาไนโตรเจนออกไซด์จากอุณหภูมิ ไนโตรเจนออกไซด์อย่างรวดเร็ว และไนโตรเจนออกไซด์ผ่านสารตัวกลางไนตรัสออกไซด์ นำมาประยุกต์ใช้กับโปรแกรมจำลองพลศาสตร์ของไหล เพื่อที่จะทำนายรูปแบบของก๊าซที่เกิดขึ้นในห้องเผาไหม้ จากผลการจำลองพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณไนโตรเจนออกไซด์คือภาระของเครื่องยนต์หรือปริมาณการผลิตไฟฟ้า สมรรถนะของเครื่องยนต์ อุณหภูมิของอากาศโดยรอบเป็นค่าที่มีผลกระทบมากที่สุดในการเกิดไนโตรเจนออกไซด์ ประโยชน์ที่ได้จากผลการจำลองในงานวิจัยชิ้นนี้ จะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมการเกิดในไตรเจนออกไซด์จากเครื่องยนต์กังหันก๊าซ เพื่อที่จะนำมากำหนดกลยุทธการเดินเครื่องให้มีปริมาณการเกิดมลภาวะน้อยที่สุดen_US
dc.description.abstractalternativePresently, the emission control of pollutants has become an important issue due to more strict regulation. A gas turbine engine, which is generally used as a mechanical drive in many power generation plants, is among the sources that can generate air pollutants, such as nitrogen oxide, from the burning of fuels in a combustion chamber. In this study, the simulation model of the combustion chamber in an aero-derivative type gas turbine engine is developed with the aim to predict an amount of generated nitrogen oxide. Modeling of the combustion chamber is divided into two steps. First, a process simulator is employed to generate stream data and boundary conditions around the combustion chamber and secondly, based on this information and the combustion kinetics of thermal NOx, prompt NOx and N2O intermediate pathways, fluid dynamic software is used to predict gaseous composition profiles in the combustor. The simulation results have indicated that the engine load, engine performance and ambient temperatures are among the most important parameters, which highly affect the generation of nitrogen oxide. The results obtained from this model-based analysis are beneficial for an understanding of the combustor, leading to the efficient operation of the gas turbine engine in terms of minimizing pollutant pollutant generation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1351-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไนโตรเจนออกไซด์en_US
dc.subjectการเผาไหม้en_US
dc.subjectมลพิษทางอากาศen_US
dc.subjectNitrogen oxidesen_US
dc.subjectCombustionen_US
dc.subjectAir -- Pollutionen_US
dc.titleการทำนายปริมาณออกไซด์ของไนโตรเจนที่ปล่อยจากเครื่องยนต์กังหันก๊าซen_US
dc.title.alternativePrediction of nitrogen oxide generated from gas turbine engineen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเคมีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisoramornchai.a@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1351-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
natchanon_ch.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.