Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47187
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบห้าองค์ประกอบและการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
Other Titles: The Relationship between five-factor personality and self-esteem among overweight individuals
Authors: ภิญญู อุยะนันทน์
ทิพย์สุดา แต่งวัฒนานุกูล
เพ็ญนภา ประยงค์ทรัพย์
Advisors: อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: apitchaya.c@chula.ac.th
Subjects: บุคลิกภาพ
ความนับถือตนเองในวัยรุ่น
บุคคลน้ำหนักเกิน
Personality
Self-esteem in adolescence
Overweight persons
Issue Date: 2554
Publisher: คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพแบบต่างๆ กับการเห็นคุณค่าในตนเองของวัยรุ่นที่มีนํ้าหนักเกินมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิต นักศึกษาผู้มีนํ้าหนักเกินมาตรฐานและนํ้าหนักในระดับอ้วนและกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจำนวน 152 คน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามดัชนีมวลกาย (BMI) มาตรวัดบุคลิกภาพแบบห้าองค์ประกอบ และมาตรวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง ใช้การวิเคราะห์ด้วยการทดสอบหาค่าทีแบบอิสระ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ที่มีนํ้าหนักเกินมาตรฐานเพศหญิงมีจะมีการเห็นคุณค่าในตนเองไม่ตํ่ากว่าผู้ที่มีนํ้าหนักเกินมาตรฐานเพศชาย (t = 1.498, p > .05) 2. บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ด้านการเปิดรับประสบการณ์ มีสหสัมพันธทางบวกกับการเห็นคุณค่าในตนเอง ในผู้ที่มีนํ้าหนักเกินมาตรฐาน (r = .333, p < .01) 3.บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ด้านการเปิดเผยตนเอง มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับการเห็นคุณค่าในตนเอง ในผู้ที่มีนํ้าหนักเกินมาตรฐาน (r = .409, p < .01) 4. บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ด้านการมีจิตสำนึก และบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ด้านความไม่มั่นคงทางอารมณ์ ร่วมกันทำนายการเห็นคุณค่าในตนเองได้ร้อยละ 43.30
Other Abstract: The purpose of this research was to study the relationship between five-factor personality and self-esteem among overweight individuals. Data were collected from 152 overweight students from universities. The research instruments were Body Mass Index, Five-factor personality scale and Self-esteem scale. Data were analyzed using Independent t-test , Pearson’s correlation coefficient and Multiple regression. Results are as follows: 1. Self-esteem of overweight female is not significantly lower than Self-esteem of overweight male (t = 1.498, p > .05) 2. Openness to Experience has a positive correlation with self-esteem. (r =.333, p < .01) 3. Extraversion has a positive correlation with self-esteem. (r = .409 , p < .01) 4.Conscientciousness and Neuroticism be combined in order to predict self-esteem and can explain the variance in the variation of the procrastination 43.30 %
Description: โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554
A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2011
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47187
Type: Senior Project
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
peenyoul_au.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.