Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47133
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฏฐา ทองจุล-
dc.contributor.advisorศรินทิพ สุกใส-
dc.contributor.authorศิริพร อุ่นแอบ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2016-01-29T07:15:50Z-
dc.date.available2016-01-29T07:15:50Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47133-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาการนำกากมันสำปะหลังมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกรดแอล-แลกติกโดย Rhizopus oryzae NRRL 395 ในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพแบบเบดสถิต โดยก่อนเข้าสู่กระบวนการหมัก จะต้องนำกากมันไปปรับสภาพและย่อยเพื่อให้ได้เป็นสารละลายซึ่งจะนำไปเป็นแหล่งคาร์บอนในอาหารเลี้ยงเชื้อ โดยเทคนิคทางเคมีกายภาพ กากถูกนำไปปรับสภาพภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง เพื่อทำลายโครงสร้างลิกนินและเฮมิเซลลูโลส ทำให้สามารถย่อยเซลลูโลสและแป้งที่ติดอยู่ได้ง่ายขึ้น ในการปรับสภาพจะศึกษาผลของเวลาที่ใช้ (15-60 นาที) ความเข้มข้นของกากมัน (อัตราส่วนของกากมันแห้งต่อสารละลาย 5-20 เปอร์เซ็นต์) และความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ (0.1-1.0 นอร์มอล) โดยภาวะที่เหมาะสม คือ ใช้กากมัน 20 เปอร์เซ็นต์ นำไปปรับสภาพที่ 121 องศาเซลเซียส ภายใต้ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 15 นาที จากนั้นนำกากมันที่ปรับสภาพไปย่อยต่อด้วยเซลลูเลสและอัลฟาอะไมเลสตามลำดับ โดยปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ ปริมาณเอนไซม์ที่ใช้ (เซลลูเลส: 5.61 และ 33.15 ยูนิตต่อกรัมกากมันแห้งที่ปรับสภาพแล้ว และอัลฟาอะไมเลส: 16.8 และ 33.6 ยูนิตต่อกรัมกากมันแห้งที่ปรับสภาพแล้ว) และเวลาที่ใช้ในการย่อย (เซลลูเลส: 1 และ 6 ชั่วโมง และอัลฟาอะไมเลส: 15 และ 30 นาที) โดยภาวะการย่อยที่เหมาะสมที่สุดใช้เซลลูเลส 33.15 ยูนิตต่อกรัมกากมันแห้งที่ปรับสภาพแล้ว ย่อยนาน 6 ชั่วโมง ต่อด้วยอัลฟาอะไมเลส 16.8 ยูนิตต่อกรัมกากมันแห้งที่ปรับสภาพแล้ว นาน 15 นาที โดยได้น้ำตาลออกมาสูงสุดที่ 0.6 กรัมต่อกรัมกากมันแห้ง คิดเป็นปริมาณน้ำตาลที่ได้ทั้งหมด เท่ากับ 0.541 กรัมต่อกรัมกากแห้ง หลังจากนั้นสารละลายที่ได้ถูกนำไปใช้เป็นแหล่งคาร์บอนในการหมักกรดแอล-แลกติกด้วย R.oryzae ที่ถูกตรึงในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพแบบเบดสถิต โดยได้ความเข้มข้นของกรดแอล-แลกติกสูงสุดที่ 25.41 กรัมต่อลิตร คิดเป็นค่าปริมาณผลผลิตกรดแอล-แลกติก เท่ากับ 48.95% และค่าอัตราการผลิตกรดแอล-แลกติกเท่ากับ 1.12 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง เมื่อเทียบกับการหมักภาวะอื่นๆ จากผลการทดลองแสดงการใช้แหล่งคาร์บอนที่แตกต่างกัน มีผลต่อการผลิตกรดแลกติกของ R.oryzaeen_US
dc.description.abstractalternativeThis study investigated L-lactic acid production from cassava pulp feedstocks by Rhizopus oryzae NRRL 395 in the static bed bioreactor. Prior to fermentation, cassava pulp was pretreated and hydrolyzed to obtain the hydrolysate to be used as the carbon source in the fermentation medium. By physicochemical pretreatment, cassava pulp was pretreated under high temperature and pressure to eliminate lignin and hemicellulose contents; thus, facilitating cellulose and starch hydrolysis later. The effects of pretreatment time (15-60 min), pulp concentration (ratio of dry pulp to solution: 5-20%), and NaOH concentration (0.1-1.0 N) were observed during pretreatment. The optimal pretreatment condition was at 20% w/v pulp concentration, 121℃, and 15 psig for 15 min. After that cellulose and starch in the pretreated pulp were digested by cellulase and α-amylase respectively. During hydrolysis, the effects of enzyme load (cellulase: 5.61 and 33.15 U/g dry pretreated pulp and α-amylase: 16.8 and 33.6 U/g dry pretreated pulp) and digestion time (cellulase: 1 and 6 h and α-amylase: 15 and 30 min) on fermentable sugar recovery were observed. The optimal enzyme hydrolysis condition was at cellulase digestion for 6 h (33.15 U/g dry pretreated pulp) followed by α-amylase digestion (16.8 U/g dry pretreated pulp) for 15 min. The highest fermentable sugar yield of 0.6 g/g dry pulp and sugar recovery yeild of 0.541 g/g dry pulp were achieved under the conditions mentioned above. The hydrolysates obtained were tested as the carbon source during L-lactic acid fermentation. The final lactate concentration of 25.41 g/L, corresponding to the yield of 48.95% and the production rate of 1.12 g/Lh was achieved. Comparison of the other fermentation condition, this result indicated that using of various carbon sources effect to lactic acid production by R.oryzaeen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2058-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพen_US
dc.subjectกรดแล็กติกen_US
dc.subjectBioreactorsen_US
dc.subjectLactic aciden_US
dc.titleการผลิตกรดแอล(+)- แลกติกจากสารละลายที่ได้จากการย่อยกากมันสำปะหลังโดย rhizopus oryzae ที่ถูกตรึงในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพแบบเบดสถิตen_US
dc.title.alternativeProduction of L(+)-lactic acid from cassava pulp hydrolysate by immobilized rhizopus oryzae in a static bed bioreactoren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีชีวภาพen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNuttha.T@Chula.ac.th-
dc.email.advisorSarintip.So@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.2058-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siriporn_ou.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.