Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47407
Title: มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและแก้ไขการสมรสซ้อน
Other Titles: Legal measure to prevent bigamy
Authors: วิจิตรา ทองวินิชศิลป
Advisors: วิมลศิริ ชำนาญเวช
ประสพสุข บุญเดช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การสมรส -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การสมรสซ้อน
Marriage -- Law and legislation
Bigamy
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศไทยได้นำระบบการสมรสแบบผัวเดียวเมียเดียว และนำแบบของการจดทะเบียนสมรสมาบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2478 รัฐต้องการชักจูงให้มีการจดทะเบียนสมรส จึงได้อำนวยความสะดวกนานาประการแก่ผู้ประสงค์จะจดทะเบียนสมรส และให้การจดทะเบียนสมรสทำได้อย่างง่ายๆ ซึ่งนโยบายดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นในระยะเริ่มต้น แต่ด้วยพื้นฐานทางวัฒนธรรมและค่านิยมของสังคมไทย ที่คุ้นเคยกับระบบการสมรสเดิมที่ยอมให้ชายมีภรรยาได้หลายคน และวิธีการจดทะเบียนสมรสซึ่งหละหลวม ยอมให้ผู้ซึ่งจะทำการสมรสสามารถจดทะเบียนสมรส ณ ที่ใดก็ได้ โดยไม่ต้องแสดงหลักฐานว่า ตนไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น และไม่มีวิธีการตรวจสอบสถานภาพของผู้ที่จะทำการสมรสได้ ทำให้เกิดการสมรสซ้อน ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย บัดนี้ระยะเวลาล่วงเลยมาถึง 50 กว่าปีแล้ว สมควรมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนสมรสให้เหมาะสมรัดกุมมากขึ้น เพื่อป้องกันการจดทะเบียนสมรสซ้อน การสมรสซ้อนทำให้ครอบครัวแตกแยก ไม่ปรองดอง คู่สมรสละเลยหน้าที่และความรับผิดชอบต่อครอบครัว ทำให้บุตรขาดความอบอุ่นและไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ ก่อให้เกิดปัญหาสังคมเรื่องเด็กมีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือเด็กกระทำผิดกฎหมาย นอกจากนี้ ยังเป็นการเร่งเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว เกินกำลังของสังคมที่จะให้การเลี้ยงดูและคุ้มครองทำให้ภาวะเศรษฐกิจของครอบครัวตกต่ำ ส่งผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของสถาบันครอบครัว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดจากการสมรสซ้อน บทบัญญัติแห่งกฎหมาย และระเบียบปฏิบัติ ตลอดจนระบบการจัดเก็บ ตรวจสอบ ค้นหาข้อมูลการสมรส ซึ่งบกพร่อง ล้าสมัย อันเป็นเหตุให้มาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่อาจป้องปรามการสมรสซ้อนได้ ผู้เขียนได้เสนอแนะมาตรฐานการในการป้องกันและแก้ไขการสมรสซ้อน โดยมุ่งให้ความคุ้มครองคู่สมรส บุตร และบุคคลภายนอกผู้สุจริต ในการแก้ปัญหาการสมรสซ้อน จะต้องทำไปพร้อมกันทั้งมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางสังคม โดยความร่วมมือของบุคคลทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายรัฐสภาผู้ร่างกฎหมาย ฝ่ายเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย และฝ่ายประชาชนผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดำรงไว้ซึ่งคุณค่าของการสมรสระบบผัวเดียวเมียเดียว และเสถียรภาพของครอบครัว
Other Abstract: Thailand has adopted monogamy and form of marriage registration which are provided for in Book 5 of the Civil and Commercial Code re: Family Law, effective from October 1, 1935. The State would like to persuade registration of marriage, therefore accorded various facilities for people wishing to register their marriage and provide simple procedure for marriage registration. This policy was necessary at the preliminary period. However as Thai cultural backgrounds and social values which were accustomed to the former marriage system which allowed man to have several wives and the loose method of marriage registration, that is, the law allowed one who was to marry could register his himself was not marital partner of another person, and there was no means to examine the status of the person was to marry, which gave rise to bigamy, and the provisions of law could not be enforced. Now time has lapsed for over 50 years, there should be amendment to the law concerning marriage registration to be more appropriate and precise in order to prevent bigamy. Bigamy causes broken home, hostile situation within the family, abandonment of duties and responsibilities of each spouse, lonely children, all of which can cause social problem concerning crimes and wrongful acts by children. Moreover, Bigamy can accelerate the population, create burden to a society and low income family which will effect the family institution at large. This thesis will study and analyze problems arising from bigamy, laws and regulations, out-of-date system for marriage information handling which causes ineffectiveness on part of existing laws to prevent bigamy. The author will suggest measure to prevent bigamy by giving protection to both spouses, their children and bona fide third party. In solving the problem of bigamy there must be both legal and social measure together with co-operation of all parties involved, i.e., legislators, enforcement officers and a citizen who shall comply with the law, in order to fulfil the intention of the law, reserve a social value of monogamy and stability of each family.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47407
ISBN: 9745760617
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wijittra_to_front.pdf766.53 kBAdobe PDFView/Open
Wijittra_to_ch0.pdf385.16 kBAdobe PDFView/Open
Wijittra_to_ch1.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
Wijittra_to_ch2.pdf4.14 MBAdobe PDFView/Open
Wijittra_to_ch3.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open
Wijittra_to_ch4.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open
Wijittra_to_ch5.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Wijittra_to_back.pdf853.41 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.