Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46919
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ | - |
dc.contributor.author | สุรีย์พร สุนทรศารทูล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2015-11-05T03:12:30Z | - |
dc.date.available | 2015-11-05T03:12:30Z | - |
dc.date.issued | 2529 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46919 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาการดำเนินงานการพัฒนาครูอาจารย์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ เขตการศึกษา 1 2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาครูอาจารย์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ เขตการศึกษา 1 การดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ตัวอย่างประชากรประกอบด้วย ผู้บริหารและครูอาจารย์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 1 จำนวน 27 โรงเรียน ผู้บริหารได้นำมาทั้งหมด 125 คนโดยไม่สุ่มตัวอย่าง ส่วนครูอาจารย์นำมาโดยสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบบมีสัดส่วน จำนวน 347 คน ได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารให้สัมภาษณ์ จำนวน 111 คน คิดเป็นร้อยละ 88.80 ได้สำรวจเอกสารโรงเรียน 24 โรง คิดเป็นร้อยละ 88.80 และได้รับแบบสอบถามคืน จำนวน 335 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 96.54 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยเครื่องมือ 3 ชุด ได้แก่ แบสัมภาษณ์ผู้บริหาร แบบสำรวจเอกสาร และแบบสอบถามครูอาจารย์ โดยแบบสอบถามเป็นแบบมีโครงสร้าง แบ่งเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เกี่ยวกับสถานภาพ เป็นแบบตรวจสอบรายการ ตอนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับการดำเนินงานการพัฒนาครูอาจารย์ในโรงเรียน เป็นแบบตรวจสอบรายการ และมีคำถามปลายเปิด ตอนที่ 3 เป็นคำถามเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในกาพัฒนาครูอาจารย์ มีลักษณะเป็นคำถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า ชุดที่ 2 แบบสำรวจเอกสาร ใช้ศึกษาข้อมูลการดำเนินงานพัฒนาครูอาจารย์ เฉพาะการวางแผนและดำเนินงานโครงการพัฒนา เป็นแบบตรวจสอบรายการ ตอนที่ 2 สำรวจข้อมูลเชิงปริมาณเกี่ยวกับปริมาณงานและงบประมาณ และชุดที่ 3 แบบสำรวจครูอาจารย์ แบ่งเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับสถานภาพ เป็นแบบตรวจสอบรายการ ตอนที่ 2 เป็นคำถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานพัฒนาครูอาจารย์ เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า และตอนที่ 3 สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาครูอาจารย์ เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า สรุปผลการวิจัย 1. จากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร พบว่า ผู้บริหารให้ความเห็นว่าโรงเรียนมีการดำเนินการพัฒนาครูอาจารย์ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การกำหนดเป้าหมายและบทบาทของหน่วยงาน โรงเรียนได้กำหนดวัตถุประสงค์และนโยบายการพัฒนาเป็นลายลักษณ์อักษรโดย ผู้บริหาร ผู้ช่วยบริหาร คณะกรรมการบริหารโรงเรียน และหัวหน้าหมวดวิชา หัวหน้างาน โดยการระดมความคิดระหว่างผู้บริหารกับอาจารย์ และผู้บริหารกำหนดขึ้นเอง มีการเผยแพร่ให้ครูอาจารย์ได้ทราบวัตถุประสงค์ในการพัฒนาโดยวิธีการประชุม และการแจกเอกสาร 2) การกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการพัฒนา โรงเรียนได้มอบให้ผู้ช่วยผู้บริหารและหัวหน้าหมวดวิชา หัวหน้างานรับผิดชอบงานนี้โดยไม่มีการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ การกำหนดตัวบุคคลผู้รับผิดชอบพิจารณาจากการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหารและหัวหน้างานเป็นสำคัญ โรงเรียนไม่มีข้อกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้รับผิดชอบ การช่วยให้ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในงานโดย มีการจักทำพรรณนางาน ส่งไปเข้ารับการอบรม ศึกษาดูงาน ให้คำปรึกษาแนะนำ และมอบเอกสารให้ศึกษา อำนาจการตัดสินใจดำเนินงานเป็นแบบผู้บริหารและผู้รับผิดชอบหารือและตัดสินใจร่วมกัน ซึ่งเป็นอำนาจระดับน้อยที่สุด 3) การกำหนดความจำเป็นในการพัฒนา ใช้วิธีการประชุมเป็นส่วนมากมีการวิเคราะห์ความจำเป็นในการพัฒนา จากผลการดำเนินการปฏิบัติงานของอาจารย์ การสังเกตพฤติกรรม และจากระบบข้อมูลโรงเรียน รวมทั้งพิจารณาถึงความจำเป็นของหน่วยงานด้วย 4) การวางแผนและการดำเนินงานโครงการพัฒนา โรงเรียนได้กำหนดโครงการพัฒนาไว้ในแผนการปฏิบัติงานประจำปีการศึกษา การจัดโครงการโดยมุ่งเปลี่ยนแปลงทั้งด้าน ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และพฤติกรรม โดยจัดให้แก่ครูอาจารย์รวมกันทั้งโรงเรียน และระดับหมวดหรืองาน มรการดำเนินการเพื่อสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาด้วย 5) ในการประเมินผงกระบวนการพัฒนา ส่วนมากประเมินเมื่อสุดโครงการ โดยการสังเกตการณ์ร่วมกิจกรรม การมอบงานให้ปฏิบัติ และมีการดำเนินผลการดำเนินงานตามโครงการในด้านต่างๆ รวมทั้งมีการติดตามผลการพัฒนาโดยการสังเกตพฤติกรรม และการรายงานของหัวหน้างาน ผู้บริหารได้ให้ความเห็นว่าโรงเรียนยังมีปัญหาในการดำเนินงานพัฒนาอาจารย์ในระดีปานกลาง ปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ด้านงบประมาณ การจัดระบบข้อมูล ขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านนี้ ครูอาจารย์ไม่เห็นความสำคัญและกระตือรือร้นต่อการพัฒนา ฯลฯ เป็นต้น 2. จากการสำรวจเอกสสาร พบว่า โรงเรียนส่วนมากมีการพัฒนาครูอาจารย์ ดำเนินโครงการโดยไม่จัดทำตารางปฏิบัติการตามแผน มีคำสั่งแต่งตั้งกรรมาการดำเนินงานตามโครงการ มีการจัดทำตารางกำหนดการจัดกิจกรรมพัฒนาให้อาจารย์ทราบ ในเอกสารโครงการพัฒนามีการระบุวัตถุประสงค์ไว้อย่างกว้างๆ เป็นโครงการระยะสั้นๆในวันทำงาน โดยใช้วิทยากรจากกรม กระทรวง ศึกษานิเทศก์ และผู้บริหารโรงเรียน มีการจัดกิจกรรมพัฒนาอย่างเป็นทางการหลายประเภท มีการวางแผนเพื่อประเมินผลและติดตามผลโครงการพัฒนา แต่ส่วนมากไม่มีเกณฑ์สำหรับวัดระดับของการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ เกี่ยวกับด้านปริมาณงานและงบประมาณ อาจารย์รับการพัฒนาจากโรงเรียนเป็นจำนวนมากกว่ารับการพัฒนาจากภายนอก ปีการศึกษาระยะหลังได้รับพัฒนาเป็นจำนวนมากกว่าปีต้นของช่วงปีการศึกษา 2525-2527 โดยโรงเรียนใช้เงินบำรุงการศึกษาสนับสนุนการพัฒนามากที่สุด รองลงไปคือเงินจากสมาคมผู้ปกครองและครู จำนวนเงินที่ใช้ในการพัฒนาโดยหน่วยงานภายนอกมากว่าการใช้เพื่อพัฒนาโดยโรงเรียน 3. จากการตอบแบบสอบถามของครูอาจารย์ พบว่า ครูอาจารย์มีความเห็นว่า โรงเรียนมีการดำเนินงานพัฒนาครูอาจารย์ในโรงเรียน 3 ขั้นตอน คือ การกำหนดความจำเป็นในการพัฒนา การวางแผนและการดำเนินงานโครงการพัฒนา และการประเมินผลการพัฒนา ในระดับปานกลาง แต่ขณะเดียวกันก็มีความเห็นว่า โรงเรียนมีปัญหาในการดำเนินงานทั้ง 3 ขั้นตอนดังกล่าว ในระดับปานกลางเช่นกัน ปัญหาด้านกำหนดความจำเป็น ได้แก่ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านนี้ การประเมินผลการปฏิบัติงานยังไม่เหมาะสม จัดกิจกรรมโดยไม่สำรวจปัญหาและความต้องการของอาจารย์ ฯลฯ ด้านการวางแผนและการดำเนินโครงการ ได้แก่ ขาดแคลนวิทยากร ความจำกัดของงบประมาณ การประสานงานภายในโรงเรียน ผู้รับพัฒนาไม่เห็นความสำคัญและขาดความสนใจ ฯลฯ ด้านการประเมินผล ได้แก่ ไม่ใช้ผลการประเมินไปใช้ปรับแผนงานโครงการ อาจารย์ที่ผ่านกิจกรรมไม่นำความรู้ไปใช้พัฒนาตนเองและโรงเรียน ฯลฯ เป็นต้น | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were to 1.Study the performance on teaching personnel development of large secondary schools. 2.Study the problems concerned the performance on teaching personnel development of large secondary schools. -Research Procedures- t The population Involved in the study consisted of administrators and teachers in secondary schools in educational region 1* The total population were all 125 administrators, 347 teachers by propotional simple random sampling, and got data from 88.8 percent of administrators, 96.54 percent of teachers* The instruments used in this study were administrator interview, documentary study and questionnaire which were constructed for the study. The study took preliminary study in five large secondary schools, the instruments were Improved by the advisor and content validity verified by experts, then try out the questionnaire that validity was 0.94 the administrative interview was devided into three parts, part 1 for administrators' status, part 11 for study the performance on personnel development and part 111 for study problems concerned the performance. The documentary study was for study on programming and implementing the personnel development program. The last one was questionnaire for teachers, also divided in three parts to study teachers' status, opinions about the performance on personnel development and problems respectively. In analizing the data, used the SPSS (statistical Package for the Social Sciences) at Computer Survice Institution of Chulalongkorn University. The statistics shown as percentage, means and standard deviation.) Finding and Conclusions I The finding of this investigation can be summarized as follows : 1. Administrators viewes that most of the schools performed on personnel development all five processes : 1. Clalifylng objective and unit role, the schools took objective and policy written by directors, assistant directors and chiefs by brainstorming and by administrators* The objectives were distributed by meeting and leaflet* 2. Determining responsibilidy, the assistant directors and chiefs were delegated to this job without appointment. These ones who were in administrative position and chief had much more chances than others to be selected to this responsibility. Schools did not clarify the job specifcation. Helping these persons to understand the job by setting job describtlon, sent them to training programs and gave them studies. The authority of them were taken as act after. 3.Determining needs for development, most of them determined the needs by meeting, performant evaluation results, behavioral observation and informations, including organization needs. 4.Programming and implementing personnel development program. The programs w.ere taken in the oporational plan, purposed to change cognitive, psychomotor, attitude and behavior of all teachers. They also motivated teachers to develop themselves. 5. Evaluating the personnel development program. Mosts evaluated the programs at the end by observation and from their works participated the programs. They evaluated the program management^and followed up by observation and chief reporting. 1. A bout problems concerned the performance, they viewed that there were problems in medium, they were budget, information, manpower, etc. 2. By documentary study, emphasizing on programming and implementing the personnel development program. Most of the schools set up the programs in operational plan. Committees were organized to implement the programs. The programs were set, but there were not *schedules to run on the programs. The Project set up general objectives, took short period on official days, most experts came from divisions, supervisors and administrators. Various activities were distributed to all teacher*. In the academic year 1982-1984, the teachers developed in the latter year was greater than the ones in the former year. The budget supported the programs was from Parents and Teachers Association but most from acadlmic money. The budget supplied for outer development program was more than the one for inner development program. 3. Questionnaire, teachers viewed that the performance and problems on personnel development in the schools on the three processes (process 3 to 5) were in medium. The main, problems were manpower dissatisfactory performant evaluating system, setting program without study the needs of teachers, budget, lack of expert and the teachers did not change their behaviors, etc. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การพัฒนาบุคลากร | en_US |
dc.subject | โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร | en_US |
dc.subject | High schools -- Administration | en_US |
dc.title | การดำเนินงานการพัฒนาครูอาจารย์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ เขตการศึกษา 1 | en_US |
dc.title.alternative | Performance on teaching personnel development of large secondary schools in educational region I | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sureeporn_su_front.pdf | 11.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sureeporn_su_ch1.pdf | 11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sureeporn_su_ch2.pdf | 6.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sureeporn_su_ch3.pdf | 7.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sureeporn_su_ch4.pdf | 7.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sureeporn_su_ch5.pdf | 4.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sureeporn_su_back.pdf | 4.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.