Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47423
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกียรติวรรณ อมาตยกุล-
dc.contributor.advisorทวีวัฒน์ ปิตยานนท์-
dc.contributor.authorวิจิตรา พงษ์ประสิทธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-04-01T02:46:31Z-
dc.date.available2016-04-01T02:46:31Z-
dc.date.issued2531-
dc.identifier.isbn9745689335-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47423-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดในการจัดตั้งโรงสีรวม การเผยแพร่ความคิดการจัดตั้งโรงสีรวม และการตัดสินใจสมัครเป็นสมาชิกโรงสีรวม ของชาวบ้าน ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาโรงสีรวม 3 แห่งในเขตอำเภอท่าตูม จ.สุรินทร์ คือ โรงสีข้าวกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านบัลลังก์ ต.ท่าตูม โรงสีรวมหนองบัวสามัคคี บ้านหนองกลาง ต.หนองบัว และโรงสีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านม่วงมูล ตำบลหนองบัว ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้นำของทั้งสามหมู่บ้านเกิดความคิดริเริ่มที่จะจัดตั้งโรงสีรวม เพราะได้รับแรงกระตุ้นจากภายนอก คือ การได้ออกไปศึกษาดูงาน การสนับสนุนจาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมและการเห็นผลสำเร็จของการจัดตั้งโรงสีรวมในหมู่บ้านใกล้เคียง 2. ผู้นำได้เผยแพร่ความคิดในการจัดตั้งโรงสีรวมไปยังกลุ่มผู้นำด้วยวิธีการประชุมและการปรึกษาหารือทั่วไป เมื่อกลุ่มผู้นำยอมรับแล้วก็ไปเผยแพร่ยังชาวบ้านด้วยวิธีการหลายอย่าง เช่น การพูดคุย การพบปะสนทนาตามบ้าน การแจ้งในที่ประชุม ตลอดจนถึงการจัดอภิปรายเพื่อประชาสัมพันธ์ที่บ้านหนองกลางมีการจัดเตรียมกระบวนการเผยแพร่อย่างเป็นระบบมากกว่าบ้านอื่นๆ สิ่งที่เอื้ออำนวยต่อการเผยแพร่อย่างมากคือการที่ "โรงสีรวม" เป็นนวกรรมที่สอดคล้องกับสภาพด้านต่างๆ ของชุมชน เช่น สมาชิกได้รับผลประโยชน์มากกว่าโรงสีของเอกชนและเป็นนวกรรมที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เป็นต้น 3. ลักษณะการตัดสินใจยอมรับการจัดตั้งโรงสีรวม เป็นการยอมรับแบบกลุ่ม เพราะนวกรรมนี้ต้องดำเนินการเป็นกลุ่ม ข้อบ่งชี้ของการยอมรับนวกรรม คือ การสมัครเป็นสมาชิกโรงสีซึ่งส่วนใหญ่ตัดสินใจสมัครทันทีที่ได้รับข่าวสารจากกลุ่มผู้นำ และเกือบทั้งหมดยืนยันการตัดสินใจด้วย การชำระค่าหุ้นเมื่อเรียกเก็บสาเหตุที่มีการตัดสินใจรับความรู้การจัดตั้งโรงสีรวม เพราะชาวบ้านเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานของผู้นำ เห็นประโยชน์ของโรงสีที่จะมีเงินปันผลให้สมาชิก หรือเป็นกองทุนของหมู่บ้าน และจะเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความสามัคคีขึ้นในชุมชน นอกจากนั้นจากการที่ชาวบ้านได้ร่วมทำกิจกรรมอื่นๆ สำเร็จมาในอดีต ความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นสามารถแก้ปัญหาได้เมื่อเกิดความยุ่งยาก และการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวบ้านมีความเชื่อมั่นในการตัดสินใจทั้งสิ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research was to study the origin of the idea to set up cooperative rice mills, how the leaders promoted those idea to villagers and the villagers' decision making process to be members. The research was carried out at Ban Banlang, Ban Nongkhlang and Ban Muangmool cooperative rice mills, Amphoe Tha tum, Changwat Surin. The finding of the research are as follow; 1. The leaders of all three villages adopted the cooperative rice mill innovation from outside, because of study tours extention wok's idea and the success of a nearby cooperative rice mill 2. The leaders promotion their ideas among leader's group till they were adopted. The leadership in three villages. diffused cooperative rice mill organizing thorugh different channels, eg. Group discussion, home invitation, village meeting and panel discussion. Ban Nongkhlang prepared diffusion procedures more effective than other villagers. Other factors supported diffusin process was the characteristics of cooperative rice mill eg. Its relative advantage to private rice mill and it's need for farmer's village 3. The innovation decision of cooperative rice mill was "group decision" since it was "cooperative" activity. Almost all rice mill members made decision to apply as soon as they got information from the leaders. Most all of them also confirmed their decision by paying for their membership when they were requested. There were different: factors which helped villagers make their decision immediately. They trusted their leaders' operation. They expected the rice mills will return them profit some of which can used as "village fund". The rice mill will help increase harmony within the communities through working together. The past successful activities in the villages, the close relationship of villagers and the support of extention workers were also important factors influencing those decision.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรงสีen_US
dc.subjectการตัดสินใจen_US
dc.subjectชุมชนen_US
dc.subjectMills and mill-worken_US
dc.subjectDecision makingen_US
dc.subjectCommunitiesen_US
dc.titleการศึกษากระบวนการตัดสินใจรับความรู้ใหม่ ของชาวบ้านในการจัดตั้งโรงสีรวม การศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์en_US
dc.title.alternativeA study of villagers innovation-decision process in organizing cooperative rice mills : a case study of Amphoe Tha Tum, Changwat Surinen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorTaweewat.p@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wichitra_ph_front.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Wichitra_ph_ch1.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Wichitra_ph_ch2.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open
Wichitra_ph_ch3.pdf579.1 kBAdobe PDFView/Open
Wichitra_ph_ch4.pdf5.77 MBAdobe PDFView/Open
Wichitra_ph_ch5.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open
Wichitra_ph_back.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.