Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47450
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิจิตรา จงวิศาล-
dc.contributor.authorวันเพ็ญ ก้องกิตต์ไพศาล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-04-04T08:31:07Z-
dc.date.available2016-04-04T08:31:07Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.isbn9745645028-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47450-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en_US
dc.description.abstractนอร์มัลบิวทีลอะซีเตดเป็นตัวทำละลายอินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งระเหยง่ายและเป็นไอระเหยที่มีพิษ เป็นตัวทำละลายที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรมเคมี โดย เฉพาะในอุตสาหกรรมทำแลคเกอร์และอุตสาหกรรมทำหลอดฟลูออเรสเซนต์ วิธีการขจัดไอระเหยของตัวทำละลายอินทรีย์ทำได้โดยการดูดซับด้วยถ่านปลุกฤทธิ์ ดังนั้นในการวิจัยนี้ต้องมีการศึกษาหาวัตถุดิบและสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมถ่านปลุกฤทธิ์และในการดูดซับไอระเหยนอร์มัลบิวทีลอะซีเตด วัตถุดิบที่ใช้ในการเตรียมถ่านปลุกฤทธิ์คือ กะลามะพร้าว ขี้เลื่อย ชานอ้อย และแกลบ โดยการคาร์บอนไนเซชั่นวัตถุดิบให้เป็นถ่านก่อนแล้วนำไปปลุกฤทธิ์ด้วยสารเคมีซิงค์คลอไรด์ ตัวแปรที่ใช้เพื่อหาสภาวะเตรียมถ่านที่เหมาะสมได้แก่ อุณหภูมิการคาร์บอนไนเซชั่น ขนาดเม็ดถ่านและอัตราส่วนน้ำหนักซิงค์คลอไรด์ต่อน้ำหนักถ่าน จากผลการทดลองพบว่า กะลามะพร้าวเป็นวัตถุดิบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับใช้เตรียมถ่านปลุกฤทธิ์ เพื่อนำไปใช้ดูดซับไอระเหยนอร์มัลบิวทีลอะซีเตดโดยมีสภาวะการเตรียมที่เหมาะสม ที่อุณหภูมิ 400 องศาเซนติเกรด ใช้อัตราส่วนน้ำหนักซิงค์คลอไรด์ต่อน้ำหนักถ่าน 2:1 นอกจากนั้นได้ศึกษาผลของขนาดและอัตราการไหลของไอระเหยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดูดซับของถ่านปลุกฤทธิ์กะลามะพร้าวและเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับของถ่านปลุกฤทธิ์กะลามะพร้าวที่เตรียมขึ้นกับถ่านปลุกฤทธิ์ที่ขายตามท้องตลาด ได้ผล คือ การเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลของไอระเหยในช่วง 0.065-1.2 ลิตรต่อนาที ทั้งขนาดเม็ดถ่าน 14/20 เมช และ / 20/30 เมช ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการดูดซับ เม็ดถ่านขนาดระหว่าง 14/20 เมช และ 20/30 เมช ซึ่งเตรียมที่สภาวะที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพการดูดซับไม่แตกต่างกัน และปริมาณไอระเหยที่ถูกดูดซับไว้จะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนโดยตรงกับเวลาการดูดซับ เมื่อการดูดซับนั้นยังไม่ถึง Breakthrough Time นอกจากนั้น ถ่านปลุกฤทธิ์กะลามะพร้าวที่เตรียมขึ้นมีประสิทธิภาพการดูดซับไอระเหยนอร์มัลบิวทีลอะซีเตดสูงกว่าถ่านปลุกฤทธิ์ที่ขายตามท้องตลาดen_US
dc.description.abstractalternativeN-Butyl acetate is a volatile organic solvent which vapors are toxic. It is used as solvent in the manufacture of lacquer and fluorescent bults. N-Butyl acetate vapor is known to be adsorbed on activated carbon. The purposes of this study are to determine a suitable raw material for the preparation of activated carbon, to study suitable conditions for the preparation of activated carbon and suitable conditions for the adsorption of the vapor on the activated carbon thus prepared. Raw materials used for activated carbon preparation were coconut shell, saw dust, bagasse, and rice husk being carbonized and activated with zinc chloride. The variables to be used in determining the suitable condition in the activated carbon preparation were temperature of carbonization, particle size and the weight ratio of zinc chloride to carbonized product. The results revealed that coconut shell was the most suitable raw material in preparing the activated carbon for adsorbing n-butyl acetate vapor. The temperature of carbonizing raw material at 400℃ and the weight ratio of zinc chloride to carbonized product of 2:1 were found to be the most suitable conditions for preparation. The effect of flowrate and particle size of activated carbon on the adsorption of n-butyl acetate vapor were studied. The efficiency of adsorption between the prepared activated carbon and commercial activated carbon were compared. It was found that the efficiency of adsorption of the vapor at the flowrate varying from 0.065-1.2 litre per minute for two sizes of activated carbon (14/20 mesh and 20/30 mesh) was insignificantly different. And the particle sizes (14/20 mesh and 20/30 mesh) prepared at optimum condition did not have significantly effect efficiency of adsorption. The amount of n-butyl acetate adsorbed on the activated carbon varied with time of adsorption before the breakthrough time was reached. The adsorptive property of the prepared activated carbon was also found to be superior to the commercial activated carbon chosen.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสารตัวทำละลายอินทรีย์en_US
dc.subjectคาร์บอนกัมมันต์en_US
dc.subjectการดูดซับen_US
dc.subjectOrganic solventsen_US
dc.subjectCarbon, Activateden_US
dc.subjectAdsorptionen_US
dc.titleการดูดซับไอระเหยของนอร์มัลบิวทีลอะซีเตดด้วยแอคติเวตเตดคาร์บอนen_US
dc.title.alternativeAdsorption of N-Butyl acetate vapor on activated carbonen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเคมีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorvichitra.c@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vanpen_ko_front.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
Vanpen_ko_ch1.pdf538.01 kBAdobe PDFView/Open
Vanpen_ko_ch2.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open
Vanpen_ko_ch3.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open
Vanpen_ko_ch4.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
Vanpen_ko_ch5.pdf273 kBAdobe PDFView/Open
Vanpen_ko_back.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.