Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47117
Title: การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาครูพี่เลี้ยงวิชาวิทยาศาสตร์ตามหลักการเรียนรู้เป็นทีมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานในโรงเรียนมัธยมศึกษา
Other Titles: Development of strategies for developing mentor in teaching science based on team learning principles to enhance mentoring competencies in secondary schools
Authors: สุพรรณี ชาญประเสริฐ
Advisors: อลิศรา ชูชาติ
ปรีชาญ เดชศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Alisara.C@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ครูพี่เลี้ยง
ครูวิทยาศาสตร์
การเรียนรู้เป็นทีม
สมรรถนะ
Science teachers
Team learning approach in education
Performance
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาครูพี่เลี้ยงวิชาวิทยาศาสตร์ตามหลักการเรียนรู้ เป็นทีมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานในโรงเรียนมัธยมศึกษา และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ กลยุทธ์การพัฒนาครูพี่เลี้ยงวิชาวิทยาศาสตร์ การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1.พัฒนากลยุทธ์การพัฒนา ครูพี่เลี้ยงวิชาวิทยาศาสตร์ตามหลักการเรียนรู้เป็นทีม ระยะที่ 2 การนำกลยุทธ์ไปทดลองใช้เพื่อประเมินประสิทธิภาพโดยทดลองใช้กับครูพี่เลี้ยงจำนวน.8 คน ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 จำนวน 4 โรงเรียน การประเมินประสิทธิภาพของกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นด้วยการประเมินสมรรถนะ ทั้งครูพี่เลี้ยงและครูวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบประเมินสมรรถนะครูพี่เลี้ยงและครูวิทยาศาสตร์ แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานครูวิทยาศาสตร์ แบบสัมภาษณ์ครูพี่เลี้ยงและครูวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.กลยุทธ์การพัฒนาครูพี่เลี้ยงวิชาวิทยาศาสตร์ตามหลักการเรียนรู้เป็นทีมที่พัฒนาขึ้น มี 2 องค์ประกอบ 1) หลักการของกลยุทธ์ คือการเรียนรู้ การปฏิบัติงานและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันระหว่างครูพี่เลี้ยงที่มีศักยภาพสูงกับครูวิทยาศาสตร์ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างสัมพันธภาพ บรรยากาศ และความตระหนักในการพัฒนาวิชาชีพโดยมีการกำหนดเป้าหมายการทำงาน การวางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งติดตามการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 2) กลยุทธ์การพัฒนาครูพี่เลี้ยงประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์ที่ 1 การคัดเลือกครูพี่เลี้ยงโดยการมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูวิทยาศาสตร์ กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาสมรรถนะครูพี่เลี้ยงตามหลักการเรียนรู้เป็นทีม ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ย่อย (1) การศึกษา ด้วยตนเอง (2) การอบรมเชิงปฏิบัติการ (3) การฝึกปฏิบัติงาน (4) ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และกลยุทธ์ที่ 3 การกำกับและติดตามการปฏิบัติงานครูพี่เลี้ยงโดยเน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างครูพี่เลี้ยงและระหว่าง ครูพี่เลี้ยงกับครูวิทยาศาสตร์ด้านการวางแผน และการติดตามการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 2. การประเมินประสิทธิภาพของกลยุทธ์การพัฒนาครูพี่เลี้ยงวิชาวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น 2.1 สมรรถนะครูพี่เลี้ยง จากการประเมินตนเองของครูพี่เลี้ยงพบว่าสมรรถนะหลัก ได้แก่ การสร้าง สัมพันธภาพ การสร้างบรรยากาศ การให้คำปรึกษาและการสอนงาน และการกำกับและติดตามการปฏิบัติงาน มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.00, 44.00 และ 39.50 ตามลำดับ สมรรถนะประจำสายงาน ได้แก่ ด้านหลักสูตรวิทยาศาสตร์ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการวัดผลประเมินผล มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.75, 33.75 และ 13.00 ตามลำดับ และแตกต่างจากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.2สมรรถนะครูวิทยาศาสตร์ จากการประเมินตนเองและการประเมินโดยครูพี่เลี้ยงพบว่า ครูวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะด้านหลักสูตรวิทยาศาสตร์ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.17, 7.06 และ 25.17 และ ร้อยละ 29.50, 28.45 และ 30. 33 ตามลำดับ และแตกต่างจากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purposes of this research were: 1) to develop strategies for developing mentor in teaching science based on team learning principles to enhance mentoring competencies in secondary schools and 2) to evaluate effectiveness of the developed strategies. The processes were divided into 2 phases; phase I: development of the strategies for developing mentor in teaching science and phase II: implementation of the developed strategies to evaluate its effectiveness by experimenting with eight mentors from four large secondary schools of Educational Service Area Office Two. The developed-strategy effectiveness were evaluated by evaluating competencies of both mentors and science teachers using mentor and science teacher assessment forms, science teacher instruction behavior observation forms, and mentor and science teacher interview forms. The collected data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation and t-test. The findings were as follows: 1. The developed strategy for developing mentor in teaching science based on team learning was consisted of two components: 1) The principles of the strategies were learning, working and sharing experiences among high potential mentors and science teachers by focusing on building relationship, comfortable environment and awareness of professional development by having goal determination, learning plan, and monitoring performance in science instructional improvement. 2) The strategies were consisted of 3 main strategies which were 1) Mentor selection: by involvement among administrator, head of academic sector and science teachers; 2) Developing mentor competencies based on team learning principles which had 4 substrategies including (1) self study, (2) workshop, (3) practice, and (4) regular meeting and group discussion; 3) Monitoring mentor by working together among mentors and among mentors and science teachers in planning and monitoring in science instructional improvement. 2. The results of implementing the developed science mentor-developing strategies were: 2.1 Competencies of mentors: From self assessment, it was found that core competencies including building relationship, comfortable environment, guiding and coaching, and monitoring competencies were increased 37.00 %, 44.00 %, and 39.50 %, respectively. Also, functional competencies including science curriculum competencies, learning activity competencies, and evaluation and assessment competencies were increased 29.75 %, 33.75 % and 13.00 %, respectively from pre-development with statistically difference. 2.2 Competencies of science teachers: From self assessment and from mentors assessment, it was found that science teachers had science curriculum competencies, learning activity competencies, and evaluation and assessment competencies were increased 25.17 %, 7.06 % and 25.17 % and 29.50 %, 28.45 % and 30.33 % respectively from pre-development with statistically difference.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47117
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2036
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2036
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supunnee_ch.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.