Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46829
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิมล วัชราภัย-
dc.contributor.authorสมชาย คอประเสริฐศักดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2015-10-21T07:37:16Z-
dc.date.available2015-10-21T07:37:16Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745672572-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46829-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลจากการใช้ภาพถ่ายที่ใช้เทคนิคมุมกล้องแบบซับเจคทีฟ และแบบอ็อบเจคทีฟ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2529 จากโรงเรียนปทุมคงคา สังกัดกรมสามัญศึกษาส่วนกลาง จำนวน 100 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 700 คน กลุ่มประชากรได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย หลังจากนั้นนำกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งหมดมาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเช่นกัน จำนวนกลุ่มละ 50 คน เพื่อให้เรียนโดยภาพถ่ายที่ใช้เทคนิคมุมกล้องแบบซับเจคทีฟและแบบอ็อบเจคทีฟภาพถ่ายทั้ง 2 ชุดมีเนื้อหาเรื่องเกี่ยวกันคือเรื่อง การขึ้นรูปทรงเครื่องปั้นดินเผาด้วยวิธีต่างๆ และใช้วิธีเรียนแบบเดียวกันคือ ดูภาพที่มีคำบรรยายประกอบจากแถบบันทึกเสียง แล้วให้ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทันที จากนั้นเว้นระยะ 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ จึงให้ทำแบบทดสอบอีก 2 ครั้ง เพื่อวัดความคงทนในการจำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าที่เพื่อหาค่าความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของคะแนนเฉลี่ยของทั้งสองกลุ่มการทดลองผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่เรียนจากภาพถ่ายที่ใช้เทคนิคมุมกล้องแบบซับเจคทีฟ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าของนักเรียนที่เรียนจากภาพถ่ายที่ใช้เทคนิคมุมกล้องแบบอ็อบเจคทีฟอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. เมื่อทำการทดสอบหลังเรียนเสร็จแล้ว 2 สัปดาห์ พบว่านักเรียนที่เรียนจากภาพถ่ายที่ใช้เทคนิคมุมกล้องแบบซับเจคทีฟมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนจากภาพถ่ายที่ใช้เทคนิคมุมกล้องแบบอ็อบเจคทีฟอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. เมื่อทำการทดสอบหลังเรียนเสร็จแล้ว 4 สัปดาห์ พบว่า นักเรียนที่เรียนจากภาพถ่ายที่ใช้เทคนิคมุมกล้องแบบซับเจคทีฟ และนักเรียนที่เรียนจากภาพถ่ายที่ใช้เทคนิคมุมกล้องแบบอ๊อบเจคทีฟ มีผลสัมฤทธิ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to compare the effects of photographs with different types of camera angles, subjective camera angle and objective camera angle, on achievement and retention of mathayom suksa one students. The subjects were 100 first semester mathayom suksa one students who were randomly selected from 700 students of Patum Kongka School during the 1986 academic year. They were randomly divided into two groups. Each group consisted of 50 students. The first group studied the topic “Making Clay” from the photographs with objective camera angle, and the second group studied topic the same from photoqraphs with subjective camera angle. Poth topics were 20 minutes long. After the experiment, the subjects did the post-test. After two weeks and four weeks, the subjects did the post-test again. The data collected analyzed by mean of t-test. The results were as follows: 1. The subjects studied from photographs with subjective camera angle learned more than the subjects studied from photographs with objective camera angle. There was a singnificant difference between the subjects studied from photographs with subjective camera angle and the subjects studied from photographs with objective camera angle at the 0.05 level of confidence. 2. The retention test after the two weeks interval indicated that the subjects studied from photographs with subjective camera angle learned more than the subjects studied from photographs with objective camera angle. There was a significant difference between the subjects studied from photographs with subjective camera angle and the subjects studied from photographs with objective camera angle at the 0.05 level of confidence. 3. The retention test after the four weeks interval indicated that there was no significant difference between the subjects studied from photographs with subjective camera angle and the subjects studied from photographs with objective camera angle.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความจำen_US
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen_US
dc.subjectภาพในการศึกษาen_US
dc.subjectการสอน -- อุปกรณ์en_US
dc.titleการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการใช้ภาพถ่าย ที่ใช้เทคนิคมุมกล้องต่างกันen_US
dc.title.alternativeA comparison of learning achievement and retention of mathayom suksa one students using photography with different types of camera anglesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuvimol.V@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_ko_front.pdf10.55 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_ko_ch1.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_ko_ch2.pdf12.3 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_ko_ch3.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_ko_ch4.pdf4.67 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_ko_ch5.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_ko_back.pdf6.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.