Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47331
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จารุวรรณ ลิมปเสนีย์ | |
dc.contributor.author | สมพงษ์ จิรบันดาลสุข | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2016-03-20T09:25:25Z | |
dc.date.available | 2016-03-20T09:25:25Z | |
dc.date.issued | 2529 | |
dc.identifier.isbn | 9745668397 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47331 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en_US |
dc.description.abstract | กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์รวมความเจริญของประเทศ คือเป็นศูนย์กลางของการบริหารประเทศ การค้า การศึกษา อุตสาหกรรม สาธารณูปการและสาธารณูปโภค สร้างความเลื่อมล้ำต่ำสูงระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯกับเมืองอื่น ๆ ทั่วประเทศ จึงเป็นปัจจัยดึงดูดให้เกิดการอพยพเข้ามาหางานทำในกรุงเทพฯ ผลคือกรุงเทพฯ มีการเติบโตและขยายเมืองออกไปอย่างรวดเร็วและปราศจากากรวางแผนควบคุม ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่ภาวะแวดล้อม เกิดการใช้ที่ดินอย่างขาดประสิทธิภาพและไม่ประหยัด แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) จึงได้วางแผนการพัฒนาเมืองหลักในภูมิภาค เมื่อรองรับแรงงานชนบทที่จะอพยพเข้ากรุงเทพฯ และวางมาตรการชลอ ความเติบโตของกรุงเทพฯ มาตรการประการหนึ่งคือ การกำหนดให้มีพื้นที่ริ้วสีเขียว(Green belt) ล้อมรอบกลางเมืองกรุงเทพฯ มิให้ขยายตัวออกไปรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรที่อุดมสมบูรณ์ แต่ผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะที่จะเป็นเครื่องมือในการบังคับใช้มาตรการดังกล่าว ยังไม่สามารถออกใช้ได้ พอดีกับการเกิดปัญหาน้ำท่วมหนักในพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2513 จึงได้มีความคิดที่จะจัดให้มีพื้นที่ริ้วสีเขียวขึ้น เพื่อเป็นแนวทางระบายน้ำออกสู่ทะเล โดยกำหนดให้พื้นที่ริ้วสีเขียวอยู่ในพื้นที่บางส่วนของเขตมีนบุรี หนองจอก และลาดกระบัง เนื้อที่งบประมาณ 152 ตารางกิโลเมตร โดยตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร มีสาระสำคัญห้ามปลูกสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารทุกชนิด ยกเว้น อาคารของทางราชการที่พักอาศัยประเภทบ้านเดี่ยว ยุ้งข้าว และระบบสาธารณูปโภคบางอย่าง และได้ดำเนินการตามโครงการป้องกันน้ำท่วม โดยการสร้างคันกั้นน้ำ ป้องกันมิให้น้ำทุ่งไหลเข้ามาในเขตเมืองกรุงเทพมหานคร ขุดลอกคลอง และขุดคลองใหม่ เพื่อช่วยระบายน้ำออสู่ทะเล มิให้ท่วมพื้นที่เกษตรกรเสียหาย และสร้างอาคารบังคับน้ำ เพื่อควบคุมมิให้น้ำจากทุ่งไหลเข้าท่วมพื้นที่ชุมชน มาตรการดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ใกล้เคียงและแก่ตัวพื้นที่ริ้วสีเขียวเอง ในทางกายภาพคาดว่าจะเกิดผลกระทบหลายประการที่สำคัญคือ จะทำให้การใช้ที่ดินบางประเภทที่ถูกห้ามในพื้นที่ริ้วสีเขียว กระโดดข้ามไปเกิดขึ้นในพื้นที่หลังริ้วสีเขียว การใช้ที่ดินเพื่ออยู่อาศัยจะขยายตัวเข้าไปในพื้นที่ริ้วสีเขียวในระยะเวลาต่อไป เนื่องจากไม่มีข้อห้ามสร้างอาคารที่อยู่อาศัย และพื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพในการขยายตัวของการใช้ที่ดินค่อนข้างสูง ด้านเศรษฐกิจ คาดว่าจะทำให้ราคาที่ดินหน้าพื้นที่ริ้วสีเขียวแพงขึ้นในอัตราที่สูงขึ้น โดยพื้นที่หลังริ้วสีเขียวก็จะมีลักษณะแนวโน้มเหมือนกัน แต่ราคาที่ดินในพื้นที่ริ้วสีเขียว จะเพิ่มในอัตราที่ลดลง และผลกระทบนี้รวมกับผลกระทบทางกายภาพจะทำให้รายรับที่แต่ละสำนักงานเขตจัดเก็บในแต่ละปีจะขยายตัวในอัตราที่ต่ำลง แต่งบประมาณรายจ่ายกลับจะต้องเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าในอดีต เนื่องจากจะต้องใช้จ่ายในโครงการป้องกันน้ำท่วมโดยสม่ำเสมอ ผลกระทบด้านต่าง ๆ นี้จะส่งผลให้วัตถุประสงค์ในการกำหนดพื้นที่ริ้วสีเขียวเพิ่มสูงขึ้นมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่จะรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคตและที่สำคัญ คือ ทัศนคติที่ไม่ดีของประชาชนต่อนโยบายพื้นที่ริ้วสีเขียวจะเพิ่มขึ้น ผลกระทบด้านต่าง ๆ นี้จะส่งผลวัตถุประสงค์ในการกำหนดพื้นที่ริ้วสีเขียวไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากชุมชนจะไม่หยุดอยู่เพียงหน้าแนวพื้นที่ริ้วสีเขียว แต่จะขยายเข้าไปในรูปของหมู่บ้านจัดสรร และการใช้ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมจะกระโดดข้ามไปเกิดขึ้นหลักแนวริ้วสีเขียว วัตถุประสงค์เพื่อชะลอการเติบโตของเมืองจึงไม่ประสบผลสำเร็จและการขยายตัวของชุมชนในพื้นที่ริ้วสีเขียว ก็จะเพิ่มสิ่งก่อสร้างซึ่งขัดขวางการระบายน้ำตามโครงการป้องกันน้ำท่วม ผลจากการคาดการผลกระทบดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะมาตากรเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการขยายเขตพื้นที่ริ้วสีเขียวออกไปจดสุดเขตกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ที่มีศักยภาพการรองรับการขยายตัวของพื้นที่ก่อสร้าง (Built Up Area) พร้อมกับการเพิ่มมาตรการห้ามก่อสร้างอาคาร โดยอาศัยฐานจาก พรบ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งให้อำนาจในการกำหนดรายละเอียดได้มากกว่า นอกจากนี้ยังต้องมีมาตรการเสริมเพื่อลดความเสียเปรียบเชิงเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่ริ้วสีเขียว เช่น การลดหรืองดภาษีบางอย่าง การสนับสนุนแก่เกษตรกร การผ่อนผันกิจกรรมบางอย่างที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง แต่ไม่เป็นอุปสรรคต่อวัตถุประสงค์ของพื้นที่ริ้วสีเขียว เช่น การทำบ่อตกปลา หรือสถานที่เล่นกีฬาทางน้ำ การเสริมมาตรการ ในการระบายน้ำเพื่อมิให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังจนทำให้ผลิตผลทางเกษตรเสียหาย และการดำเนินการวางแผนการพัฒนาพื้นที่ โดยใช้นโยบายการพัฒนาแบบมีหลายศูนย์กลาง เพื่อควบคุมการใช้ที่ดินแบบเมืองให้อยู่แต่ภายในศูนย์ชุมชนให้สอดคล้องกับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.description.abstractalternative | Bangkok Metropolis is the growth center of the country. It is the center of administration commercial, education, industry and public services which creates great differences between Bangkok and other provinces, as a result Bangkok has various pull factors for migration, and so, it gets rapid expansion without control or any planning that deteriorate urban environment, including inefficient and uneconomic landuse. The Fifth National Economic and Social development plan (2525-2529 B.E.) proposed the Regional Growth Point Development Planning in order to prevent rural migration and decrease the growth of Bangkok itself. One of the strategy is to block Bangkok Metropolis area by Green Belt to protect the rich agricultural area. However, the Comprehensive and Specific Plan which will be the tool of control is still unusable and at that time there was flood at the East of Bangkok in 2523 B.E. , so the idea of Green Belt has been proposed to be a strategy to push water out to the sea. The proposed areas are some parts of Meen Buri, NongChork and Lardkrabang District of 152 Sq.km. area by the Bangkok Motropolis Municipal Regulation. The law’s essence is to forbid construction, adjust or change every kind of building except the Government building, single resident, farmhouse and some infrastructure. The flood protection project has been operated by constructing the small dam to prevent flood over Bangkok area, digging the canal and digging new canals. As these construction will prevent flood, over agricultural area and the community zone also. Such measures surely cause effect on the adjacent area and on the Green Belt area itselt. Physically, the important effect is that some forbidden landuse in the Green Belt area will spread to the area far behind the Green Belt area, and the residential area will expand to the Green Belt area afterwards because there is no significant forbid for residential building and it also has high potential for landuse expansion. Economically, it has been expected that the land price will increase, especially, at the front and the back of the Green Belt area, except in the Green Belt area itself which will have trend to decrease. As the result of these effects, the District will get less revenue which expenditure will increase for the flood protection project will consume continuously expenditure. Socially, it has been expected that social welfare at the front of the Green Belt area will be needed more because of increasing population. The other thing is that the increasing bad attitude of the people towarde the Green Belt Policy. The above-mentioned impacts will probably cause failure to the Green Belt area Policy, for community can be expanded by the real estate while the industrial area will be spreaded to the back of the Green Belt. Objectives to decelerate the over growing Bangkok may hot succeed and community area in the Green Belt area will be constraint of the flood protection project. The research has proposed some measures to solve such problems by expanding the Green Belt area to meet at the borderline of Bangkok, covering the high potential area for the Built-Up Area. In addition, building construction has been proposed to be forbidden by the 2518 B.E. City Planning Act. Moreover, there should have a support measure to reduce the economic disadvantage of the people in the Green Belt area, for example reduction some taxes, support the farmers, admit some activity which provide high benefit but not object to the main objective of the Green Belt, i.e., fishing spot or water playground, support measure for water drainage to protect flood on the farm and measure for development planning by the multi-nuclei policy to control urban landuse within central area which is in accordance with the Bangkok comprehensive plan. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ผังเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ | en_US |
dc.subject | การใช้ที่ดินในเมือง | en_US |
dc.subject | เมือง -- การเจริญเติบโต | en_US |
dc.subject | Land use, Urban | en_US |
dc.subject | City planning -- Thailand -- Bangkok | en_US |
dc.subject | Cities and towns -- Growth | en_US |
dc.title | การคาดการผลกระทบจากการกำหนดพื้นที่ริ้วสีเขียว : บริเวณพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | A forecast of the impact of the greenbelt establishment on the eastern part of the Bangkok metropolis | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การวางผังเมือง | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sompong_chi_front.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_chi_ch1.pdf | 702.45 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_chi_ch2.pdf | 842.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_chi_ch3.pdf | 15.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_chi_ch4.pdf | 1.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_chi_ch5.pdf | 6.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_chi_ch6.pdf | 4.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_chi_ch7.pdf | 1.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_chi_back.pdf | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.