Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47303
Title: การวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อ ของวิทยากรภายในของรัฐวิสาหกิจ
Other Titles: An analysis of problems and suggested solutions concerning media production and utilization of in-house trainers of public enterprises
Authors: วารุณี ทองอาญา
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Onjaree.N@Chula.ac.th
Subjects: การฝึกอบรม
วิทยากร
สื่อการสอน
Training
Lecturers
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อในการฝึกอบรมของวิทยากรภายในรัฐวิสากิจ 13 แห่ง ประชากรผู้ตอบแบบสอบถาม คือ วิทยากรภายในหน่วยฝึกอบรมจำนวน 213 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ คือ ผู้อำนวยการหรือหัวหน้าหน่วยฝึกอบรม จำนวน 9 คน วิทยากรภายในหน่วยฝึกอบรมจำนวน 9 คน เจ้าหน้าที่โสตทัศนูปกรณ์จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาด้านวิทยากรอยู่ในระดับมาก 4 อันดับ คือ ขาดประสบการณ์ในการใช้เครื่องมือในการผลิตสื่อ ขาดทักษะในการใช้เครื่องมือในการผลิตสื่อ ไม่ทราบข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคใหม่ๆ ในการผลิตสื่อ ไม่มีเวลาผลิตสื่อเนื่องจากมีงานอื่นมาก 2. ปัญหาด้านบุคลากรอยู่ในระดับปานกลาง 4 อันดับ คือ เจ้าหน้าที่โสตทัศนูปกรณ์ไม่เพียงพอต่อการใช้บริการในการผลิตการใช้สื่อ เจ้าหน้าที่โสตทัศนูปกรณ์ไม่ให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือในการผลิตสื่อ 3. ปัญหาด้านหน่วยงานอยู่ในระดับปานกลาง 5 อันดับ ซึ่ง 3 อันดับแรก คือ หน่วยโสตทัศนูปกรณ์ไม่มีสื่อสมัยใหม่ที่เหมาะสม หน่วยโสตทัศนูปกรณ์ไม่จัดซื้อสื่อสมัยใหม่ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้ให้ดียิ่งขึ้น หน่วยโสตทัศนูปกรณ์มีสื่อให้ยืมใช้ไม่เพียงพอกับคว้าองการ 4. ปัญหาด้านสถานที่และด้านสื่อที่มีอยู่ในระดับปานกลาง 6 อันดับ ซึ่ง 3 อันดับแรก คือ ไม่มีสถานที่ที่เหมาะสมในการผลิตและเก็บสื่อที่ผลิตอย่างเป็นระบบ สื่อที่มีอยู่แล้วขาดการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น แนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ คือ 1. ด้านวิทยากร คือ มีการอบรมวิทยากรให้เกิดความรู้ทักษะและประสบการณ์ในการใช้เครื่องมือในการผลิตสื่อ มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคใหม่ๆ ในการผลิตสื่อ 2.ด้านบุคลกากร คือ มีการประสานงานร่วมกันระหว่างวิทยากรและเจ้าหน้าที่โสตทัศนูปกรณ์ 3. ด้านหน่วยงาน คือ เจ้าหน้าที่โสตทัศนูปกรณ์ชี้แจงให้ผู้บริหารเห็นถึงความจำเป็น ความสำคัญ คุณภาพ และประสิทธิภาพในการทำงานของสื่อสมัยใหม่ที่จะอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อในการฝึกอบรม 4. ด้านสถานที่และด้านสื่อที่มีอยู่แล้ว คือ มีการวางแผนในการเก็บสื่ออย่างเป็นระบบ มีการประสานงานระหว่างวิทยากรและเจ้าหน้าที่โสตทัศนูปกรณ์ในการพัฒนาสื่อที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น
Other Abstract: The purposes of this research were to analyze problems and to find solutions to the problem concerning media production and utilization of in house trainers of public enterprises To identify problems, a survey instrument was sent to 213 in-house trainers at 13 public enterprises and to find solution, nine of in-house trainers, audio-visual practitioners and heads of training departments were interviewed. Percentages, means, standard deviations and content analysis were used to analyze the data. The study showed that : 1. There were four problems focusing on trainers that received high ratings: lack of experiences and lack of skills in utilizing equipments to produce media; not knowing of modern technology; and not producing medal because of work load. 2. The four moderate rated problems concerning AV personnels were; insufficient of AV personnels for media production and utilization service; no AV personnel available to provide for consultative and production services. 3. The first three moderate rated problems concerning AV center were: non existent of modern media; no essential media being purchased and insufficient quantity of media. 4. The first three moderate rated problems focusing on physical facilities and existing media were; no rooms have been modified for use of media production and media storage; and no media were developed. Solutions to the above problems included: 1. Conduct a training workshop for trainers and disseminate information concerning media production techniques. 2 provide cooperation among trainers and AV personnels. 3. AV personnels should consult with administrators in order to make provisions for the use of media in training and production. 4. Plan for media storage systems and promote cooperation among trainers and AV personnels.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47303
ISBN: 9745820857
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Varunee_th_front.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Varunee_th_ch1.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Varunee_th_ch2.pdf7.72 MBAdobe PDFView/Open
Varunee_th_ch3.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Varunee_th_ch4.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open
Varunee_th_ch5.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open
Varunee_th_back.pdf4.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.