Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47419
Title: การเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง (Spirulina sp.) โดยใช้น้ำเค็มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
Other Titles: Cultivation of Kleaw-Thong algae (Spirulina sp.)
Authors: ใจทิพย์ พินิจค้า
Advisors: เจียมจิตต์ บุญสม
ยงยุทธ จรรยารักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: สไปรูลินา
Spirulina
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาแนวทางการใช้น้ำเค็มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง โดยศึกษาถึงการเจริญเติบโตของสาหร่ายในอาหารที่มีโซเดียมคลอไรด์ระดับต่าง ๆ และศึกษาถึงความจำเป็นในการเตรียมสาหร่ายเพื่อเลี้ยงในอาหารที่เตรียมจากน้ำเค็มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ติดตามการเจริญเติบโตของสาหร่ายโดยดูจากค่าอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดต่อวัน ผลผลิตและปริมาณคลอโรฟิลล์ที่เพิ่มขึ้นต่อวัน การทดลองครั้งนี้ทำในห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบว่า สาหร่ายเกลียวทองสายพันธุ์น้ำจืด TH-S-02 ที่ถูกปรับให้อยู่ในอาหารที่มีโซเดียมคลอไรด์ 10 20 และ 30 กรัมต่อลิตร โดยปรับเพิ่มระดับโซเดียมคลอไรด์ขั้นละ 10 กรัมต่อลิตร ทุก 4 วัน มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดต่อวัน ไม่แตกต่างกับสาหร่ายที่เลี้ยงในอาหารสูตรควบคุมซึ่งมีโซเดียมคลอไรด์ 1 กรัมต่อลิตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 แต่ถ้าเลี้ยงในอาหารทั้ง 4 สูตร เป็นเวลานานขึ้น พบว่าค่าเฉลี่ยอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดต่อวัน จากการทดลองทั้ง 3 รอบของสาหร่ายที่เลี้ยงในอาหารสูตรที่มีโซเดียมคลอไรด์ 20 และ 30 กรัมต่อลิตร ต่ำกว่าสาหร่ายชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 แต่ไม่มีผลต่อค่าผลผลิตและปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ ที่เพิ่มขึ้นต่อวัน นอกจากนี้ยังพบว่า trichome และขนาดของเซลล์สาหร่ายจะมีขนาดใหญ่และยาวเพิ่มขึ้นตามระดับโซเดียมคลอไรด์ที่เพิ่มขึ้น เมื่อทดลองนำสาหร่ายที่ปรับให้อยู่ในโซเดียมคลอไรด์ระดับต่าง ๆ มาเลี้ยงในน้ำเค็มจากภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ 3 แห่ง ซึ่งมีค่าคลอรินิตี้แตกต่างกัน พบว่าไม่มีความจำเป็นในการปรับสาหร่ายให้อยู่ในอาหารที่มีโซเดียมคลอไรด์ระดับต่าง ๆ ก่อนนำมาเลี้ยงในตัวอย่างน้ำทั้ง 3 แห่ง การศึกษาการเจริญเติบโตของสาหร่ายในน้ำเค็มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง 3 แห่งซึ่งมีระดับคลอรินิตี้ 3 ระดับ คือ 3.8 12.3 และ 1.0 กรัมต่อลิตร หากพิจารณาจากอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดและผลผลิตของสาหร่ายไม่สามารถให้ผลที่ชัดเจนได้ แต่สำหรับปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ ที่เพิ่มขึ้นต่อวันพบว่าสาหร่ายที่เจริญในตัวอย่างน้ำที่ 1 และ 2 ดีกว่าในตัวอย่างน้ำที่ 3 ปัญหาสำคัญในการใช้น้ำเค็มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองคือ ความกระด้างซึ่งตกตะกอนกับคาร์บอเนต และฟอสเฟต ในอาหารเกิดเป็นตะกอนขุ่นขาว ทำให้การเจริญเติบโตของสาหร่ายลดลง และสาหร่ายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากธาตุอาหารบางอย่างได้อย่างเต็มที่วิธีการลดความกระด้างโดยใช้ปูนโซดาเย็นที่มากเกินพอ ในการทดลองครั้งนี้ ช่วยลดปัญหาการเกิดตะกอนได้ แต่ไม่สะดวกในทางปฏิบัติ การลดสารเคมีที่เป็นสาเหตุของการเกิดตะกอน (โซเดียมไบคาร์บอเนตและโพแทสเซียมไฮโดรเจนฟอสเฟต) ให้เหลืออยู่ในระดับที่สาหร่ายยังเจริญเติบโตได้อย่างปกติและไม่ทำให้เกิดตะกอนน่าจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ควรจะทำการวิจัยต่อไป
Other Abstract: This study was crried out in order to search for a guidline saline water from Northeastern Thailand to culture Spirulina. The study emphasized on the effect of different NaCl concentration in Zarrouk’s media on algal growth, and the necessary of adapting algae to a high salt concentration media prior to culture in the Northeastern saline water samples. Growth of algae was monitored by these following parameter; maximum specific growth rate, dry weight production and relative chlorophyll a. This study was carried out in laboratory scale. The results showed that fresh water strain of Spirulina (TH-S-02) which were acclimated in 10 20 and 30 g/1 NaCl Zarrouk’s medium by subsequently adding 10 g/1 NaCl every four days have no significant different in maximum specific growth rate from that of Spirulina culture in 1 g/1 NaCl media at 90% confidence. However, prolonged culture in later batches reveal cultured in 20 and 30 g/1 NaCl medium showed significant different lower maximum specific growth rate than that of algae cultured in 1 g/1 NaCl media at 90% confidence, but there were no different in dry weight production and relative chlorophyll a. In addition, the length of trichome and size of cells were increased with NaCl content. In culturing these 4 adapted Spirulina to a higher NaCl concentration in 3 different chlorinity water from Northeastern Thailand. The result showed that no significant sifference across all parameters. Therefore, acclimatizing Spirulina in different NaCl concentration medium prior to culture 3 saline water are not necessary. An important problem of using saline water from the Northeast to culture Spirulina is hardness of water precipitated cabonate and phosphate in culture media. The white precipitation decreased algal growth and reduced the efficiency of utilizing nutrient of algae. The excess lime-soda softening method which used in this experiment is too sophisticate and not practical, therefore, the decreasing of NaHCO₃ and K₂HPO₄ to the level where the algae can maintain normal growth no precipitation may have a higher protential for future research.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47419
ISBN: 9745766666
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaitip_ph_front.pdf12.18 MBAdobe PDFView/Open
Chaitip_ph_ch1.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open
Chaitip_ph_ch2.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open
Chaitip_ph_ch3.pdf11.28 MBAdobe PDFView/Open
Chaitip_ph_ch4.pdf9.73 MBAdobe PDFView/Open
Chaitip_ph_ch5.pdf12.1 MBAdobe PDFView/Open
Chaitip_ph_ch6.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open
Chaitip_ph_back.pdf6.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.