Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47465
Title: | ผลของการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรต่อการเขียนพยัญชนะไทย ของเด็กก่อนวัยเรียนสองภาษาในจังหวัดปัตตานี |
Other Titles: | Effects of using token reinforcement on Thai consonant writing of the bilingual pre-school children in Changwat Pattani |
Authors: | สุภาพ กิติสาร |
Advisors: | พูนสุข บุณย์สวัสดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน การเสริมแรง (จิตวิทยา) เบี้ยอรรถกร (จิตวิทยา) การเขียนตัวอักษร ภาษาไทย -- ตัวอักษร teaching languages age groups |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรต่อการเขียนพยัญชนะไทยของเด็กก่อนวัยเรียนสองภาษาในจังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กก่อนวัยเรียนชั้นเตรียมภาษาไทยในภาคฤดูร้อนของโรงเรียนบ้านสะบารัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 22 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 11 คน กลุ่มทดลอง 11 คน โดยการนำคะแนนทดสอบความรู้ในการเขียนพยัญชนะไทย 20 ตัว มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน จากแบบทดสอบก่อนการทดลองมาเรียงลำดับ และหาค่าเฉลี่ย ให้ค่าเฉลี่ยทั้งสองกลุ่มใกล้เคียงกันแล้วจับสลากเข้ากลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง การวิจัยนี้ใช้การทดลองแบบกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองได้รับการสอนเขียนพยัญชนะไทยแบบเดียวกัน แต่กลุ่มทดลองจะได้รับการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรเมื่อได้คะแนนการเขียนจากแบบประเมินการเขียนพยัญชนะไทยถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการเสริมแรงเมื่อสิ้นสุดการทดลอง ผู้วิจัยนำแบบทดสอบการเขียนพยัญชนะไทยมาทดสอบหลังการทดลอง เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ในการเขียนพยัญชนะไทย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย (X̅ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนจากแบบสอบการเขียนพยัญชนะไทยด้วยวิธีการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่าเด็กก่อนวัยเรียนในกลุ่มทดลองมีสัมฤทธิผลในการเขียนพยัญชนะไทยสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study the effects of reinforcement through token economy on Thai consonant writing achievement. The subjects were 22 the bilingual pre-school children in Bun Sabarung School, Pattani. All subjects were in Thai Language Readiness Plan during summer time for one month. They were randomly assigned to a control group and an experimental group. Each group included 11 persons. This study used the pre-post test control group experimental design. The two groups were taught through the same method. The experimental group was reinforced by token economy for correct consonant writing on an examination but the control group received nothing. After the treatment, both groups were tested through the Thai consonant writing test designed by the researcher based on the purpose and contents taught. In collecting and analyzing the data, the mean of writing scores from the test, standard deviation, t-test for testing significance of mean differences were used in this study. After the treatment the result indicated that within the experimental group, the mean scores of post-test was significantly more than the mean scores of the control group at the .01 level on the Thai writing test . |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47465 |
ISBN: | 9745683299 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supap_ki_front.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supap_ki_ch1.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supap_ki_ch2.pdf | 6.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supap_ki_ch3.pdf | 2.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supap_ki_ch4.pdf | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supap_ki_ch5.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supap_ki_back.pdf | 11.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.