Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47337
Title: บทบาทของ "บวร" (บ้าน วัด โรงเรียน) ในการพัฒนาชุมชน : ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านโหรา อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
Other Titles: The roles of Borvorn (home temple and school) in community development : a case study of Ban Hora At Samat District, Roi Et Province
Authors: สุริยน จันทรนคร
Advisors: งามพิศ สัตย์สงวน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Ngampit.S@Chula.ac.th
Subjects: การพัฒนาชุมชน -- ไทย -- ร้อยเอ็ด
ครอบครัว
เครือญาติ
ความเชื่อ
พุทธศาสนากับการพัฒนาชุมชน
ชุมชนกับโรงเรียน
บ้านโหรา (ร้อยเอ็ด) -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาถึงบทบาทของ “บวร” (บ้าน วัด และโรงเรียน) ในการพัฒนาชุมชนหมู่บ้านโหรา จังหวัดร้อยเอ็ด การศึกษาวิจัยเรื่อง “บวร” ดังกล่าว เน้นบทบาทของสถาบันครอบครัวและเครือญาติ สถาบันศาสนาและความเชื่อ และสถาบันการศึกษาในการพัฒนาหมู่บ้านโหราด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยสนามทางมานุษยวิทยา โดยมีเทคนิควิจัยสำคัญคือ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ผู้ให้ข่าวสำคัญ การสำรวจสิ่งแวดล้อมชุมชน การสำรวจประชากร และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก สมมติฐานของการวิจัยมีดังนี้ :- 1. สถาบันครอบครัวและเครือญาติ สถาบันศาสนาและความเชื่อและสถาบันการศึกษามีบทบาทในการพัฒนาด้านการศึกษา 2. สถาบันครอบครัวและเครือญาติ สถาบันศาสนาและความเชื่อและสถาบันการศึกษามีบทบาทในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ 3. สถาบันครอบครัวและเครือญาติ สถาบันศาสนาและความเชื่อและสถาบันการศึกษามีบทบาทในการพัฒนาด้านสังคม ผลการวิจัยพบว่า ทุกข้อเป็นไปตามสมมติฐาน แต่มีระดับแตกต่างกัน กล่าวคือ สถาบันนครอบครัวและเครือญาติมีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาหมู่บ้านโหราทั้งทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และด้านสังคม ขณะที่สถาบันศาสนาและความเชื่อมีบทบาทน้อยและสถาบันการศึกษามีบทบาทน้อยมากในการพัฒนาหมู่บ้านโหรา นอกจากนี้ผลการวิจัยยังบ่งชี้ว่า สถาบันครอบครัวและเครือญาติ สถาบันศาสนาและความเชื่อและสถาบันการศึกษามีความสัมพันธ์กันในการพัฒนาชุมชน แต่สถาบันครอบครัวและเครือญาติมีบทบาทมากที่สุดในการพัฒนาชุมชนของหมู่บ้านโหราแห่งนี้
Other Abstract: The purpose of this research is to study the roles of Borvorn (Home, Temple and School) in community development in Ban Hora, Roi Et Province. This will be achieved by emphasizing the roles of family, religious and educational institutions in educational, economic and social development. This research uses anthropological field work the research techniques of participant observation. key-informant interviews. Ecological mapping, field censuses and in-depth interviews. The hypothesis of this research are the following: 1. Family, religious and educational institutions play roles in educational development. 2. Family, religious and educational institutions play roles in economic development. 3. Family, religious and educational institutions play roles in social development. The findings of this research have demonstrated that each items is in accord with the hypothesis, and the family institution has the greatest roles in educational, economic and social development in Ban Hora. Whereas the religious institutions have lesser roles and educational institution have the least roles in those three areas of development. Apart from this, the research has further demonstrated that family, religious and educational institutions have a relationship to community development, but the institution of the family has the greatest role in community development in this village.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47337
ISBN: 9745845175
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suriyon_ch_front.pdf5.42 MBAdobe PDFView/Open
Suriyon_ch_ch1.pdf16.02 MBAdobe PDFView/Open
Suriyon_ch_ch2.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open
Suriyon_ch_ch3.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open
Suriyon_ch_ch4.pdf5.07 MBAdobe PDFView/Open
Suriyon_ch_ch5.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
Suriyon_ch_back.pdf6.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.