Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/467
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุ่นตา นพคุณ-
dc.contributor.advisorกล้า สมตระกูล-
dc.contributor.authorสมศักดิ์ จัตตุพรพงษ์, 2503--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-24T03:20:57Z-
dc.date.available2006-06-24T03:20:57Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745310212-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/467-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพและลักษณะการจัดโปรแกรมการศึกษานอกระบบและการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยที่ดำเนินการโดยสถาบันศาสนาในปัจจุบัน ตามแนวคิด 15 ข้อ ของบอยเออล์ ซึ่งเน้น การจัดแบ่งประเภทของโปรแกรมการศึกษา เป็นโปรแกรมเชิงพัฒนา เชิงสถาบัน และเชิงสารสนเทศ ที่อาจใช้เป็นกระบวนการในการพัฒนา โปรแกรมการศึกษาของสถาบันศาสนาในอนาคต จำแนกเป็นสถาบันพระพุทธศาสนา สถาบันศาสนาอิสลาม และสถาบันคริสต์ศาสนา และภาพอนาคตที่พึงประสงค์ ภาพอนาคตที่ไม่พึงประสงค์ ภาพที่เป็นไปได้มากที่สุด ของการจัดการศึกษาโดยสถาบันศาสนา ในปี พ.ศ.2562 การวิจัยดำเนินการเป็น 2 ระยะ ในระยะแรกเป็นการวิเคราะห์การจัดโปรแกรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ดำเนินการโดยสถาบันศาสนาในปัจจุบัน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่เป็นตัวแทนของสถาบันศาสนาแต่ละศาสนา รวมทั้งสิ้น 23 ท่าน และใช้เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต ในระยะที่สองเป็นวิจัยอนาคตด้วยเทคนิค EFR โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 18 ท่าน ผลการวิจัย พบว่า แนวคิดการสร้างพื้นฐานทางปรัชญาในการจัดโปรแกรมการศึกษาของผู้จัดโปรแกรมการศึกษาในสถาบันพระพุทธศาสนานั้นเป็นปรัชญาทางพุทธศาสนา แต่เป็นศาสนธรรมที่แตกต่างกัน เนื่องจากมีศาสนธรรมหลากหลายที่ใช้เป็นปรัชญาทางการศึกษาได้ ผู้จัดโปรแกรมการศึกษาในสถาบันศาสนาอิสลามมีปรัชญาเดียวกันในการจัดโปรแกรมการศึกษา คือ การเรียนรู้ตั้งแต่เปลนอนจนถึงหลุมศพ และผู้จัดโปรแกรมการศึกษาในสถาบันคริสต์ศาสนา มีปรัชญาที่สอดคล้องกัน คือ การสร้างมนุษย์ที่มีความดีพร้อมตามหลัก คริสตธรรม สำหรับแนวคิดของบอยเออล์ในข้ออื่นๆ ต่อการจัดโปรแกรมการศึกษาของสถาบันศาสนาทั้ง 3 ศาสนา ไม่มีความแตกต่าง และสถาบันศาสนาทั้ง 3 ศาสนา มีการจัดโปรแกรมเชิงสถาบันมากที่สุด สำหรับภาพอนาคตทางดีในปี พ.ศ. 2562 ของการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ดำเนินการโดยสถาบันศาสนา ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าจะมีการดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สถาบันศาสนาจะเป็นศูนย์กลางของชุมชน และสถาบันศาสนาจะมีส่วนร่วมมากต่อการจัดการศึกษา ส่วนภาพอนาคตในทางร้ายผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าสถาบันศาสนาจะลดการจัดการศึกษาลง เนื่องจากคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ ศาสนิกชนจะให้ความสำคัญต่อศาสนาลดลง โดยเฉพาะศาสนาที่ไม่มีข้อบังคับที่เข้มงวด ส่วนภาพอนาคตที่เป็นไปได้มากที่สุดผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าสถาบันศาสนายังคงจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่จะมีการพัฒนาขึ้น และมีสัดส่วนของการศึกษาตามอัธยาศัยเพิ่มขึ้น แต่ต้องได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากรัฐอย่างพอเพียงen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study was to analysis Non-formal Education and Informal Education program organized by religious institutions in relation to the fifteen principles of Boyle's concept. According to Boyle, This study classified programs into three types. These are developmental institutional, and informative programs each of which was organized by Buddhist, Islamic and Christian religious institutions. The study shows thee alternative of Optimistic Realistic Scenario, Pessimistic Realistic Scenario and Most Probable Scenario on scenario education in B.E. 2562 (2019) by these religious institution. There are two main phase of the study. For the first phase, the study showed the analysis of non-formal and informal education organized by religious educators in Bangkok Metropolitan and vicinity in the present by 23 purposive samples of people collected from each religious institution. Data were collected by a questionnaire, interviewing and observing. For the second phase, an Ethnographic Future Research (EFR) by purposive samples of 18 experts were designed to study future scenarios of Non-formal Education and Informal Education program of three religions with three scenarios in optimistic, pessimistic and the most realistic scenario in B.E. 2562 (2019). The results of the first phase; due to the application of Dhamma, there were various Dhamma, applied to organizational education by Buddhist Institutions. Islamic Institutions have only one philosophy, that is education life-long, from birth to death. As for Christian Institutions, their philosophy is to create good human beings. According to Boyle's other concept of the program, all religious Institutions are not different. Most of them are institutional program. The results of the second phase are as follows; the experts agreed that there would be non-formal and informal organized by religious institutions in according with the national Education Act B.E. 2542 (1999) in 2019. The religions institution would become community's center and more people would participate in education programs. For the Pessimistic Realistic Scenario, the religious institutes would think that educational programs are not their duty. For the Most Probable Scenario religious institution would still organize non-formal and informal education and the education programs would be developed and would progress more if the government provided sufficient assistances.en
dc.format.extent1893334 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.691-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการศึกษาตามอัธยาศัยen
dc.subjectพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542en
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียนen
dc.titleการวิเคราะห์โปรแกรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ดำเนินการโดยสถาบันศาสนาตามแนวคิดของบอยเออล์และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542en
dc.title.alternativeAn analysis of non-formal education and informal education program organized by religious institutions according to Boyle's concept and The National Education Act B.E. 2542 (1999)en
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorOonta.N@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.691-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsak.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.