Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47356
Title: การเปรียบเทียบความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย กับความผิดฐานฉ้อโกง
Other Titles: Comparative Study of Larceny by Trick and Fraud Offence
Authors: สุรวงศ์ วรรณปักษ์
Advisors: ชาญวิทย์ ยอดมณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ลักทรัพย์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ความผิดต่อทรัพย์
ความผิดฐานฉ้อโกง
กฎหมายอาญา
Larceny -- Law and legislation
Offenses against property
Fraud
Criminal law
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้กลอุบายกับความผิดฐานฉ้อโกงในประเทศต่าง ๆ พบว่าความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้กลอุบายก็พัฒนามาจากความผิดฐานลักทรัพย์นั่นเอง เพียงแต่มีการใช้อุบายหลอกลวงเข้ามาประกอบเพื่อสามารถทำให้ความผิดฐานลักทรัพย์ที่ดำเนินการมาเป็นชั้น ๆ ประสบความสำเร็จ ในขณะที่การหลอกลวงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในความผิดฐานฉ้อโกง หากขาดองค์ประกอบข้อนี้ก็ไม่สามารถจะลงโทษในความผิดฐานฉ้อโกงได้เลย ในกลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายในระบบคอมมอนลอว์นั้นได้กำหนดความผิดอาญาฐานลักทรัพย์โดยใช้กลอุบายไว้ เนื่องจากเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นภัยอันตรายต่อทรัพย์สินส่วนบุคคลและต่อสังคมส่วนรวมด้วย ส่วนในกลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายระบบประมวลส่วนมากได้บัญญัติความผิดฐานฉ้อโกงไว้โดยใช้ถ้อยคำกลางๆ ว่า หลอกลวง และความผิดฐานลักทรัพย์ก็บัญญัติไว้ด้วย แต่มิได้บัญญัติความผิดฐานลักทรัพย์โดย ใช้กลอุบายไว้ เนื่องจากได้มีการยึดหลักคุณธรรมทางกฎหมายอย่างเคร่งครัดนั้นเอง สำหรับกฎหมายอาญาของไทย ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศใช้กฎหมายระบบประมวล ถึงแม้ในกฎหมายไทยจะไม่ได้บัญญัติความผิดในฐานลักทรัพย์โดยใช้กลอุบายไว้ก็ตาม แต่ก็มีแนววินิจฉัยของศาล ตามแนวของศาลในระบบคอมมอนลอว์อยู่ตลอดมา ซึ่งนักกฎหมายได้พยายามค้นหาหลักฐานที่จะใช้มาเป็นแนวทางในการแบ่งแยกความผิดของทั้งสองฐานนี้ โดยได้พิจารณาในเรื่องกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองในทรัพย์นั้นว่าผู้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์มีเจตนาโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองหรือไม่ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ค้นพบว่า แนววินิจฉัยของศาลเกี่ยวกับความผิดทั้งสองฐานนี้เกิดความสับสนตลอดมา ทั้งๆ ที่หลักที่ใช้ในการแยกความแตกต่างควรจะยุติแล้ว ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่กฎหมายไทยได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์ หรือศาลได้ไปพิจารณาในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญแห่งองค์ประกอบความผิดหรือสิ่งที่กฎหมายอาญาฐานนี้มุ่งจะคุ้มครอง หรืออาจจะเป็นเพราะถ้อยคำในตัวบทกฎหมายมีข้อความที่ไม่สามารถครอบคลุมถึงการกระทำในลักษณะนี้ ดังนั้น จึงสมควรจะมีการบัญญัติกฎหมายให้มีเนื้อหาครอบคลุมถึงการหลอกเอาการยึดถือทรัพย์ว่าควรจะเป็นเพียงความผิดฐานฉ้อโกงไม่ใช่ลักทรัพย์ โดยมีการเพิ่มข้อความให้ชัดเจนขึ้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงข้อความในความผิดฐานลักทรัพย์ให้มีลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำที่เป็นการแย่งการครอบครองอย่างชัดเจนขึ้น
Other Abstract: From the comparative study of criminal law of various countries regarding the crime of larceny by a trick and fraud offences, it is appeared that the crime of larceny by a trick is developped from the crime of larceny. The trick which has been gradually proceeded is applied for the fulfillment of the crime of larceny criterias, while without the application of trick which is the most important criteria for the fraud offence, the punishment can not be applied to. It is seen that the crime of larceny by a trick is stated in most of the countries enjoying common law system as the act considered to cause danger to both personal properties and public. Whilst, unclear explanation is given in the case of fraud offences as a trick in the group of countries enjoying civil law. The crime of larceny is also prescribed but not by a trick because of the strict application of legal moral principles. Though Thai criminal law which is that of civil law system does not prescribe the crime of larceny by a trick, the previous court decisions have been made to follow those of the common law system. In this regard, the legal expertise have been trying to find the evidence to be the model concept to distinguish the two basis of offences by considering that if the right of ownership and possessory right of the property are intended to be transferred. This thesis has found that the court decision of the two basis of offences have caused confusion while the principles applied in distinguishing should have been final. This might have been because of the influence of the common law system over the Thai law, or the court decision has not been made on the precise issue of the offence criteria or issue intended to be protected by criminal law, or because of the uncovered wording in the criminal law code of the said act or similar. Therefore, there should be a clear prescription of law which covers the use of trick for the possessory of property as considered only the fraud offence not the larceny, by adding words or changing clause under the crime of larceny to clarify the act of dispossession.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47356
ISBN: 9745831697
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surawong_wa_front.pdf574.07 kBAdobe PDFView/Open
Surawong_wa_ch1.pdf386.1 kBAdobe PDFView/Open
Surawong_wa_ch2.pdf7.94 MBAdobe PDFView/Open
Surawong_wa_ch3.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Surawong_wa_ch4.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open
Surawong_wa_ch5.pdf484.24 kBAdobe PDFView/Open
Surawong_wa_back.pdf610.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.