Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47161
Title: วงจรการเดินทางของพ่อค้าเร่ตามตลาดนัด กรณีศึกษาจังหวัดนครปฐมและพื้นที่ต่อเนื่อง
Other Titles: Travelling pedlar circuit in periodic markets : a case study of Changwat Nakhon Pathom and contiguous areas
Authors: วาณี เรืองดิลกรัตน์
Advisors: ฉัตรชัย พงศ์ประยูร
เนตรนภิศ นาควัชระ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ตลาดนัด -- สถานที่ตั้ง
การขายเร่ -- ไทย -- นครปฐม
ตลาด -- ไทย -- นครปฐม
Peddlers, Peddling -- Thailand -- Nakhon Pathom
Markets -- Thailand -- Nakhon Pathom
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประชากรในชนบทนิยมจับจ่ายสินค้า ในย่านการค้าในท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ที่พักอาศัยของตน ย่านการค้าในท้องถิ่นที่ประชากรนิยมจับจ่ายสินค้าคือตลาดนัด ซึ่งตลาดนัดในพื้นที่หนึ่งๆ มักมีการจัดตั้งหลายแห่ง และมีวันนัดหมายซ้ำซ้อนกันจนสร้างปัญหา ต่อการตัดสินใจเลือกตลาดนัดเพียง 7 แห่ง ใน 7 วันตามระบบปฏิทินทางสุริยคติ ระบบวันในสัปดาห์และเลือกตลาดนัดเพียง 14 แห่งใน 14 วันตามระบบปฏิทิน ทางจันทรคติ เพื่อเดินทางให้ครบ 1 วงจร การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ในการวิเคราะห์พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกรูปแบบวงจรการเดินทางหรือรูปแบบวงจรสังเกตของพ่อค้าเร่ใน 1 รอบวงจรการเดินทาง เพื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบวงจรเหมาะที่สุดได้จากการวิเคราะห์ ความเหมาะสมที่สุดของตลาดนัด ในเรื่อง ขนาด ความสะดวกในการเข้าถึง และทำเลที่ตั้ง ของตลาดนัด 56 แห่ง ในจังหวัดนครปฐมและพื้นที่ต่อเนื่องอีก 3 อำเภอที่อยู่โดยรอบจังหวัดนครปฐม จากการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการกำหนดค่าน้ำหนักคะแนนตามอันดับความสำคัญของตัวแปรต่างๆ ได้รูปแบบวงจรเหมาะที่สุด 2 ระบบ คือ รูปแบบวงจรเหมาะที่สุดระบบวัน และ รูปแบบวงจรเหมาะที่สุดระบบค่ำ เมื่อนำเอารูปแบบวงจรเหมาะที่สุดทั้งสองระบบมาเปรียบเทียบกับรูปแบบวงจรสังเกตที่ได้จากการสัมภาษณ์ จากพ่อค้าเร่ที่เดินทางตามตลาดนักระบบวัน 28 คน และพ่อค้าเร่ที่เดินทางตามตลาดนัดระบบค่ำ 22 คน ด้วยการทดสอบแบบไค-สแควร์ และการทดสอบค่าซี ปรากฏผลการศึกษาว่า "วงจรการเดินทางของพ่อค้าเร่ไม่เป็นไปตามวงจรเหมาะที่สุด" การศึกษาครั้งนี้จึงไม่เป็นตามสมมติฐาน ทั้งนี้เพราะการตัดสินใจเลือกวงจรการเดินทางของพ่อค้าเร่ มีองค์ประกอบด้าน ระยะทาง ระยะเวลา เส้นทางคมนาคม ชนิดสินค้าที่ขาย และการเดินทางเป็นกลุ่มตามคำชักชวนของเพื่อนร่วมอาชีพเดียวกัน เข้ามาร่วมด้วย นอกจากนี้การศึกษาครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างทำเลที่ตั้งตารางเวลานัดหมายและการกระจายทางพื้นที่ของตลาดนัด การเปลี่ยนแปลงจากตลาดนัดไปสู่ตลาดถาวร เมื่อชุมชนขยายใหญ่ขึ้นและอิทธิพลทางเศรษฐกิจที่ผลต่อขนาดตลาดนัด
Other Abstract: The rural people prefer shopping in the markets near their dwelling places, these being the periodic markets which spread over many locations. They have concurrent dates of appointment that have created problems to the decision of selecting seven periodic markets on seven days of the solar-system calendar or 14 periodic markets on days of the lunar system calendar to complete the travelling circuit. This study aims at analyzing the behavioral decision either on the model of travelling circuit, or that of the pedlar's observed circuit in one travelling circuit so as to compare with the most appropriate model of circuit. The circuit was obtained from the analysis of the most suitable periodic market in respect of size, accessibility and the locations of 56 periodic markets in Nakhon Pathom Province and contiguous districts surrounding Nakhon Pathom Province. From the collection and the analysis of data by scores weight values in accordance with the order of significance of the various factors, two most appropriate models of circuit are discovered, i.e., the weekday system and the lunar-day system. When the two most appropriate models of circuit are compared with the model of observed circuit obtained from the interview of 28 travelling pedlars of the weekday system and 22 travelling pedlars of lunar-day system by means of X²-Square Test and Z-Test, it was found that "the travelling circuit of the pedlars was not in agreement with the optimum circuit." This study therefore rejected the hypothesis, because the pedlar's decision to choose a travelling circuit also involves factors of distance, period of time, communication, the kind of goods to sell and group travelling as persuaded by fellows of the same occupation. Furthermore, this study reveals the relationship among the location, scheduled time and the space expansion of the periodic markets, the eventual change from the periodic markets to permanent markets, when the communities become larger and the economic influence exercises upon the size of the periodic markets.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47161
ISBN: 9745684643
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vanee_rn_front.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open
Vanee_rn_ch1.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Vanee_rn_ch2.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Vanee_rn_ch3.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open
Vanee_rn_ch4.pdf5.1 MBAdobe PDFView/Open
Vanee_rn_ch5.pdf6.47 MBAdobe PDFView/Open
Vanee_rn_ch6.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Vanee_rn_back.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.