Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47146
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสดศรี ไทยทอง-
dc.contributor.advisorธาดา สืบหลินวงศ์-
dc.contributor.authorรุจิรัตน์ ศิลารัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-02-10T08:12:31Z-
dc.date.available2016-02-10T08:12:31Z-
dc.date.issued2526-
dc.identifier.isbn9745626384-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47146-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526en_US
dc.description.abstractการทดลองชักนำเพื่อให้ Trichomonas vaginalis เกิดการดื้อยานั้นทำเพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ของสมมุติฐานที่ว่า ความล้มเหลวในการรักษาโรคทริโคโมนิเอซิสในผู้ป่วยอาจเกิดจากการที่ T. vaginalis สามารถต้านทานหรือดื้อยาที่ใช้รักษาได้ การศึกษาโดยนำ T. vaginalis สายพันธุ์ที่ 18, 23, และ 29 จากห้องปฏิบัติการปรสิตวิทยา ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ละสายพันธุ์จำนวน 1x10⁴ เซลล์ต่อมิลลิลิตร มาเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อ CPLM-NA ซึ่งมียาเมโทรไนดาโซลและทิไนดาโซลขนาดซับลีทัลความเข้มข้น 0.015 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรเป็นระยะเวลา 30 วันติดต่อกัน แล้วเพิ่มความเข้มข้นของยาทั้งสองขึ้นเป็น 0.02 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรอีก 30 วัน รวมเวลาสัมผัสยาทั้งสิ้น 60 วันโดยเปลี่ยนอาหารเลี้ยงเชื้อผสมยาทุก 2 วัน ทดสอบการเปลี่ยนแปลงความไวต่อยาเมโทรไนดาโซลและทิไนดาโซลเมื่อเชื้อปรสิตทั้งสามสายพันธุ์ได้สัมผัสกับยาที่ระยะเวลา 20, 30 50 และ 60 วัน โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมซึ่งถูกเพาะเลี้ยงมาพร้อมกันในอาหารเลี้ยงเชื้อ CPLM-NA ที่ปราศจากยา ผลการทดลองพบว่า T. vaginalis ทั้งสามสายพันธุ์มีระดับความไวต่อยาเมโทรไนดาโซลและทิไนดาโซลลดลงภายหลังจากที่ได้สัมผัสกับยาทั้งสองในขนาดซับลีทับต่อเนื่องกันเป็นเวลา 50 วัน และ 60 วัน สายพันธุ์ที่ 23 มีระดับความไวต่อยาเมโทรไนดาโซลลดลงต่ำกว่าสายพันธุ์ที่ 8, 29 และ กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงเวลาที่เท่ากัน ระดับความไวต่อยาเมโทรไนดาโซลในเชื้อปรสิตทั้งสามสายพันธุ์จะถูกชักนำให้ลดต่ำลงได้มากกว่าระดับความไวต่อยาทิไนดาโซล และการดื้อยาของ T. vaginalis ในการทดลองนี้ไม่เปลี่ยนแปลงระดับความไวต่อยา อยู่ได้นานถึง 2 เดือน ซึ่งเป็นไปได้ว่า T. vaginalis อาจถูกชักนำให้ดื้อยาที่ใช้รักษาได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe induction of Trichomonas vaginalis to become drug resisted experimentally was designed to study a hypothesis that the failure in the treatment of trichomonal patients might due possibly to the acquired drug resistant T. vaginalis. The study was carried out by selecting T. vaginalis clone No. 18,23 and 29 from the Parasitology Laboratory, Department of Biology, Faculty of Science, Chulalongkorn University, each clone with 1x10⁴ cells/millilitre for in vitro culture using CPLM-NA which contained the sublethal dose of metronidazole and tinidazole. The parasites were exposed to 0.015 ug/ml. of the drugs for 30 days then the concentration of both drugs was increased to 0.02 ug/ml. for another 30 days. Subculture was done every two days. Sensitivity to both drugs was tested in three clones at 20, 30, 50 and 60 days after the drug induction, The results showed that the sensitivity of all three clones of T. vaginalis to metronidazole and tinidazole was diminished after the parasites exposure to both drugs for 50 and 60 days long. The decrease in sensitivity to the tested drugs was lowest with statistically significance in the clone No. 23 as compared to No. 18, 29 and the controls. Besides, for the same length of experimental induction time, the decreased in sensitivity to metronidazole and these three clones was easier achieved than to tinidazole and the resistance remained for 2 month. It was then possible to conclude that T. vaginalis was inducible to acquire the drugs resistance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการดื้อยาen_US
dc.subjectทริโคโมนิเอซิสen_US
dc.subjectTrichomonas vaginalisen_US
dc.titleการชักนำให้เกิดการดื้อยาใน Trichomonas vaginalisen_US
dc.title.alternativeInduction of the drug resistance of Trichomonas vaginalisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorTada.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ruchiratana_si_front.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Ruchiratana_si_ch1.pdf703.23 kBAdobe PDFView/Open
Ruchiratana_si_ch2.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Ruchiratana_si_ch3.pdf399.69 kBAdobe PDFView/Open
Ruchiratana_si_ch4.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Ruchiratana_si_ch5.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open
Ruchiratana_si_ch6.pdf736.23 kBAdobe PDFView/Open
Ruchiratana_si_ch7.pdf248.97 kBAdobe PDFView/Open
Ruchiratana_si_back.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.