Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46853
Title: ผลกระทบของทางแยกสัญญาณไฟใหม่และการเดินรถสองทางต่อสภาพการจราจรในกทม.
Other Titles: Impact of new signalized intersection and two-way operation on Bangkok traffic
Authors: สมชาย ศิริวรพิทักษ์
Advisors: ครรชิต ผิวนวล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ถนน -- ทางแยก
ระบบการเดินรถ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
จราจร -- ไทย -- กรุงเทพฯ
จราจร -- แบบจำลอง
โครงข่ายถนน
การเดินรถสองทาง
การจัดเส้นทางการเดินทาง
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษาถึงแนวทางการเพิ่มทางแยกสัญญาณไฟเข้าไปบนช่วงถนนเดิม เพื่อลดผลกระทบของการเลี้ยวประเภทต่างๆ ที่ทางแยกหลักซึ่งมีสภาพเป็น Bottleneck Intersections โดยทางแยกที่ทำการศึกษาได้แก่ ทางแยกอุรุพงษ์ และทางแยกเพลินจิต/วิทยุ สำหรับส่วนที่สองเป็นการศึกษาถึงผลกระทบของระบบการเดินรถที่มีต่อสภาพการจราจรพร้อมทั้งจัดทำข้อเสนอในการจัดระบบการเดินรถแบบใหม่ในกทม.ด้วย ผลการศึกษาปรากฏว่า กรณีมีทางแยกสัญญาณไฟใหม่ที่ต้องมีการเพิ่มถนนย่อย (ซอย) เข้าไปในโครงข่าย ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้แบ่งกรณีศึกษาออกเป็น 2 กรณี คือกรณีซอยพญานาค และซอยร่วมฤดี พบว่าจะช่วยลดปริมาณรถเลี้ยวที่ทางแยกหลักให้น้อยลง และเมื่อพิจารณาทั้งระบบพบว่า ความเร็วของการเดินทางเฉลี่ยภายในระบบมีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแม้ว่าจะมีจำนวนรถเข้ามาในระบบมากขึ้น ส่วนค่าความล่าช้าเฉลี่ยที่เกิดขึ้นภายในระบบลดลงจาก 2689.3 คัน-ชม./ชม. เป็น 2519.1 และ 2584.4 คัน-ชม./ชม. ตามลำดับกรณีศึกษาดังกล่าวข้างต้น สำหรับการศึกษาเกี่ยวกับระบบการเดินรถในกทม. พบว่าการจัดระบบการเดินรถแบบใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเดินรถสองทางจะช่วยให้สภาพการจราจรดีขึ้นกว่าเดิมกล่าวคือระบบการเดินรถแบบใหม่จะมีความเร็วของการเดินทางเฉลี่ยภายในระบบประมาณ9.4 กม./ชม. ดีขึ้นกว่าระบบเดิมในปัจจุบัน ซึ่งมีความเร็วประมาณ 8.7 กม./ชม. โดยที่ระบบการเดินรถแบบใหม่มีจำนวนรถเข้ามาในระบบเพิ่มขึ้นกว่าเดิมแต่มีสภาพการจราจรติดขัดลดลง
Other Abstract: This research study is divided into two parts. The first part deals with testing of new strategy by adding new signalized intersections onto the network. The aim is to reduce effect of high turning movement at bottleneck intersections. The studied intersections are Urupong and Ploenchit/Wittayu. The second part deals with studying of effect of one-way traffic operation in congested area, and testing of new proposal of two-way and unbalance flow. The result of separate evaluation reveals that the strategy of new signalized intersections which add local roads and new signal onto the network for Soi Phyanak (case 1) and Soi Ruamrudi (case 2) would reduce turning volume at bottleneck intersections. The average travel speed of the system increase somewhat although more vehicles come into system. The average delay reduced from about 2689.3 vehicle-hour/hour to 2519.1 for case 1 and 2584.4 for case 2. For the study on one-way versus two-way traffic operation in Bangkok, it reveals that two-way traffic with unbalance flow operation will help reduce traffic congestion. The average travel speed of the system would be 9.4 kilometre/hour which is somewhat higher than the existing condition which average travel speed is approximately 8.7 kilometre/hour. Also, in a new traffic operation, more vehicles would be able to come into system but with less congestion.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46853
ISBN: 9745768642
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_si_front.pdf7.79 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_si_ch1.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_si_ch2.pdf8.01 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_si_ch3.pdf6.54 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_si_ch4.pdf7.36 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_si_ch5.pdf7.58 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_si_ch6.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_si_back.pdf6.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.