Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46872
Title: ผลของเขื่อนสิริกิต์ต่อค่าสัมประสิทธิ์การขาดแคลน และการเติมออกซิเจนในแม่น้ำน่าน
Other Titles: Effect of Sirikit Dam on dcoxygenation rate and reaeration rate of Nan River
Authors: สมนึก จิตสัมพันธเวช
Advisors: สุทธิรักษ์ สุจริตตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: คุณภาพน้ำ -- ไทย (ภาคเหนือ)
เขื่อน -- แง่สิ่งแวดล้อม -- ไทย (ภาคเหนือ)
น้ำ -- ปริมาณออกซิเจนละลาย
เขื่อนสิริกิต์ -- แง่สิ่งแวดล้อม
แม่น้ำน่าน
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาผลของเขื่อนสิริกิติ์ต่อค่าสัมประสิทธิ์การขาดแคลนและการเติมออกซิเจน (k1และ k2)ในแม่น้ำน่าน ได้กำหนดสถานีเก็บตัวอย่างน้ำในแม่น้ำน่านไว้ 5 แห่งด้วยกัน โดยเป็นสถานีที่อยู่บริเวณเหนืออ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ 2 แห่งในจังหวัดน่าน และบริเวณท้ายน้ำของเขื่อนสิริกิติ์ 3 แห่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำและวัดอัตราการไหลของน้ำทั้งสิ้น 4 ครั้ง ในระยะเวลา 1 ปีที่ทำการศึกษา โดยกำหนดระยะเวลาตามช่วงปริมาณน้ำที่เข้าสู่เขื่อน คือ ช่วงน้ำปานกลางครั้งที่ 1 ช่วงน้ำมาก ช่วงน้ำปานกลางครั้งที่ 2 และในช่วงน้ำน้อย ในเดือนกรกฎาคม เดือนกันยายน เดือนพฤศจิกายน 2528 และในเดือนมีนาคม 2529 ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าการดำเนินการของเขื่อนสิริกิติ์มีผลทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การขาดแคลนออกซิเจน (k1) ในแม่น้ำน่านบริเวณท้ายน้ำของเขื่อนสิริกิติ์ มีค่าลดลงจากที่บริเวณเหนืออ่างเก็บน้ำสิริกิติ์อย่างชัดเจน และมีค่าไม่แปนผันตามปริมาณน้ำที่ปล่อยออกจากเขื่อนแต่อย่างใด ค่า k1 ที่ได้มีค่าอยู่ในช่วงระหว่าง 0.045 ถึง 0.162 ต่อวัน และผลที่มีต่อค่าสัมประสิทธิ์การเติมออกซิเจน (k2) พบว่าค่า k2 ในบริเวณท้ายน้ำของเขื่อนมีค่าแปรผันตามปริมาณน้ำที่ปล่อยออกจากเขื่อน โดยพบว่ามีค่าสูงสุดในช่วงที่มีการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนมากที่สุด และมีค่าแปรเปลี่ยนอยู่ในช่วงระหว่าง 0.0514 ถึง 0.423 ต่อวัน ผลจากการดำเนินการของเขื่อนสิริกิติ์ต่อคุณภาพน้ำบริเวณท้ายน้ำของเขื่อน ทำให้ค่า k1 ลดลง และค่า k2 เพิ่มสูงขึ้น ดังกล่าว มีผลทำให้คุณภาพน้ำบริเวณท้ายน้ำของเขื่อนสิริกิติ์ดีขึ้น และเพิ่มความสามารถในการบำบัดมลสาร (waste assimilative capacity)
Other Abstract: The study was carried out during July 1985 to March 1986. Five sampling stations were assigned in Nan River in which two stations were located on the upstream of Sirikit Reservoir in Changwat Nan, and three stations were located on the downstream of Sirikit Dam in ChangwatUttaradit. Water Sampling and flow rate measurement were made 4 times during the study period. These periods were classified according to surface runoff as first intermediate flow, high flow, secomd intermediate flow, and low flow period. The results of the study indicated that the operations of Sirikit Dam affected the deoxygenation rate coefficient (k1) on the downstream stations. The deoxygenation rate was significantly decreasing of k1 was not dependent upon the downstream flow rate. The value of k1 varied between 0.045 to 0.162 per day. The value of reaeration rate coefficient (k2) in study area was affected by water being release from the dam. The value of k2 varied between 0.0514 to 0.423 per day. The effect of the operation of Sirikit Dam on downstream water quality was due to the decrease of the value of k1 and the increase value of k2. The downstream water quality was improved by the operations of the dam, and also increased the assimilative capacity of the river.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46872
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sommuek_ch_front.pdf13.38 MBAdobe PDFView/Open
Sommuek_ch_ch1.pdf4.02 MBAdobe PDFView/Open
Sommuek_ch_ch2.pdf7.17 MBAdobe PDFView/Open
Sommuek_ch_ch3.pdf8.14 MBAdobe PDFView/Open
Sommuek_ch_ch4.pdf4.44 MBAdobe PDFView/Open
Sommuek_ch_ch5.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open
Sommuek_ch_back.pdf10 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.