Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47400
Title: การศึกษาเชิงวิศวกรรมของสภาพแวดล้อมที่สบายภายในอาคารสำนักงาน
Other Titles: An engineering study of comfort environment in an office building
Authors: โอภาส สามเสน
Advisors: ทวี เวชพฤติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: อาคารสำนักงาน
ภาวะสบาย
การรับรู้และการรู้สึก
Office buildings
Human comfort
Senses and sensation
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงวิศวกรรมของสภาพแวดล้อมที่สบายของคนไทย ในห้องทำงานจริง โดยการเก็บข้อมูลจากคนทดสอบที่มีการทำงานเป็นแบบงานในสำนักงาน มีการแต่งกายตามปกติ เพื่อที่จะหาค่าอุณหภูมิ, แสงสว่าง และเสียง ที่จะทำให้เกิดความรู้สึกสบาย ในการวิเคราะห์ ได้ทำการศึกษาถึงตัวแปรที่มีผลต่อความสบาย ด้านแสงสว่างประกอบไปด้วยระดับความส่องสว่าง, สัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงของเพดาน ผนัง และพื้น, สมรรถภาพการมอง, เพศ และอายุ จากผลการวิเคราะห์จะได้ สมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณสำหรับการทำนายค่าการโหวตความสบายด้านแสงสว่าง ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรที่มีผลต่อการทำนาย ได้แก่ ระดับความส่องสว่าง, สัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงของผนัง และอายุ มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ 52.7% ระดับความส่องสว่างที่ทำให้เกิดความสบายในการมอง สำหรับอายุ 28 ปี นั่งทำงานในห้อง ที่สีของผนังมีสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสง 60% ระดับความส่องสว่างที่สบายเท่ากับ 420 ลักซ์ ตัวแปรด้านเสียงประกอบไปด้วยระดับความดังของเสียงภายใน, ระดับความดังของเสียงขณะใดขณะหนึ่ง, สมรรถภาพการฟัง, เพศ และอายุ จากผลการวิเคราะห์จะได้สมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณสำหรับการทำนายค่าการโหวตความสบายด้านเสียง ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแปรที่มีผลต่อการทำนาย ได้แก่ ระดับความดังของเสียงภายใน และอายุ มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ 47% สำหรับระดับเสียงภายในที่ทำให้เกิดความสบาย สำหรับอายุ 28 ปี เท่ากับ 54 เดซิเบลเอ ส่วนการวิเคราะห์หาอุณหภูมิที่สบายจากสมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณของคุณประพนธ์ (1) จะได้ว่า ที่ลักษณะงานเป็นการทำงานแบบสำนักงาน ชุดแต่งกายของผู้ปฏิบัติงานมีค่าความต้านทานความร้อน 0.6 clo อุณหภูมิเฉลี่ยที่คนไทยจะรู้สึกสบายเท่ากับ 23.9 องศาเซลเซียล
Other Abstract: This thesis is an engineering study of comfort environment in office building to determine the effect of illumination, acoustic and thermal environmental on Thai subjects using data obtained from office works. Result from statistical analysis showed that the multiple linear regression equation of illumination is a function of illuminance level wall reflectance and age having a coeffient of determination of 0.527. If thevariables are substituted into the illumination equation with wall reflectance 60% age 28 years, the comfort illumination level is found to be 420 lux. The multiple linear regression equation of acoustic is a function of background noise, age having a coefficient of determination of 0.468 If the variables are sunstituted into the acoustic equation with age 28 years, the background noise is found to be 54 dBA. By using of Praphon’s equation (1) to find the comfort air temperature foe Thai, substituting the variables into the equation with sedentary activity, clothing thermal resistance 0.6 clo, it is found the comfort air temperature is found to be 23.9 °c
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47400
ISBN: 9745834505
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Opas_sa_front.pdf7.04 MBAdobe PDFView/Open
Opas_sa_ch1.pdf4.9 MBAdobe PDFView/Open
Opas_sa_ch2.pdf11.29 MBAdobe PDFView/Open
Opas_sa_ch3.pdf5.96 MBAdobe PDFView/Open
Opas_sa_ch4.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open
Opas_sa_ch5.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Opas_sa_ch6.pdf11.46 MBAdobe PDFView/Open
Opas_sa_ch7.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open
Opas_sa_back.pdf8.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.