Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47460
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานกับภาวะวิตกกังวล ในกลุ่มวิศวกรโรงงานอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิค
Other Titles: Relationship between job satisfaction and anxiety of engineer in electronic industry
Authors: รัชนี ภู่ไพจิตร์กุล
Advisors: พวงสร้อย วรกุล
สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Puangsoy.W@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความพอใจในการทำงาน
ความวิตกกังวล
วิศวกร
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
Anxiety
Job satisfaction
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเชิงวิจัยสำรวจครั้งนี้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานกับภาวะวิตกกังวลในกลุ่มวิศวกรจำนวน 138 คน ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จำนวน 3 โรงงาน ซึ่งผลิตผลิตภัณฑ์ 3 ชนิดคือ ฮาร์ดิสก์ ( Hard disk ) แผงวงจรไฟฟ้า ( Intigrate circuit )และ โทรทัศน์ โดยใช้มาตรวัดความพึงพอใจในงาน job Descriptive Index ของสมิท มี 5 ด้าน คือ งาน รายได้ โอกาสในความก้าวหน้า ผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน และมาตรวัดความวิตกกังวลของสปิลเบอร์เกอร์มี 2 ด้าน คือ สเตทและเทรท วิเคราะห์ข้อมูลหาความสัมพันธ์โดยใช้ Pearson’s coefficient ผลการวิจัยพบว่าสนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้คือความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวล ความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง ในทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในแต่ละด้าน ด้านงานจะมีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลมากที่สุด ผลการศึกษาได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในแต่ลด้านดังนี้ งานกับความวิตกกังวลแบบสเตท r = -.054 งานกับความวิตกกังวลแบบเทรท r = -.047 รายได้กับความวิตกกังวลแบบสเตท r = -0.26 รายได้กับความวิตกกังวลแบบเทรท r = -0.27 โอกาสในความก้าวหน้าความวิตกกังวลแบบสเตท r = -0.39 โอกาสในความก้าวหน้ากับความวิตกกังวลแบบเทรท r = -0.37 ผู้บังคับบัญชากับความวิตกกังวลแบบสเตท r = -0.34 ผู้บังคับบัญชากับความวิตกกังวลเทรท r = -0.34 ผู้ร่วมงานกับความวิตกกังวลแบบสเตท r = -0.31 ผู้ร่วมงานกับความวิตกกังวลแบบเทรท r = -0.44
Other Abstract: The purpose of this survey was to study the relationship between job satisfaction and anxiety of engineers in electronic industry. Targeted subjects were 138 engineers working in three large factories: Hard disk , Intigrate circuit and Television. Data were drawn from two job descriptive index – work, pay, promotion, supervisor , and coworker. The Stage-Trait Anxiety Inventory consistis of 2 parts State and Trait. The correlation was determined by using Pearson’s coefficient. The results support the hypothesis that job satisfaction is related to anxiety, relationship was negatively significant at 0.05 level in each facet. The strength of relationship was moderate and the strongest relationship was in work facet as shown below. Work with state-anxiety; r = -0.054, work with trait-anxiety; r = -0.47 pay with state=anxiety; r = -0.26, pay with trait-anxiety; r = -0.27 promotion with state-anxiety; r = -0.39, promotion with trait-anxiety; r = -0.37 supervisor with state=anxiety; r = -0.34, supervisor with trait-anxiety; r = -0.34 coworker with state=anxiety; r = -0.31, coworker with trait-anxiety; r = -0.44
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47460
ISBN: 9745841439
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rachanee_phu_front.pdf636.28 kBAdobe PDFView/Open
Rachanee_phu_ch1.pdf713.93 kBAdobe PDFView/Open
Rachanee_phu_ch2.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Rachanee_phu_ch3.pdf734.19 kBAdobe PDFView/Open
Rachanee_phu_ch4.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Rachanee_phu_ch5.pdf366.3 kBAdobe PDFView/Open
Rachanee_phu_back.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.