Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47235
Title: การเปรียบเทียบระงับคดีตามกฎหมายศุลกากร
Other Titles: Settlement of criminal cases under Customs Law
Authors: ศศิน ปงรังษี
Advisors: อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ
มานะ หลักทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Apirat.P@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: กฎหมายศุลกากร
Customs law
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเปรียบเทียบระงับคดีตามกฎหมายศุลกากรเป็นมาตรการแทนการดำเนินคดีอาญาที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมเนื่องจากเป็นมาตรการที่แก้ไขความบกพร่องของกระบวนยุติธรรมตามแบบพิธีและสอดคล้องกับทฤษฎีการลงโทษรวมทั้งทำให้คดีเสร็จสิ้นไปรวดเร็วเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามกระบวนการดังกล่าวมีปัญหาอยู่หลายประการทั้งในด้านบทบัญญัติของกฎหมายและในทางปฏิบัติ กล่าวคือปัญหาเกี่ยวกับองค์ประกอบหรือหลักเกณฑ์ที่ทำให้การเปรียบเทียบระงับคดีมีผลสมบูรณ์, ขอบเขตอำนาจของอธิบดีและคณะกรรมการ, การเปรียบเทียบระงับคดีกรณีผู้กระทำผิดหลายคนและปัญหาเกี่ยวกับผลของการเปรียบเทียบระงับคดี ซึ่งเมื่อได้ศึกษาวิจัยปัญหาดังกล่าว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอว่าในความเป็นจริงแล้ว อธิบดีสามารถมอบอำนาจให้บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนได้ ทั้งนี้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 32 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2534 ส่วนอำนาจของคณะกรรมการเปรียบเทียบนั้นโดยเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ววิทยานิพนธ์ฉบับนี้พบว่าคณะกรรมการสามารถใช้อำนาจเหมือนเช่นอธิบดีได้ หากแต่การเปรียบเทียบระงับคดีต้องอยู่ในกรอบของกฎหมายและภายในระยะเวลาอันจำกัด กล่าวคือถ้าอยู่ในขั้นตอนของศาลแล้วไม่ควรเปรียบเทียบระงับคดีได้และในกรณีผู้กระทำผิดหลายคนน่าจะปรับผู้กระทำผิดเรียงตัวได้ และหากการกระทำเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นด้วยการที่จะเปรียบเทียบระงับคดีหรือไม่ หรือความผิดจะระงับหรือไม่ต้องคำนึงถึงหลักกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทด้วย
Other Abstract: Settlement of cases under Customs Law is among other things, the efficient and suitable measure to solve the deficiency of the present justice system, inconcert to theories of punishment, and also to expedite justice process useful to international trading. However, this measure causes number of problems, both from legal and practical aspect. These problems are factors which concern the legal issue of settlement, power of Director – General Customs and the settlement committee, the settlement in case of several offenders, and result of the settlement. This thesis found that, in fact, Director-General can delegate his authority to other officers under section 32 and 38 of Administrative Organization of The State Act B.E. 2534. The Settlement Committee, also can employ Director-General authority. The settlement should take place within the limitation of law and time, in the other words, the settlement can not be made during trial. In case there are several offenders, the punishment of fine on each offender should be imposed individually. And if the criminal committed other offenses, the rules of one and the same act is an offence violating several provisions of the law should be employed to answer whether settlement may be made. This thesis proposes certain changes in legal provisions accordingly.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47235
ISBN: 9745816027
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasin_po_front.pdf999.18 kBAdobe PDFView/Open
Sasin_po_ch1.pdf928.19 kBAdobe PDFView/Open
Sasin_po_ch2.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open
Sasin_po_ch3.pdf5.37 MBAdobe PDFView/Open
Sasin_po_ch4.pdf7.08 MBAdobe PDFView/Open
Sasin_po_ch5.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open
Sasin_po_back.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.