Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47168
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความสอดคล้องระหว่างตัวตนในอุดมคติและตัวตนที่แท้จริง การระบุตัวตนของตราสินค้า ลักษณะแบบปัจเจกนิยม ความพึงพอใจของผู้บริโภคและความภักดีต่อตราสินค้า
Other Titles: Relationships among self-ideal self congruence, brand identification, individualism, consumer satisfaction, and brand loyalty
Authors: นนทกร ตันติวัตนะ
เปมิกา เทพวรชัย
พิชชา ติลกานนท์
Advisors: หยกฟ้า อิศรานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: yokfah.i@chula.ac.th
Subjects: พฤติกรรมผู้บริโภค
ความภักดีของลูกค้า
ความพอใจของผู้บริโภค
ชื่อตราผลิตภัณฑ์
ปัจเจกภาพ
Consumer behavior
Customer loyalty
Consumer satisfaction
Brand name products
Individuality
Issue Date: 2554
Publisher: คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสอดคล้องระหว่างตัวตนในอุดมคติและตัวตนที่แท้จริง การระบุตัวตนของตราสินค้า ลักษณะแบบปัจเจกนิยม ความพึงพอใจของผู้บริโภค และความภักดีต่อตราสินค้า กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตระดับชั้นปริญญาตรี ทั้งหมดจำนวน 266 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) มาตรวัดความสอดคล้องระหว่างตัวตนในอุดมคติและตัวตนที่แท้จริง 2) มาตรวัดความพึงพอใจของผู้บริโภค 3) มาตรวัดความภักดีต่อตราสินค้า 4) มาตรวัดการระบุตัวตนของตราสินค้า 5) มาตรวัดปัจเจกนิยม ผลการวิจัยพบว่า การระบุตัวตนของสินค้าต่อสินค้าที่กำหนดให้ มีสหสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความสอดคล้องระหว่างตัวตนในอุดมคติและตัวตนที่แท้จริงหลังจากใช้สินค้าที่กำหนด มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความพึงพอใจของผู้บริโภคมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับความภักดีต่อตราสินค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การระบุตัวตนของสินค้าต่อสินค้าที่กำหนดให้ สามารถทำนายความภักดีต่อตราสินค้าได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีความพึงพอใจของผู้บริโภคเป็นตัวแปรส่งผ่าน ส่วนความสอดคล้องระหว่างตัวตนในอุดมคติและตัวตนที่แท้จริงหลังจากใช้สินค้าที่กำหนด ไม่สามารถทำนายความภักดีต่อตราสินค้าได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีความพึงพอใจของผู้บริโภคเป็นตัวแปรส่งผ่าน ความพึงพอใจของผู้บริโภค สามารถทำนายความภักดีต่อตราสินค้าได้ ในผู้ที่มีความเป็นปัจเจกนิยมสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of this research study was to examine the relationships among self-ideal, self congruence, brand identification, individualism, consumer satisfaction, and brand Loyalty. The samples were 266 undergraduate students. The measurement composes of 1) Self-ideal self congruence scale 2) Brand Identification scale 3) Individualism scale 4) Consumer satisfaction scale 5) Brand Loyalty scale Results indicated that : Brand Identification was positively correlated with consumer satisfaction (p < .01). Self-ideal self congruence was positively correlated with consumer satisfaction (p < .01). Consumer satisfaction was positively correlated with brand loyalty (p < .01). Consumer satisfaction had mediating effect on brand Identification in predicting brand loyalty ( p < .001) while the mediating effect of self-ideal self congruence was not found. Consumer satisfaction could predict brand loyalty in people with high-individualism (p < .01).
Description: โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554
A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2011
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47168
Type: Senior Project
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nontakorn_ta.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.