Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47429
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต-
dc.contributor.authorสุวิทย์ เภตรา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-04-02T12:03:18Z-
dc.date.available2016-04-02T12:03:18Z-
dc.date.issued2533-
dc.identifier.isbn9745780138-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47429-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมแรงทางบวกต่อพฤติกรรมการทำแบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งพฤติกรรมการทำแบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์ ได้แบ่งออกเป็น 3 ด้านได้แก่ 1. อัตราส่วนระยะเวลาที่ใช้ในการทำแบบฝึกหัด 2. ความเร็วในการทำแบบฝึกหัด และ 3. ความถูกต้องในการทำแบบฝึกหัด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลเมืองอุทัยธานี จำนวน 9 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม 1 และกลุ่มควบคุม 2 กลุ่มละ 3 คน โดยที่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 1 เป็นนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ กลุ่มควบคุม 2 เป็นนักเรียนที่อ่อนคณิตศาสตร์ งานวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง ทดสอบก่อน-หลังการทดลอง โดยทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอัตราส่วนระยะเวลาที่ใช้ในการทำแบบฝึกหัด ความเร็วในการทำแบบฝึกหัด และคะแนนความถูกต้องในการทำแบบฝึกหัดของวิชาคณิตศาสตร์ในแต่ละชั่วโมง เมื่อสิ้นสุดการทดลองแล้วผู้วิจัยได้ให้นักเรียนทั้ง 3 กลุ่ม ทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ต่อจากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. อัตราส่วนระยะเวลาที่ใช้ในการทำแบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์ของกลุ่มนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ที่ได้รับเสริมแรงทางบวก มีอัตราส่วนระยะเวลาที่ใช้ในการทำแบบฝึกหัดมากกว่ากลุ่มนักเรียนด้วยสัมฤทธิ์ที่ไม่ได้รับการเสริมแรงทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 และไม่แตกต่างกันกับกลุ่มนักเรียนที่อ่อนคณิตศาสตร์ที่ได้รับการเสริมแรงทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความเร็วในการทำแบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์ของกลุ่มนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ที่ได้รับการเสริมแรงทางบวก มีความเร็วในการทำแบบฝึกหัดมากกว่ากลุ่มนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ที่ไม่ได้รับเสริมแรงทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และไม่แตกต่างกันกับกลุ่มนักเรียนที่อ่อนคณิตศาสตร์ทีได้รับการเสริมแรงทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความถูกต้องในการทำแบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์ของกลุ่มนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ที่ได้รับการเสริมแรงทางบวก มีความถูกต้องในการทำแบบฝึกหัดมากกว่ากลุ่มนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ที่ไม่ได้รับการเสริมแรงทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และไม่แตกต่างกันกับลุ่มนักเรียนที่อ่อนคณิตศาสตร์ที่ได้รับการเสริมแรงทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของกลุ่มนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ที่ได้รับการเสริมแรงทางบวกสูงกว่ากลุ่มนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ที่ไม่ได้รับการเสริมแรงทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และไม่แตกต่างกันกับกลุ่มนักเรียนที่อ่อนคณิตศาสตร์ที่ได้รับการเสริมแรงทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the effects of positive reinforcement on performance in mathematics assignment of underachieving students in Prathom Suksa six. The performance in mathematics assignment was divided into three parts : the ratio of time performance, the speed in performance and the correction in performance. The subjects were nine students who were studying in Kindergarden School, MuangUthaithani. They were divided into experimental group, control group 1 and control group 2, with three students each. The students in experimental group and control group 1 were underachieving students. The students in control group 2 were regular students who got low score on mathematics. AB Control Group designed was used in this study. Data on the ratio of time performance, the speed in performance and the correction in performance mathematics assignment were collected. After the experiment all the subjects were given test on mathematics. The data was analized by using one-way Analysis of variance. Results show that : 1. The ratio of time performance in mathematics assignment of underachieving students who received positive reinforcement was higher than the underachieving students who didn’t receive positive reinforcement significantly at .05 level; but no significant difference with the regular students who got low score on mathematics who received positive reinforcement at .05 level. 2. The speed in performance in mathematics assignment of underachieving students who received positive reinforcement was higher than the underachieving students who didn’t receive positive reinforcement significantly at .05 level; but no significant difference with the regular students who got low score on mathematics who received positive reinforcement at .05 level. 3. The correction in performance in mathematics assignment of underachieving students who received positive reinforcement was higher than the underachieving students who didn’t receive positive reinforcement significantly at .05 level; but no significant difference with the regular students who got low score on mathematics who received positive reinforcement at .05 level. 4. Achievement score in mathematics performance of underachieving students who received positive reinforcement was higher than the underachieving students who didn’t receive positive reinforcement significantly at .05 level; but no significant difference with the regular students who got low score on mathematics who received positive reinforcement at .05 level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเสริมแรง (จิตวิทยา)en_US
dc.subjectความด้อยสัมฤทธิ์en_US
dc.subjectเบี้ยอรรถกร (จิตวิทยา)en_US
dc.subjectการปรับพฤติกรรมen_US
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen_US
dc.subjectReinforcement ‪(Psychology)‬-
dc.subjectToken economy ‪(Psychology)‬-
dc.subjectBehavior modification-
dc.titleผลของการเสริมแรงทางบวกต่อพฤติกรรมการทำแบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6en_US
dc.title.alternativeEffects of positive reinforcement on performance in mathematics assignment of underachieving students in prathom suksa sixen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsompoch.l@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwit_pe_front.pdf16.93 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_pe_ch1.pdf34.13 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_pe_ch2.pdf14.41 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_pe_ch3.pdf59.48 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_pe_ch4.pdf8.63 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_pe_ch5.pdf7.26 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_pe_back.pdf43.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.