Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47102
Title: ประสิทธิภาพของการลดซีโอดี และสีออกจากน้ำชะมูลฝอยด้วยกระบวนการดูดติดผิว โดยใช้ถ่านกัมมันต์ ถ่านไม้ และถ่านแกลบ
Other Titles: Performance of cod and color removal from landfill leachate by adsorption process using granular activated carbon, charcoal and burnt rice husk
Authors: สัญชวัล อิงคภาคย์
Advisors: ธเรศ ศรีสถิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Thares.s@chula.ac.th
Subjects: น้ำชะขยะ
น้ำเสีย -- การบำบัด -- กระบวนการดูดติดผิว
คาร์บอนกัมมันต์
ถ่าน
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการลดซีโอดีและสีออกจากน้ำชะมูลฝอยด้วยกระบวนการดูดติดผิวโดยใช้ถ่านกัมมันต์ ถ่านไม้ และถ่านแกลบ ทำการศึกษาลักษณะทางกายภาพของสารดูดติดผิว การทดลองแบบแบทซ์โดยการทดสอบไอโซเทอมการดูดผิว และการทดสอบแบบต่อเนื่องศึกษาความสามารถในการดูดติดผิว การทดลองศึกษาความสามารถในการดูดติดผิวของซีโอดีและสีโดยใช้ถังดูดติดผิวแบบแท่งป้อนน้ำเสียแบบไหลลง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.03 เมตร ความสูงถัง 3 เมตร ความสูงชั้นสารดูดผิว 0.3 0.6 0.9 และ 1.2 เมตร ใช้น้ำชะมูลฝอยจริงที่เข้มข้นซีไอดีเริ่มต้น 250, 500, 750, 1,000 มก./ล. และที่ความเข้มข้นซีโอดีเริ่มต้นของน้ำเสียจริง และอัตราภาระบรรทุกทางน้ำ 0.15, 0.3, 0.6 และ 1.2 ม3/ม2 –ซม ผลการทดลองพบว่าถ่านไม้ และถ่านแกลบไม่มีความเป็นไปได้ทางวิศวกรรม เนื่องจากความสามารถในการดูดติดผิวซีโอดีและสีต่ำ ส่วนถ่านกัมมันต์มีความเป็นไปได้ทางวิศวกรรม โดยประสิทธิภาพเริ่มต้นของการลดซีโอดี และสีอยู่ในช่วง 78 – 89 เปอร์เซ็นต์ และ 37 – 96 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ในการทดลองที่ชั้นความสูงถ่านกัมมันต์ 1.2 เมตร อัตราภาระบรรทุกทางน้ำ 0.15 ม3/ม2 –ซม. ความเข้มข้นซีโอดีเริ่มต้น 250 มก./ล. มีความสามารุในการลดซีโอดี และสีสูงสุด โดยมีประสิทธิภาพเริ่มต้นของการลดซีโอดี และสีเท่ากับ 97 เปอร์เซ็นต์ และ 96 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
Other Abstract: This research is a feasibility study in removal of COD and color from leachate by adsorption process using granular activated carbon, charcoal and burnt rice husk. Physical characteristics of adsorbents have been examined, batch test by adsorption isotherm and continuous experiment for adsorption capacity have been performed. Experiment devices for studying performance of COD and color removal consisted of four down-flow columns diameter 0.03 m. at 3 m. height with depth of adsorbents 0.3, 0.6, 0.9 and 1.2 m. Landfill leachate at COD concentration 250, 500, 750, 1000 mg./L. and actual concentration were used at hydraulic loading 0.15, 0.3, 0.6 and 1.2 m3/m2-hr. respectively Results reveal that charcoal and burnt rice husk are not feasible due to low COD and color adsorption capacity. Granular activated carbon is feasible from its initial COD and color reduction ranging from 78-97% and 37-96% respectively. Experiment at 1.2 height of granular activated carbon with hydraulic loading 0.15 m3/m2-hr. and initial COD concentration 250 mg/L. has a maximum performance at COD removal 97% and color removal at 96%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47102
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sanchaval_en_front.pdf7.76 MBAdobe PDFView/Open
Sanchaval_en_ch1.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Sanchaval_en_ch2.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open
Sanchaval_en_ch3.pdf4.9 MBAdobe PDFView/Open
Sanchaval_en_ch4.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open
Sanchaval_en_ch5.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Sanchaval_en_ch6.pdf762.54 kBAdobe PDFView/Open
Sanchaval_en_back.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.