Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47456
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินตนา ยูนิพันธุ์-
dc.contributor.authorวัลลภา เชยบัวแก้ว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-04-05T03:38:47Z-
dc.date.available2016-04-05T03:38:47Z-
dc.date.issued2532-
dc.identifier.isbn9745763284-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47456-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้การผูกมัดเพื่อการบำบัดในผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรง และวิเคราะห์การดำเนินงานของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับการใช้การผูกมัดเพื่อการบำบัดกลุ่มตัวอย่างคือ แฟ้มประวัติของผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรงที่ได้รับการผูกมัดเพื่อการบำบัดในโรงพยาบาลจิตเวช 4 แห่ง ซึ่งมีการผูกมัดเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ศึกษาแห่งละ 2 สัปดาห์ จำนวน 257 ครั้ง และพยาบาลวิชาชีพทุกคนที่ให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรง จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลและแบบสอบ ซึ่งมีความตรงตามเนื้อหา ความเที่ยงของแบบสอบเท่ากับ 0.79 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรงที่ได้รับการผูกมัดเพื่อการบำบัด ส่วนใหญ่เป็นหญิง โสด อายุอยู่ในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น ไม่มีรายได้ และรายได้ไม่พอใช้ ไม่ติดยาเสพติด เป็นโรคจิตเภท เหตุการณ์ที่ผู้ป่วยเผชิญก่อนการผูกมัดส่วนใหญ่ คือ ระบุชัดเจนไม่ได้ อาการนำทางจิตเวช คือ ควบคุมตัวเองไม่ได้ 2. พฤติกรรมของผู้ป่วยก่อนการผูกมัดที่พบมากที่สุดคือ ทำอันตรายผู้อื่น ขณะผูกมัดมือ เอะอะโวยวายด่าทอ ส่วนพฤติกรรมก่อนการปลดปล่อยคือ ไม่เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น การพยาบาลที่ได้รับก่อนการผูกมัดส่วนใหญ่ พูดคุยให้ผู้ป่วยได้ระบายความคับข้องใจ ขณะผูกมัดให้ยา PRN ตามแผนการรักษา 3. การผูกมัดเพื่อการบำกบัดส่วนใหญ่คือ มัดมือและเท้าทั้งสองข้างยึดกับเตียง เมื่อผู้ป่วยสงบลงแล้วจึงปลดปล่อยเป็นอิสระทุกส่วน ระยะเวลาที่ใช้ในการผูกมัด เฉลี่ยครั้งละ 5 ชั่วโมง 33 นาที เมื่อจำแนกตามเพศและอายุ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ส่วนใหญ่พยาบาลหัวหน้าเวรเป็นผู้สั่งการผูกมัด และสั่งการปลดปล่อย ช่วงเวลาที่มีการผูกมัดเกิดขึ้นส่วนใหญ่ คือ เวรเช้า รองลงมาคือ บ่ายและดึก ตามลำดับ 5. คะแนนเฉลี่ยของความเหมาะสมของการดำเนินงานของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับการใช้การผูกมัดเพื่อการบำบัด โดยส่วนรวมคือร้อยละ 63.5 ซึ่งเมื่อเทียบตามเกณฑ์อยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณาแต่ละขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล คะแนนเฉลี่ยในขั้นประเมินปัญหา และปฏิบัติการพยาบาลอยู่ในระดับต่ำส่วนในขั้นวางแผน และประเมินผลการพยาบาลอยู่ในระดับปานกลางen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this thesis were to analyze data related to therapeutic physical restraint and the nursing intervention regarding to the use of therapeutic physical restraint. Research sample consisted of records of psychiatric violent patient who received therapeutic physical restraint during 2 weeks of study period in 4 psychiatric hospitals and 103 professional nurses who took care of restraint patients. The research instruments were a coding sheet and a questionnaire which were tested for content validity, the reliability of questionnaire was 0.79. The major findings were as followed. 1. The restraint patients more likely to be women, single, young adult poor without drug addiction, and diagnosed schizophrenia. The events before applying physical restraint could not be identified, and the precipitating sign was that the patients could not control themselves. 2. The majority of patients behavior before the restraint period was verbal aggression and before freeing from restraint was being no harm to self and others. The nursing intervention before restraining the patients was using yerbal interyention and that during the time of restraint period was giving medication.3. Restraints employed the most were using cloth wrist and ankle cuffs that bucked to the bed with straps, and they were removed after the patients were calm down Restraints lasted a mean of 5 hour 33 minutes. There were no significant different between means of restraining period of the patients with defferent age and sex. 4. Most of times incharge nurses prescribed the application and releasing the restraints. Restraints occurred the most frequent in the morning shift and the least in the night shift. 5. The mean of total scores of nursing intervention regarding the use of therapeutic physical restraint was 63.5 percent which was in the low level. When considering the mean scores in each phase of the nursing process, the mean of the assessment and the implementation phases were in the low level where as the mean of the orther phases were in the middle level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้ป่วยจิตเวช -- การรักษาen_US
dc.subjectพฤติกรรมบำบัดen_US
dc.titleการวิเคราะห์การใช้การผูกมัดเพื่อการบำบัดผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรงในโรงพยาบาลจิตเวชen_US
dc.title.alternativeAn analysis of the use of therapeutic physical restraint of viloent patients in psychiatric hospitalsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wallapa_ch_front.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Wallapa_ch_ch1.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Wallapa_ch_ch2.pdf5.62 MBAdobe PDFView/Open
Wallapa_ch_ch3.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Wallapa_ch_ch4.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open
Wallapa_ch_ch5.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open
Wallapa_ch_back.pdf5.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.